แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สัญญาผูกขาดจับสัตว์น้ำซึ่งค้ำประกันได้ลงนามในท้ายสัญญานั้นได้แบ่งความรับ+ในเงินค่าผูกขาดเป็นงวด ๆ โดยผู้ค้ำประกันทราบความ+หมายดีแล้วดังนี้ การที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความ+ผิดสำหรับงวดหนึ่งงวดใด+ทำให้หลุดพ้นจากความรับผิดในงวดอื่นที่ค้างชำระด้วย.
การที่ลุกหนี้มีหนังสือร้องขอผัดผอนไปยังเจ้าหนี้ก็ดีการที่โจทก์มิได้ฟ้องร้องลูกหนี้เสียในทันทีที่มีการผิดสัญญาก็ดี เหล่านี้ไม่เรียกว่าเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
ย่อยาว
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ.สำหรับเงินค่าผูกขาดจับสัตว์น้ำในลำคลองและหนองต่าง ๆ บัดนี้ อ.ผิดนัดให้นำเงินค่าผูกขาดส่งต่อรัฐบาล โจทก์จึงฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกัน
ศาลขั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าผูกขาดใน พ.ศ.๒๔๓๖ ส่วนในปี พ.ศ.๒๔๓๕ นั้น โจทก์ผ่อนเวลาให้ อ.จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่าในข้อค้านว่า่ได้มีการผ่อนเวลาใน พ.ศ.๒๔๗๖ นั้น เพียงแต่ลูกหนี้มีหนังสือขอผัดผ่อนไปนั้นไม่เรียกว่าเจ้าหนี้ยินยอมผ่อนเวลาตาม ม.๗๐๑ แห่งประมวลแพ่ง ฯ การที่โจทก์มิได้ฟ้องร้อยหรือขายทอดตลาดทันทีนั้นก็ไม่เรียกว่าผัดผอนดุจกัน ส่วนในปัญหาที่ว่า ใน พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยอกมผัดผ่อนแล้วจำเลยก็ไม่ควรต้องรับผิดใน พ.ศ.๒๔๓๖ ด้วย เพราะเป็นสัญญาฉะบับเดียวกันนั้น เมื่อสัญญาผูกขาดซึ่งจำเลยเซ็นค้ำประกันได้แบ่งความรับผิดในเงินค่าผูกขาดเป็นงวด ๆ ไปโดยชัดแจ้ง จึงเป็นสัญญาที่แบ่งแยกได้ จำเลยย่อมทราบความมุ่งหมายในการแบ่งแยกการชำระเงินเป็นงวด ๆ เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดในงวดใด ก็ไม่หมายความว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดในงวดอื่นที่ค้างชำระ พิพากษายืนตามศาลล่าง ทั้ง๒