แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2นิยามคำว่า”ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด”ไว้หมายความว่า”ราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด”นั้นเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหากผู้นำเข้าไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาที่นำเข้าสินค้าพิพาทและสถานที่ที่นำเข้าซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใดจึงยังถือไม่ได้ว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าสำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการที่เจ้าพนักงานประเมินสินค้าของผู้นำเข้าโดยคิดพิจารณาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้นำเข้าซึ่งมีผู้อื่นนำเข้ามาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่โจทก์นำเข้าซึ่งปฏิบัติไปตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531อันเป็นแนวทางที่มีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องสามารถนำมาถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าของผู้นำเข้าได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า ราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง ไว้ก่อน เพิ่ม เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงานจำเลย ไม่ชอบ ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ดังกล่าว และ ให้ จำเลย คืนเงินแก่ โจทก์ จำนวน 285,382 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7 ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ราคา ของ เจ้าหน้าที่ จำเลย ชอบ ด้วยกฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน 285,382 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริงที่ คู่ความ ไม่ โต้เถียง กัน ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า ระหว่าง วันที่ 7 กรกฎาคม2534 ถึง วันที่ 26 ตุลาคม 2534 โจทก์ ได้ นำเข้า กระสุนปืน ขนาดและ ชนิด ต่าง ๆ ยี่ห้อ วินเชสเตอร์ กำเนิด ประเทศ สหรัฐอเมริกา เข้า มา ใน ราชอาณาจักร รวม 5 เที่ยว ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า และแบบแสดงรายการ การค้า เลขที่ 094-45005-9, 114-40374-0, 074-43573-5,074-43572-8 และ 074-43568-5 เมื่อ โจทก์ ยื่น ใบขนสินค้า ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย เพื่อ ปฏิบัติ พิธี การ ทาง ศุลกากรพนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย เห็นว่า ราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง ไว้ต่ำกว่า ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด จึง สั่ง ให้ โจทก์ เพิ่ม ราคา สินค้าทุก ใบขนสินค้า เมื่อ เพิ่ม ราคา สินค้า แล้ว ทำให้ โจทก์ เสีย ภาษีอากรเพิ่มขึ้น โจทก์ ยอม เสีย ภาษีอากร เพิ่มขึ้น และ ได้ ขอ สงวนสิทธิโต้แย้ง ราคา สินค้า ไว้ ใน ด้านหลัง ใบขนสินค้า ต่อมา โจทก์ ได้อุทธรณ์ การ ประเมิน ราคา สินค้า ต่อ จำเลย จำเลย พิจารณา อุทธรณ์ ของ โจทก์แล้ว ได้ กำหนดราคา ประเมิน ให้ ต่ำ ลง เฉพาะ กระสุนปืน ตาม ใบขนสินค้าฉบับที่ 4 และ ฉบับที่ 5 บางราย การ เท่านั้น และ โจทก์ ได้รับ เงินค่าภาษีอากร ที่ ชำระ เกิน จาก ราคา ส่วน ที่ ลดลง แล้ว
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย มี ว่า การ ประเมิน ภาษีอากรของ จำเลย ชอบแล้ว หรือไม่ ซึ่ง จะ ต้อง พิจารณา ว่า ราคา อัน แท้จริงใน ท้องตลาด ของ สินค้า พิพาท เป็น จำนวน เท่าใด โจทก์ มี นาง นิภาภรณ์ ดุลยพีรดีส หุ้นส่วน คนหนึ่ง ของ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้รับมอบอำนาจ เป็น พยาน เบิกความ ว่า เกี่ยวกับ สินค้า พิพาท เมื่อ มี ผู้ต้อง การ ซื้อกระสุนปืน โจทก์ จะ สอบถาม ราคา ไป ยัง ผู้ขาย ที่ ต่างประเทศ เมื่อ โจทก์ได้ ใบ เสนอราคา มา แล้ว ได้ ต่อรอง ราคา ให้ ลดลง แต่ ผู้ขาย ไม่ ลดโจทก์ จึง ติดต่อ ซื้อ ใน ราคา ที่ ผู้ขาย เสนอ มา การ ชำระ ราคา สินค้า พิพาทใน คดี นี้ โจทก์ ชำระ ให้ ผู้ขาย โดย ผ่าน ธนาคาร ตาม เอกสาร หมาย จ. 1แผ่น ที่ 11 ถึง 21 ราคา ตรง กับ ที่ ปรากฎ ใน ใบขนสินค้า ซึ่ง เป็น ราคาอัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ส่วน จำเลย มี นาง สุนีย์ โรจนวัฒนวงศ์ นาย ศรัณยพงศ์ สุรรัตน์ เจ้าหน้าที่ ประเมิน อากร ผู้ทำการ ประเมิน ราคา สินค้า ของ โจทก์ และ นาง จิราภรณ์ แสงวิรุณ เจ้าหน้าที่ ประเมิน อากร ซึ่ง พิจารณา อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน