คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้รูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันSPSในแนวนอนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันSPSซ้อนกันในแนวตั้งก็ตามแต่การอ่านออกเสียงเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็อ่านว่า”เอสพีเอส”เช่นเดียวกันทั้งยังใช้กับสินค้าจำพวกกางเกงในเหมือนกันด้วยสาธารณชนจึงอาจหลงผิดได้โดยง่ายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อจำเลยทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้ตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า”เอสพีเอส”ในแนวนอนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้ากางเกงในการที่จำเลยนำตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า”เอสพีเอส”ซ้อนกันในแนวตั้งไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายซึ่งรวมถึงสินค้ากางเกงในจึงแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเพื่อให้ผู้ซื้อซึ่งจำคำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์เข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันSPSอ่านว่า”เอสพีเอส”ดีกว่าจำเลย

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน โดย ให้เรียก จำเลย ที่ 1 ใน สำนวน แรก และ จำเลย ใน สำนวน หลัง ว่า จำเลย ที่ 1และ เรียก จำเลย ที่ 2 ใน สำนวน แรก ว่า จำเลย ที่ 2
โจทก์ สำนวน แรก ฟ้อง ว่า เมื่อ ระหว่าง วันที่ 17 มีนาคม 2530ถึง วันที่ 4 มีนาคม 2531 จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วม กับ บุคคล ผู้มีชื่อละเมิด สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ โดย จำเลย ทั้ง สอง ได้ นำตัวอักษร คำ ประดิษฐ์ เอส พี เอส (SPS) ซึ่ง มี ลักษณะ บ่ง เฉพาะ เป็นสาระสำคัญ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ใช้ โดย ไม่มี สิทธิ ที่ สินค้าของ จำเลย เพื่อ ให้ ประชาชน ทั่วไป หรือ ผู้ซื้อ หลงเชื่อ ว่า เป็น สินค้าของ โจทก์ โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก โจทก์ และ ได้ นำ ออก แสดง ขายจำหน่าย ใน ที่สาธารณะ โดยทุจริต อันเป็น ประโยชน์ ใน ทางการ ค้า ของ จำเลยทั้ง สอง ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย โดย สินค้า ของ โจทก์ จำหน่ายได้ น้อยลง กว่า ปกติ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 500,000 บาท และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน จัด ให้ มี การ ประกาศคำพิพากษา ของ ศาล และ ข้อความ ตาม ขนาด ตัวอักษร ซึ่ง โจทก์ เป็น ผู้กำหนดใน หน้า หนังสือพิมพ์ รายวัน ไทยรัฐ เดลินิวส์ บ้านเมือง เดลิมิเร่อร์ แนวหน้า ข่าวสด ดาวสยาม มติชน ฐานเศรษฐกิจ บางกอกโพสต์ เป็น เวลา 1 เดือน ให้ ประชาชน ได้ เข้าใจ รู้ ถึง การกระทำ ละเมิดสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ซึ่ง จำเลย ได้ กระทำ ต่อ โจทก์
จำเลย สำนวน แรก ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าตัวอักษร คำ ประดิษฐ์ เอส พี เอส ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ซึ่ง มี ตัวอักษรเรียกว่า “เอส พี เอส” ซึ่ง เป็น เครื่องหมายการค้า ตั้งแต่ วันที่30 กันยายน 2528 จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย กระทำ ละเมิด เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ไม่เคย ผลิต หรือ เป็น ผู้ขาย หรือ จำหน่าย สินค้า ใด ๆจำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ทราบ มา ก่อน ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรง สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ตาม ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง จำเลย ที่ 1 ผลิต และ ใช้ เครื่องหมายการค้าตาม สิทธิ ทางการ ค้า ของ จำเลย ที่ 1 แก่ สินค้า กางเกงใน มา ตั้งแต่ปี 2526 และ ได้ นำ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ไป จดทะเบียน ใน ปี2528 จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ผลิต หรือ ขาย หรือ ทำให้ ผู้อื่น หลงเชื่อ ในเครื่องหมายการค้า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ทั้ง สองและ ไม่มี สิทธิ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ประกาศ โฆษณา คำพิพากษา ตาม คำขอ ของ โจทก์ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ สำนวน หลัง ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า SPSอ่าน ว่า “เอส พี เอส” ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน ตาม คำขอ เลขที่ 157478และ ได้รับ จดทะเบียน แล้ว เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลย ทราบดี ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ใน ตัวอักษร โรมัน คำ ประดิษฐ์ ดังกล่าว จำเลยจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ให้การ อ่าน ออกเสียง ตลอดจน การ เรียกขานเหมือนกัน โดย มิได้ ตั้งใจ สุจริต ที่ จะ ใช้ เป็น เครื่องหมาย ดัง ที่จดทะเบียน ไว้ สำหรับ สินค้า ของ จำเลย จำเลย ไม่มี สิทธิ ใช้ รูป ตัวอักษรประดิษฐ์ ของ โจทก์ มา ทำให้ ปรากฏ และ ใช้ ที่ สินค้า เพื่อ ให้ บุคคล ทั่วไปหลงเชื่อ ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตและ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลย เป็นเหตุ ให้ โจทก์ เสียหายขอให้ ศาล มี คำสั่ง แสดง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ที่ จะ ขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 157478 ดีกว่า จำเลย ให้ นายทะเบียนเพิกถอน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 150585
