คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เจ้ามรดกเขียนพินัยกรรม์ยกทรัพย์สินให้บุตรและบุตรเขย แม้จะไม่มีข้อความว่าให้คำสั่งของคนมีผลเมื่อตายแล้ว ก็ดี แต่เมื่ออ่านเอกสารนี้ รวมกันทั้งฉะบับแล้ว คงได้ความว่า ทรัพย์ของเจ้ามรดกที่มีอยู่เมื่อตายเจ้ามรดกไม่ปลงใจ ยกให้แก่ใคร นอกจากบุตรและบุตรเขย ฯลฯ ที่ระบุไว้ในคำสั่งนั้ นั้น จึงย่อมเป็นคำสั่งของเจ้ามรดกได้กำหนดการ เผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนอันจะให้เกิดมีผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตายแล้ว จึงเป็นพินัยกรรม์ที่ชอบด้วย กฎหมาย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1646./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า นายสี ลีดีลี ได้ทำนัยกรรม์ยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเขยบุตรสาว ต่อมานายลีถึงแก่กรรม โจทก์ขอรับมรดก จำเลยขัดขวาง จึงขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขัดขวาง
จำเลยต่อสู้ว่า นายลีมิได้ทำพินัยกรรม ฯลฯ แต่ในวันชี้สองสถานจำ+ ยืนยันว่า เอกสารที่โจทก์ไม่มีข้อกำหนดการเผื่อ ตาย จึงไม่เป็นพินัยกรรม์ ที่ชอบด้วยกฎหมาย คู่ความจึงตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยข้อเดียวว่า เอกสารที่โจทก์อ้างจะเป็ฯ พินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษา มิให้จำเลยขัดขวางโจทก์ตามฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้ว เอกสารมีข้อความดังต่อไปนี้
เขียนที่ตำบลตาลเดี่ยวหมู่ที่ ๓ เรือนนายลี ลีดีลี
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๖
ฉันนายลี ลีดีลี เกิดปีวอก อายุ ๘๔ ปี อยู่บ้านหมู่ที่ ๓ ฯลฯ ได้ทำพินัยกรรม์เป็นคำสั่งไว้ดั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ ฉันมีบ้าน ฯลฯ
๒ ที่สวนอีก ๑ แปลง ฯลฯ
๓ กับที่นา ๑ แปลง ฯลฯ ทรัพย์ทั้ง ๓ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ฉันยกให้แก่นายชิงบ ศิริมาบุตรเขย กับนางบุญตา บุตรสาวฉัน ฯลฯ
ข้อ ๒ บรรดาสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรพัย์ของฉันหรือทรัพย์สินที่จะหาได้ต่อไปภายหน้า ก็ดี ฉันปลงใจยกให้แก่ นายชิง ศิริมา นางบุญตา บุตรเขยบุตรสาวฉันแก่ ๒ คน เท่านั้น
ข้อ ๓ ญาติคนใดหรือบุตรคนคนหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรม์ฉะบับนี้แล้ว ฉันไม่ปลงใจยกทรัพย์ให้เลย เพราะ ฉะนั้นห้ามมิให้มาฟ้องร้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของฉันเป็นอันขาด.
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวแล้ว แม้จะไม่มีข้อความว่าให้คำสั่งของนายลีมีผล เมื่อนายลีตายแล้ว ก็ดี แต่ก็เห็นได้ว่า เป็นเอกสารที่นายลีทำเป็นคำสั่งเกี่ยวทรัพย์สินของตน อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อนายลีตายแล้ว กล่าวคือตอนต้นเอกสารก็บอกไว้แล้วว่า ได้ทำพินัยกรรม์เป็นคำสั่งไว้ ต่อ ๆ มาก็กล่าวถึงทรัพย์สินของตนที่จะให้แก่ โจทก์ ในข้อ ๓ ก็มีข้อห้ามมิให้ญาติหรือบุตรคนใดนอกจากที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ฟ้องร้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ นายลี คำว่า ทรัพย์มรดกก็ย่อมหมายความว่า เป็นทรัพย์สินของนายลีที่มีอยู่เมื่อตายแล้ว นายลีไม่ปลงใจยกให้แก่ใคร นอกจากโจทก์ที่นายลีระบุไว้ในคำสั่งนี้ จึงเป็นคำสั่งของนายลีได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนอันจะให้ เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อตายแล้วฉะนั้นเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นพินัยกรรม์ที่ชอบด้วย ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๖๕๖.
จึงพิพากษายืน./

Share