คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้งสาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้างแสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว. นำไปเกิดหายไปและขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16นาฬิกาใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการพออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญา ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่2427 และ 2428 ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 6,090,000 บาท โดย ใน วัน ทำ สัญญาจำเลย ทั้ง สอง ได้รับ เงินมัดจำ ไป จาก โจทก์ เป็น เงิน 1,200,000 บาทตกลง จะ ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ใน วันที่ 20ธันวาคม 2532 ครั้น ถึง วันนัด จำเลย ทั้ง สอง ไม่สามารถ จดทะเบียนโอน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ให้ โจทก์ ได้ เนื่องจาก มี ปัญหา เกี่ยวกับผู้เช่า นา ใน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง และ เรื่อง นายหน้า ผู้นำ ซื้อ ที่ดินจึง ขอเลื่อน ไป ใน วันที่ 16 มีนาคม 2533 เมื่อ ถึง วันนัด จำเลยทั้ง สอง ยัง เกี่ยง เรื่อง เงิน ค่าธรรมเนียม เงิน ค่าภาษี และ เงิน ค่านายหน้า จึง นัด ให้ โจทก์ นายหน้า และ ผู้เช่า นา มา พบ และ เจรจา กัน ใหม่ใน วัน จันทร์ ที่ 19 มีนาคม 2533 ถึง วันนัด โจทก์ นายหน้า และ ผู้เช่าที่ดิน ได้ ไป รอ จำเลย ทั้ง สอง ตาม กำหนด นัด แต่ ปรากฏว่า จำเลย ทั้ง สองก็ ไม่ได้ มา ตาม นัด โจทก์ จึง มอบอำนาจ ให้ ทนายความ มี หนังสือ บอกกล่าวให้ จำเลย ทั้ง สอง ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงให้ โจทก์ ใน วันที่ 25 เมษายน 2533 จำเลย ทั้ง สอง ได้รับ หนังสือ แล้วเพิกเฉย ไม่มา ตาม กำหนด นัด การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การผิดสัญญา ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 2427 และ 2428 ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอมจดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาเหตุ ที่ ต้อง เลื่อน กำหนด วัน โอน กรรมสิทธิ์ ไป เพราะ มี ปัญหา เกี่ยวกับผู้เช่า นา ใน ที่ดิน แปลง โฉนด เลขที่ 2428 และ ใน วัน ดังกล่าว โจทก์ไม่มี เงิน ชำระ ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ จึงเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2427 และ 2428 ให้ โจทก์ โดย รับ เงินค่าซื้อ ที่ดิน จำนวน 4,890,000 บาท จาก โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาลแสดง เจตนา แทน
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์และ จำเลย ทั้ง สอง ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท กำหนด จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ใน วันที่ 20 ธันวาคม 2532 ต่อมา คู่สัญญา ได้ ตกลงเลื่อน กำหนด วัน โอน กรรมสิทธิ์ หลาย ครั้ง ครั้งสุดท้าย กำหนดวัน โอน กรรมสิทธิ์ เป็น วันที่ 16 มีนาคม 2533 เมื่อ ถึง กำหนด คู่สัญญามิได้ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา หรือไม่ เห็นว่าใน วันที่ 16 มีนาคม 2533 ซึ่ง เป็น วันนัด โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทนาย วิษณุ ซึ่ง เป็น ผู้รับมอบอำนาจ จาก โจทก์ ได้ ไป ที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด นครนายก ตาม ที่ นัด ไว้ กับ ฝ่าย จำเลย ทั้ง สอง และ ได้ จัด เตรียมแคชเชียร์เช็ค และ เงินสด สำหรับ ชำระ ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่จำเลย ทั้ง สอง แต่ แคชเชียร์เช็ค ที่นาย วิษณุ เตรียม มา ได้ หาย ไป ก่อน มี การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท โดย ที่ คดี นี้ข้อเท็จจริง ได้ความ จาก พยาน ที่ นำสืบ ว่า โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สองซึ่ง เป็น คู่สัญญา ได้ ตกลง เลื่อน วันนัด จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน ตาม สัญญา กัน หลาย ครั้ง สาเหตุ ของ การ เลื่อน วันนัด มี ทั้ง จากฝ่าย โจทก์ บ้าง และ ฝ่าย จำเลย ทั้ง สอง บ้าง แสดง ว่า คู่สัญญาต่าง ฝ่าย ต่าง ผ่อนปรน ให้ แก่ กัน โดย มิได้ ถือ ปฏิบัติ เคร่งครัด ตามสัญญา เรื่อง กำหนด เวลา โอน ที่ดินพิพาท ถือว่า โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สองมิได้ ถือเอา การ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา เป็นข้อ สาระสำคัญ ดังนั้น การ ที่นาย วิษณุ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ ได้ ไป พบ กับ จำเลย ทั้ง สอง ที่ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด นครนายก ตาม กำหนด วันนัดใน สัญญา และ ได้ จัด เตรียม แคชเชียร์เช็ค และ เงินสด สำหรับ ชำระ ค่าที่ดินส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว แต่ เกิดเหตุ ขัดข้อง ไม่สามารถโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ได้ เนื่องจาก แคชเชียร์เช็ค ที่นาย วิษณุ นำ ไป เกิด หาย ไป และ ขณะ นั้น ก็ เป็น เวลา ประมาณ 16 นาฬิกา ใกล้ เวลาเลิก ทำงาน ของ ทางราชการ ย่อม ไม่สามารถ แก้ไข เหตุการณ์ ได้ ทันทั้ง วันนัด โอน ดังกล่าว ก็ เป็น วัน ศุกร์ การ ที่ โจทก์ ขอเลื่อน การจดทะเบียน การ โอน ไป เป็น วัน จันทร์ ที่ 19 มีนาคม 2533 ซึ่ง เป็น วันเริ่ม เปิด ทำการ ใหม่ ของ ทางราชการ พอ อนุโลม ได้ว่า เป็น พฤติการณ์ที่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ไม่ต้อง รับผิดชอบ จึง ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็น ฝ่าย ผิดนัด ชำระหนี้ จำเลย ทั้ง สอง จะ อ้าง เหตุ ดังกล่าว ว่าโจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดนัด และ ไม่ยินยอม โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ หาได้ไม่
พิพากษายืน

Share