แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยชื่อนิติบุคคลจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) ได้ต่อเมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นโดยตรง
เครื่องหมายการค้าคำว่า “” เป็นชื่อเต็มของบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประกอบด้วยภาษาโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แม้โจทก์อ้างว่าได้มีการออกแบบลายเส้นของตัวอักษรให้มีลักษณะโค้งมน โดยคำว่า “” ออกแบบให้ฐานของตัวอักษร EAS เกาะเกี่ยวเชื่อมต่อกันและอักษร “A” ไม่มีขีดกลางตัวอักษรก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการดัดแปลงลายเส้นเฉพาะตัวอักษรโรมัน “EAS” เพียงเล็กน้อย โจทก์มิได้ทำให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของตัวอักษรดังกล่าวในเครื่องหมายการค้า คำว่า “” โดยยังคงมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาทั่วไป เมื่อมองภาพรวมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้อักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเพียงชื่อเต็มของนิติบุคคลบริษัทโจทก์ที่ยังมิได้แสดงลักษณะพิเศษ
เครื่องหมายดังกล่าวมีคำว่า “CO., LTD.” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Company Limited” ที่แปลว่า บริษัทจำกัดอยู่ตอนท้าย ทำให้ผู้พบเห็นเครื่องหมายดังกล่าวไม่อาจทราบได้ทันทีว่าคำว่า “” เป็นเครื่องหมายการค้า มิใช่เป็นเพียงแต่ชื่อบริษัทเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ อันมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ตามความหมายของมาตรา 7 วรรคสอง (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เครื่องหมายใดจะมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าได้มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือไม่ สินค้าที่โจทก์นำเข้าที่บรรจุในถังได้มีการจำหน่ายต่อให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยถังที่บรรจุสินค้าจะมีเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ปรากฏอยู่ชัดเจนที่ด้านข้างตัวถัง ฝาถังและใช้ร่วมกับเครื่องหมายอื่น เห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ของโจทก์ได้ถูกใช้เป็นที่หมายของสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนั้นแตกต่างจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นแล้ว คำว่า “” ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้าไม่ใช่เป็นเพียงชื่อนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 621347, 621348 และ 624118 มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้จำเลยดำเนินการเพื่อรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 621347, 621348 และ 624118 ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นอุทธรณ์รับฟังได้ว่า โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า “” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2549 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอเลขที่ 621347 เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้า สารที่เตรียมขึ้นใช้ในการถอดแบบ สารถนอมสภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรม สารที่เตรียมขึ้นทำให้โลหะแข็งหรืออ่อนตัว สารที่เตรียมขึ้นใช้ชุบโลหะให้แข็ง น้ำมันเบรก และสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโลหะ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง กับคำขอเลขที่ 621348 เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 4 รายการสินค้า ไขที่ใช้ในอุตสาหกรรม ไขที่ใช้ในการหล่อลื่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันใช้หล่อลื่นช่วยในการตัด น้ำมันใช้หล่อลื่นช่วยในการฝน/ลับ น้ำมันที่ใช้ในงานโลหะ ปิโตรเลียมเยลลีที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม น้ำมันสำหรับแช่เหล็กร้อน น้ำมันสำหรับชุบเหล็กให้แข็ง น้ำมันทาแบบหล่อ สารหล่อลื่นแบบแข็ง ขี้ผึ้งที่ใช้ในอุตสาหกรรม ขี้ผึ้ง (วัตถุดิบ) และขี้ผึ้งใช้กับสายพาน ต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2549 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอเลขที่ 624118 เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 2 รายการสินค้า ไขป้องกันสนิม น้ำมันป้องกันสนิม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสามคำขอของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” เป็นชื่อนิติบุคคลที่มิได้แสดงโดยลักษณะพิเศษ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) และหลักฐานของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอได้มีการโฆษณาหรือใช้จนแพร่หลายแล้วในประเทศไทยอันถือได้ว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2546 จึงไม่รับจดทะเบียน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 621347, 621348 และ 624118 ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยชื่อนิติบุคคลจะมีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) ได้ก็ต่อเมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นโดยตรง สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า “” นี้ คำว่า “NIPPON GREASE CO.,LTD.” เป็นชื่อเต็มของบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบด้วยอักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แม้โจทก์อ้างว่าได้มีการออกแบบลายเส้นของตัวอักษรให้มีลักษณะโค้งมน โดยคำว่า “” ยังออกแบบให้ฐานของตัวอักษร “” เกาะเกี่ยวเชื่อมต่อกันและอักษร “A” ไม่มีขีดกลางที่ตัวอักษรก็ตาม แต่ก็เป็นการดัดแปลงลายเส้นเฉพาะตัวอักษรโรมัน ” EAS ” เพียงเล็กน้อย โจทก์มิได้ทำให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของตัวอักษร “” ตัวอักษร “” ในเครื่องหมายการค้า “” ยังคงมีลักษณะที่มองเห็นได้ว่าเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาทั่วไป เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้า “” ที่ตัวอักษรอื่นทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่แล้ว เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่ใช้อักษรโรมันเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น เครื่องหมายการค้า “” จึงเป็นเพียงชื่อเต็มของนิติบุคคลบริษัทโจทก์ที่ยังมิได้แสดงโดยลักษณะพิเศษแต่อย่างใด
ประกอบกับเครื่องหมายดังกล่าวมีคำว่า “CO.,LTD.” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Company Limited” ที่แปลว่า “บริษัทจำกัด” อยู่ตอนท้าย ทำให้ผู้ที่พบเห็นเครื่องหมายดังกล่าว ไม่อาจทราบได้ในทันทีว่าคำว่า “” เป็นเครื่องหมายการค้า มิใช่เป็นแต่เพียงชื่อของบริษัทเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นชื่อเต็มของนิติบุคคลที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ อันมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ตามความหมายของมาตรา 7 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า “” เป็นเพียงชื่อเต็มของนิติบุคคลที่มิได้แสดงโดยลักษณะพิเศษจึงไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่ต่อไปเพราะแม้จะวินิจฉัยว่าคำว่า “NIPPON GREASE” ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง ก็ไม่ได้ทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสามคำขอไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามบทกฎหมายข้างต้นนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า “เครื่องหมายการค้า” หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ดังนั้น เครื่องหมายใดจะมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าได้มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือไม่ ในปัญหานี้โจทก์มีนางสาวดวงฤดี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทซันโนโก้ (ไทยแลนด์) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยมาเบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของตนว่า บริษัทซันโนโก้ (ไทยแลนด์) จำกัด นำเข้าเพียงสินค้าน้ำมันหล่อลื่นและจาระบีที่ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า “” ของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 2538 สินค้าที่โจทก์นำเข้าบรรจุอยู่ในถังขนาด 160 กิโลกรัม และถังขนาด 16 กิโลกรัม นั้น ได้มีการจำหน่ายต่อให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยถังซึ่งบรรจุสินค้าจะมีเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ปรากฏอยู่ที่ด้านข้างถังโดยสินค้าเป็นน้ำมันหล่อลื่นและจาระบี แม้สินค้าที่เป็นจาระบีจะมีคำว่า “” ปรากฏอยู่ที่ถังสินค้าที่มีขนาดตัวอักษรเล็กกว่าเครื่องหมาย มากและคำดังกล่าวไปปรากฏอยู่ที่ด้านข้างของถังใกล้กับแนวตะเข็บรอยต่อในตำแหน่งที่ไม่เด่นชัด แต่เมื่อพิจารณาสินค้าตามภาพถ่ายในหลักฐานการจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 621347 และ 621348 แล้ว ปรากฏว่าภาพถ่ายสินค้าในตามคำขอเลขที่ 621347 เป็นภาพถ่ายด้านข้างถังบรรจุสินค้าของโจทก์ที่เป็นน้ำมันหล่อลื่น และตามคำขอเลขที่ 621348 เป็นภาพฝาถังที่บรรจุสินค้าของโจทก์ขนาด 160 กิโลกรัม ซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ปรากฏชัดเจนที่ฝาถังและตัวถัง โดยสินค้าตามคำขอเลขที่ 621347 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ร่วมกับเครื่องหมาย ของโจทก์ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ของโจทก์ได้ถูกใช้เป็นที่หมายของสินค้าน้ำมันหล่อลื่นเพื่อแสดงว่าสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ของโจทก์นั้นแตกต่างจากสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นแล้ว คำว่า “” ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้ใช้คำว่า “” เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าของโจทก์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 621348 ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้กับสินค้าจำพวก 4 รายการสินค้า น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันใช้หล่อลื่นในการตัด น้ำมันใช้หล่อลื่นช่วยในการฝน/ลับ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (1) มาตรา 6 (1) ให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 621348 ของโจทก์ดังกล่าว กับให้จำเลยดำเนินการเพื่อรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้คงให้ยกตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง