คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2471

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาเมื่อไรจึงจะเรียกว่าผิดนัด ลูกหนี้ของปฎิบัติชำระหนี้ซึ่งไม่ตรงต่อสัญญาความรับผิดชอบที่เกิดจากการวางทรัพย์เพื่อให้พ้นจากความรับผิดลูกหนี้ชอบที่จะได้ใบรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวแล้วจะกลับมาฟ้องศาลได้เพียงไร ข้อกฎหมายที่อ้างไม่จำเปนต้องยกตัวบทขึ้นมากล่าวในฎีกา

ย่อยาว

คดีนี้ จำเลยตกลงซื้อหุ้น โจทก์ ๓๔๘๐ หุ้นเปนเงิน ๒๔๐๐๐ บาท สัญญาจะใช้เงินให้เสร็จภายใน ๑๔ วันตั้งแต่ได้รับโอนหุ้นลงนาม โจทก์ต่อมา โจทก์ได้ลงนามในใบโอนหุ้นให้ จำเลยแล้วภายหลัง จำเลยให้ บ. นำใบรับมาให้ โจทก์ลงนามสำหรับ ๓๔๘๐ หุ้น กับสำหนับ ๑๐๐๐ หุ้นซึ่ง จำเลยถวายพระชายา ๒ พระองค์ จึงจะชำระเงินราคาหุ้นให้ โจทก์ไม่ยอมลงนาม เพราะจำนวน ๑๐๐๐ หุ้นนั้นเปนส่วนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการตกลงกันไว้ ต่อมา โจทก์ยอมเซ็นในใบรับหุ้น แต่ จำเลยเพิกเฉยเสีย โจทก์จึงถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่ ๆ ทรงมีลายพระราชหัดถมาว่าให้จัดแจงฟ้องกันยังศาล อย่ามารบกวนพระองค์ท่านอีกต่อไป ถึงกระนั้นก็ดี โจทก์ยังได้ถวายฎีกาอีกฉบับหนึ่ง แต่ไม่ได้รับพระบรมราบวินิจฉัยอย่างใด โจทก์จึงจัดการฟ้องร้อง
จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ผิด สัญญาแล โจทก์ได้ทวีฎีกาทูลเกล้า ฯ ถวายไว้ โจทก์จะมาฟ้องอีกไม่ได้
ศาลเดิมเห็นว่าคดีพอจะตัดสินได้ตามพะยานเอกสาร จึงงดสืบพะยานบุคคล
ศาลแพ่งแลศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ โจทก์ชนะ
ศาลฎีกาวินิจฉัยดังต่อไปนี้
๑. คดีมีทุนทรัพย์เกินกว่า ๒๐๐๐ บาท คู่ความมีสิทธิฎีกาขอให้กลับข้อเท็จจริงที่ ศาลล่างฟังมาได้
๒. พรบ ฎีกาอุทธรณ์ ม.๙ ไม่ประสงค์ที่จะให้สะแดงตัวบท กฎหมาย หรือบรรยายเหตุผลสนับสนุนข้อเถียง เพียงแต่กล่าวข้อ กฎหมายว่า โจทก์ผิดนัดตาม สัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้นก็พอแล้ว
๓. เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งไว้เด็ดขาดว่าอย่าให้มารบกวนอีกแล้ว ถึงแม้โจทก์จะถวายฎีกาอีกแลไม่ได้รับพระบรมราชวินิจฉัย คดีไม่เข้า กฎหมายลักษณรับฟ้องมาตรา ๖ โจทก์มีอำนาจฟ้อง ทั้ง จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้ขึ้นมาในฎีกา ( พรบ ฎีกา อุทธรณ์ ม. ๙ )
๔. จำนวนหุ้น ๑๐๐๐ หุ้นที่โจทก์ถวายพระชายาไปนานแล้วนั้น ไม่ใช่วัดถุแห่ง สัญญาซ้อนหุ้นกัน ที่จำเลยทำใบรับมาให้ โจทก์เซ็นเกินกว่าที่ตกลงนั้นแล โจทก์ไม่เซ็น จะเรียกว่า โจทก์ผิดนัดไม่ได้ ( ประมวลแพ่ง ม. ๒๐๗ – ๓๒๖ ) ถึงแม้จะฟังว่า โจทก์ผิดนัด จำเลยก็ยังไม่หลุดพ้นที่จะชำระเงินค่าหุ้น ( ประมวลแพ่ง ม. ๒๐๗ – ๓๓๐ ) แต่ โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้เท่านั้น ( ประมวลแพ่ง ม. ๒๑๕ ) ถ้าจำเลยประสงค์จะหลุดพ้นต้องจัดการวางทรัพย์ ( ประมวลแพ่ง ม. ๓๓๑ ) จึงตัดสินให้ โจทก์ชนะ

Share