จำเลย สำนวน หลัง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย เป็น ผู้ทรง สิทธิใน เครื่องหมายการค้า ซึ่ง มี อักษร และ คำ อ่าน อ่าน ขาน ว่า “เอส พี เอส”ตั้งแต่ วันที่ 30 กันยายน 2528 จำเลย ได้รับ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ก่อน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จำเลย เป็น ผู้ คิดประดิษฐ์ กลุ่ม คำ ภาษา อังกฤษ ดังกล่าว โดย ประสงค์ ให้ เป็น กลุ่ม คำ ที่ มีลักษณะ บ่ง เฉพาะ เพื่อ จะ ให้ เห็นว่า สินค้า ประเภท เครื่องนุ่งห่ม และแต่งกาย ที่ จำเลย ผลิต และ จำหน่าย ผิด กับ สินค้า ประเภท เดียว กัน ของ ผู้อื่นจำเลย ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า นี้ ตลอดมา จน เป็น ที่ แพร่หลาย แก่ บุคคลทั่วไป ไป นาน แล้ว และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว สำหรับสินค้า ประเภท เครื่องนุ่งห่ม และ แต่งกาย จำพวก ที่ 38 ทั้ง จำพวกทะเบียน ที่ 103486 เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2528 จำเลย ไม่ได้ กระทำการใด ๆ อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต ใน ทางการ ค้า ตาม ที่ โจทก์ อ้างทั้ง ไม่เคย ใช้ สิทธิ เพื่อ ทำให้ บุคคล ใด ๆ เข้าใจผิด หลงเชื่อ ว่า เป็นสินค้า ของ โจทก์ จำเลย ไม่เคย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จำเลยใช้ สิทธิ โดยสุจริต ไม่เคย โต้แย้ง สิทธิ ของ ผู้ใด จำเลย มีสิทธิ ในเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ดีกว่า โจทก์ โจทก์ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ห้าม การ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยโจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย โดย นิตินัย ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ เพิกถอนเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ซึ่ง ได้ จดทะเบียน ไว้ ก่อน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ สำนวน แรก และ พิพากษาสำนวน หลัง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ที่ จะ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ เลขที่ 157478 ดีกว่า จำเลย ให้ นายทะเบียน เพิกถอนเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ใน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า และ สิทธิบัตรกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ ห้าม จำเลย มิให้ ใช้เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 150585
โจทก์ สำนวน แรก และ จำเลย สำนวน หลัง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง สำนวน แรก ร่วมกันใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 40,000 บาท แก่ โจทก์ สำนวน แรก นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า โจทก์จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตัวอักษร โรมัน SPS อ่าน ว่า “เอส พี เอส”ใน แนว นอน สำหรับ สินค้า ใน จำพวก ที่ 38 รายการ สินค้า กางเกงใน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 ตาม คำขอ จดทะเบียน เลขที่ 157478 เอกสาร หมายจ. 10 จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า SPS (ใน แนว ตั้ง )อ่าน ว่า “เอส พี เอส” สำหรับ สินค้า ใน จำพวก ที่ 38 เครื่องนุ่งห่มและ เครื่องแต่งกาย ทั้ง จำพวก เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2528 ตาม คำขอจดทะเบียน เลขที่ 150585 เอกสาร หมาย จ. 11
ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ใน ทำนอง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จดทะเบียน ไว้ โดยสุจริต จำเลย ที่ 1 มีสิทธิดีกว่า โจทก์ นั้น กางเกงใน ที่ มี เครื่องหมายการค้า SPS (เอส พี เอส)ตาม แนว นอน อันเป็น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป จำหน่าย อย่างน้อยตั้งแต่ ปี 2527 หรือ ปี 2528 เป็นต้น มา จำเลย ทั้ง สอง จึง ได้ เห็นเครื่องหมายการค้า SPS (เอส พี เอส) มา ตั้งแต่ นั้น แล้ว การ ที่ จำเลยที่ 2 นำตัว อักษร โรมัน คำ ว่า SPS ซ้อน กัน ใน แนว ตั้ง เห็นว่า แม้รูป ลักษณะ การ วาง ตัวอักษร โรมัน ของ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์และ ของ จำเลย ที่ 1 แตกต่าง กัน โดย เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์เป็น ตัวอักษร โรมัน SPS ใน แนว นอน ส่วน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเป็น ตัวอักษร โรมัน SPS ซ้อน กัน ใน แนว ตั้ง ก็ ตาม แต่ การ อ่าน ออกเสียงเครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง ก็ อ่าน ว่า “เอส พี เอส” เช่นเดียวกันทั้ง ยัง ใช้ กับ สินค้า จำพวก กางเกงใน เหมือนกัน ด้วย สาธารณชน จึง อาจหลงผิด ได้ โดย ง่าย ว่า สินค้า ของ จำเลย ที่ 1 เป็น สินค้า ของ โจทก์ เมื่อจำเลย ที่ 1 ทราบ ดี อยู่ ก่อน แล้ว ว่า โจทก์ ได้ ใช้ ตัวอักษร โรมัน SPSอ่าน ว่า “เอส พี เอส” ใน แนว นอน เป็น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์สำหรับ สินค้า กางเกงใน การ ที่ จำเลย ที่ 1 นำตัว อักษร โรมัน SPS อ่าน ว่า”เอส พี เอส” ซ้อน กัน ใน แนว ตั้ง ไป จดทะเบียน เป็น เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ที่ 1 สำหรับ สินค้า จำพวก เครื่องนุ่งห่ม และ แต่งกายซึ่ง รวม ถึง สินค้า กางเกงใน จึง แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 มุ่ง ประสงค์จะ แสวงหา ประโยชน์ โดย อาศัย แอบ อิงเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์โดย ไม่สุจริต เพื่อ ให้ ผู้ซื้อ ซึ่ง จำ คำ เรียกขาน ของ เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ เข้าใจผิด ว่า สินค้า ของ จำเลย ที่ 1 เป็น สินค้า ของ โจทก์แม้ โจทก์ ยัง มิได้ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 1 ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ที่ 1โจทก์ ก็ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ตัวอักษร โรมัน SPS อ่าน ว่า”เอส พี เอส” ดีกว่า จำเลย ที่ 1 ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น อีก เช่นกัน
ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา สำนวน แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหายให้ โจทก์ เป็น เงิน 40,000 บาท โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ โจทก์ไม่ได้ นำสืบ เรื่อง ค่าเสียหาย ให้ เป็น ที่ ประจักษ์ นั้น เห็นว่า โจทก์ได้ นำสืบ ความเสียหาย ของ โจทก์ จาก การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ใช้ กับ สินค้า ของ จำเลย ทั้ง สอง ทำให้ประชาชน ทั่วไป หลง เข้าใจ ว่า สินค้า ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น สินค้า ของโจทก์ แล้ว แม้ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ไม่มี น้ำหนัก ให้ ฟังได้ แน่ชัด ว่าโจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เพียงใด แต่ ข้อเท็จจริง ก็ ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้รับความเสียหาย จาก การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง แล้ว ศาล จึง มีอำนาจ กำหนดค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ได้ ตาม สมควร โดย คำนึง ถึง พฤติการณ์ แห่ง คดี ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ ควร ให้ ศาลชั้นต้น เป็น ผู้กำหนด ค่าเสียหายตาม ประเด็น นั้น เห็นว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ข้อเท็จจริง ใน คดี มีเพียงพอ ที่ จะ วินิจฉัย ประเด็น ดังกล่าว ได้ แล้ว ศาลอุทธรณ์ ย่อม มีอำนาจที่ จะ วินิจฉัย ประเด็น นั้น ไป เอง ได้ โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ประเด็น ดังกล่าว ก่อน และ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่าศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ค่าเสียหาย นอก คำฟ้อง ของ โจทก์ เพราะ โจทก์ ฟ้องเรียก ค่าเสียหาย โดย ระบุ ว่า จำเลย ทั้ง สอง นำ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ไป ใช้ ถือว่า เป็น การ ละเมิด ใน เครื่องหมายการค้า แต่ ศาลอุทธรณ์ กำหนดค่าเสียหาย จาก ประเด็น ว่า จำเลย นำ เอา รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ มา ใช้ ทำให้ หลงเชื่อ ว่า เป็น เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย นั้นปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย กำหนด ค่าเสียหาย ดังกล่าว จาก การ ที่จำเลย ทั้ง สอง เอา เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ใช้ กับ สินค้า ของ จำเลยทั้ง สอง ทำให้ ประชาชน ทั่วไป หลง เข้าใจ ว่า สินค้า ของ จำเลย ทั้ง สองเป็น สินค้า ของ โจทก์ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ค่าเสียหาย ดังกล่าวจึง มิใช่ เป็น การ วินิจฉัย นอก คำฟ้อง ของ โจทก์ แต่อย่างใด ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา สำนวน แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหาย ให้โจทก์ โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ทำ ให้โจทก์ เสียหาย นั้น เห็นว่า สำนวน แรก มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาเพียง 40,000 บาท คู่ความ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การ วินิจฉัยฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ย่อม ต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง ว่า การกระทำของ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำให้ โจทก์ เสียหาย หรือไม่ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ดังกล่าว เป็น ยุติ แล้ว ว่า โจทก์ ได้รับ ความเสียหายจาก การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ นี้ จึง เป็นการ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย เป็น ยุติ แล้วเพื่อ นำ ไป สู่ การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองอัน มีผล อย่างเดียว กัน กับ การ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกาตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share