ชั้นต้น เป็น พยานเบิกความ ได้ สาระสำคัญ ว่า ได้ ประเมิน ราคา สินค้า ของ โจทก์ โดยเปรียบเทียบ กับ ราคา สินค้า ประเภท และ ชนิด เดียว กัน กับ ของ โจทก์ซึ่ง มี ผู้อื่น นำเข้า มา ใน ช่วง เวลา ไม่เกิน 6 เดือน โดย ถือ ราคานำเข้า สูงสุด เป็น เกณฑ์ ประเมิน ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ตามคำสั่ง ทั่วไป ของ จำเลย ที่ 47/2531 เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่122 ถึง 128 สินค้า ของ ผู้อื่น ที่ นำ มา เปรียบเทียบ ตาม ใบเปรียบเทียบ ราคา สินค้า เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 107 และ ตาม ใบ ขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า ของ ผู้อื่น เอกสาร หมาย ล. 1แผ่น ที่ 158 ถึง 184 เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ ได้ ซื้อ สินค้า มา ตาม ราคาที่ โจทก์ ได้ สำแดง ไว้ ใน ใบขนสินค้า ก่อน ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของจำเลย จะ ประเมิน ราคา สินค้า ของ โจทก์ เพิ่มขึ้น ก็ ตาม ราคา ที่ โจทก์ซื้อ สินค้า มา ดังกล่าว ก็ มิใช่ เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาดเสมอ ไป แต่ ขึ้น อยู่ กับ ทางนำสืบ ของ โจทก์ ที่ จะ พิสูจน์ ให้ ศาล เชื่อถือได้ เพียงใด เพราะ พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 นิยามคำ ว่า “ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ” ไว้ หมายความ ว่า “ราคา ขายส่งเงินสด (ใน ส่วน ของ ขาเข้า ไม่รวม ค่าอากร ) ซึ่ง จะ พึง ขาย ของ ประเภทและ ชนิด เดียว กัน ได้ โดย ไม่ ขาดทุน ณ เวลา และ ที่ ที่ นำ ของ เข้า หรือส่ง ของ ออก แล้วแต่ กรณี โดย ไม่มี หัก ทอน หรือ ลดหย่อน ราคา อย่างใด “โจทก์ นำสืบ แต่เพียง ว่า สินค้า ที่ โจทก์ นำเข้า นี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยเนชั่นแนลการค้า ก็ เคย นำเข้า มา ก่อน และ ศาลฎีกา ได้ เคย มี คำพิพากษา ให้ ถือเอา ราคา ที่ นำเข้า เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาดตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 508/2532 และ 136/2534 ซึ่ง ข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาฎีกา ดังกล่าว ต่าง กับ การ ซื้อ ขาย ของ โจทก์ ใน คดี นี้โดย เป็น การ ซื้อ ขาย กัน ใน ระหว่าง ปี 2527 ถึง 2531 มิใช่ เวลาใกล้เคียง กับ ที่ โจทก์ ซื้อ มิอาจ จะ นำ มา เปรียบเทียบ กัน ได้ และ ที่โจทก์ นำสืบ ว่า บริษัท ผู้ขาย สินค้า ให้ โจทก์ ก็ เคย ขาย สินค้า เช่นเดียวกัน นี้ ให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปืนสายทอง เมื่อ ปี 2533 ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 4 แต่ ดู จาก เอกสาร ดังกล่าว แล้ว หาใช่การ ซื้อ ขาย ใน ปี 2533 ไม่ แต่ เป็น การ ซื้อ ขาย กัน ใน ปี 2531จึง มิใช่ ณ เวลา ที่ จะ นำ มา พิจารณา ได้ นอกจาก นี้ แล้ว โจทก์ ไม่มีพยานหลักฐาน อื่น แสดง ให้ เห็นว่า ราคา ขาย เงินสด ซึ่ง จะ พึง ขาย ของประเภท และ ชนิด เดียว กัน ได้ โดย ไม่ ขาดทุน ณ เวลา ที่ นำเข้า สินค้าพิพาท และ สถานที่ ที่ นำเข้า ซึ่ง เป็น ความหมาย ของ ราคา อัน แท้จริงใน ท้องตลาด ว่า เป็น ราคา เท่าใด จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า ราคา สินค้า ที่โจทก์ สำแดง ไว้ ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า นั้นเป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ของ สินค้า พิพาท ส่วน ราคา สินค้าที่ จำเลย ประเมิน แก่ สินค้า ของ โจทก์ นั้น เป็น การ คิด พิจารณา เปรียบเทียบกับ ราคา สินค้า ประเภท และ ชนิด เดียว กัน กับ สินค้า ของ โจทก์ ซึ่ง มี ผู้อื่นนำเข้า มา ใน ช่วง เวลา ใกล้เคียง กับ ที่ โจทก์ นำเข้า ซึ่ง ปฏิบัติไป ตาม คำสั่ง ทั่วไป ของ จำเลย ที่ 47/2531 อันเป็น แนว ทาง ที่ มีเหตุ ผลและ เป็น วิธี ที่ ถูกต้อง น่าเชื่อ ถือ พยานหลักฐาน จำเลย มี น้ำหนัก ดีกว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ฟังได้ ว่า ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ของ สินค้าพิพาท เป็น ดัง ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ทำการ ประเมิน การ ประเมิน ภาษีอากรของ จำเลย ชอบแล้ว ที่ ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงินค่าภาษีอากร และ ค่าธรรมเนียม พิเศษ แก่ โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้องด้วย อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง