คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติ จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517มาตรา26,44ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มีพ.ร.ฎ.ออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา24,25แล้วจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในที่ดินนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจาก คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาตดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง จัดการ ชำระหนี้ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 11711 ตำบล เชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัด สิงห์บุรี จาก ธนาคาร กรุงไทย จำกัด แล้ว โอน ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม กับ ชดใช้ เบี้ยปรับ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เงินจำนวน 150,000 บาท หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ดังกล่าว ข้างต้นให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน 356,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก เงินต้น 150,000 บาท ตั้งแต่ วันฟ้องจนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ มอบ นา ที่ เช่า ให้ โจทก์ทั้ง สอง เข้า ทำประโยชน์ ตาม สัญญาเช่า ตลอดมา จน ถึง ปัจจุบันจำเลย ทั้ง สอง มิได้ ผิดสัญญา เช่า แต่อย่างใด ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ยินดี ให้โจทก์ ทั้ง สอง เช่า นา ต่อไป จน ครบ กำหนด สัญญาเช่า 15 ปี และ โดย ที่ ที่ดินแปลง ดังกล่าว อยู่ ใน ระหว่าง ห้ามโอน ตาม พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 การ ทำ สัญญา ดังกล่าว เป็น การ หลีกเลี่ยงและ ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ห้าม จำหน่าย จ่าย โอน และ ห้าม บังคับคดี ภายในกำหนด 5 ปี สัญญา ดังกล่าว จึง ตกเป็น โมฆะ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้องค่าเสียหาย จำนวนเงิน 150,000 บาท นั้น สูง เกิน ไป โจทก์ ทั้ง สองก็ ไม่ได้ เสียหาย เพราะ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ดังกล่าวตลอดมา ส่วน โจทก์ ทั้ง สอง ขอ เงิน จำนวน 150,000 บาท คืน โดย โจทก์ทั้ง สอง จะ เลิก เช่า นา นั้น จะ ต้อง หัก ค่าเช่า ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ทำนา ก่อนปี ละ 10,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง คืนเงิน จำนวน 150,000 บาทหาก จำเลย ไม่คืน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ทราบ คำบังคับ ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ทั้ง สอง ข้อ แรก ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญา วาง มัดจำ เอกสาร หมายจ. 1 เป็น สัญญา ที่ ขัด ต่อ กฎหมาย และ ตกเป็น โมฆะ หรือไม่ ที่ โจทก์ ทั้ง สองฎีกา ว่า ทางราชการ ได้ มี การ จัด รูป ที่ดิน โดย มี ประกาศ ห้ามโอน ใน ปี2519 ซึ่ง ครบ กำหนด ห้ามโอน ภายใน ปี 2524 เท่านั้น โจทก์ ทั้ง สองและ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญา วาง มัดจำ เอกสารหมาย จ. 1 ใน ปี 2527 จึง ไม่ได้ อยู่ ภายใน ระยะเวลา ต้องห้าม โอนตาม ประกาศ ของ ทางราชการ แต่อย่างใด จำเลย ทั้ง สอง ได้รับ โฉนด ที่ดินใน ปี 2528 ใน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ได้ มี ข้อความ สลักหลัง ห้ามโอน ภายใน5 ปี ตาม พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44โดย เริ่ม ตั้งแต่ วันที่ 7 มีนาคม 2528 แต่ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญาวาง มัดจำ เอกสาร หมาย จ. 1 ทำ ขึ้น เมื่อ ปี 2527 ซึ่ง ยัง ไม่ได้ มี การ ออกเอกสารสิทธิ เป็น โฉนด ที่ดิน จึง ไม่ต้องห้าม โอน ตาม กฎหมาย นั้น เห็นว่าตาม พระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 26บัญญัติ ว่า “เมื่อ ได้ มี ประกาศ ของรัฐ มนตรี ตาม มาตรา 25 แล้ว ภายในระยะเวลา ห้า ปี ห้าม มิให้ ผู้ใด จำหน่าย ด้วย ประการใด ๆ หรือ ก่อ ให้ เกิดภาระติดพัน ใด ๆ ซึ่ง ที่ดิน ใน ท้องที่ ที่ จะ สำรวจ เป็น โครงการ จัด รูปที่ดิน หรือ กระทำการ ใด ๆ อัน อาจ ทำให้ ราคาประเมิน ที่ดิน สูง ขึ้นใน ที่ดิน นั้น เว้นแต่ ได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการ จัดรูป ที่ดิน กลาง หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จาก คณะกรรมการ จัด รูปที่ดิน กลาง ” และ มาตรา 44 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ภายใน กำหนด ห้า ปีนับแต่ วันที่ ได้รับ หนังสือ แสดง สิทธิ ใน ที่ดิน ใน เขต โครงการ จัด รูปที่ดิน เจ้าของ ที่ดิน หรือ ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน ที่ดิน จะ โอนสิทธิ ในที่ดิน นั้น ไป ยัง ผู้อื่น มิได้ เว้นแต่ จะ เป็น การ ตกทอด โดย ทาง มรดกหรือ โอน ไป ยัง สหกรณ์ หรือ กลุ่ม เกษตรกร ที่ เป็น สมาชิก หรือ การ โอนไป ยัง กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ เพื่อ ประโยชน์ ใน การ จัด รูป ที่ดินหรือ เมื่อ ได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน กลาง “บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว ได้ ห้าม มิให้ เจ้าของ ที่ดิน ที่อยู่ ใน เขตโครงการ จัด รูป ที่ดิน ซึ่ง ได้ มี พระราชกฤษฎีกา ออก ใช้ บังคับ ตาม ที่ บัญญัติไว้ ใน มาตรา 24, 25 แล้ว จำหน่าย จ่าย โอน นับ ตั้งแต่ วันที่ ได้ มีประกาศ ของรัฐ มนตรี จน ถึง วัน ครบ กำหนด ห้า ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ หนังสือแสดง สิทธิ ใน ที่ดิน การ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท และ ได้ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่กัน ใน ระหว่าง ระยะเวลา ดังกล่าว จึง เป็น การ ทำ สัญญา ที่ มี วัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญา วาง มัดจำเอกสาร หมาย จ. 1 จึง เป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่ แก้ไข ใหม่ ) ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ในข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า เจ้าของ ที่ดิน สามารถ โอนที่ดิน ได้ โดย การ ยื่น คำร้องขอ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการ จัด รูปที่ดิน กลาง แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ไป ขออนุญาต ต่อ คณะกรรมการ จัด รูปที่ดิน กลาง จำเลย ทั้ง สอง จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นั้น เห็นว่า เมื่อ ฟังว่า สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญา วาง มัดจำ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ตกเป็นโมฆะ แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ทั้ง สอง ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิมไม่มี หน้าที่ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญา กัน อีก ต่อไป จำเลย ทั้ง สองจึง ไม่มี หน้าที่ จะ ต้อง ไป ยื่น คำร้องขอ อนุญาต โอน ที่ดิน เป็น หนังสือ จากคณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน กลาง แต่อย่างใด การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ไป ยื่นคำร้องขอ อนุญาต ดังกล่าว จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง ผิดสัญญา ฎีกาของ โจทก์ ทั้ง สอง ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share