คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็น เจ้าหนี้ภาษีอากรที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาลก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสองถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ตามกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสามได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจนั้นและมิใช่การ ใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีซึ่งต้องฟ้องภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสาม

ย่อยาว

กรณี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ให้ ร่วมกัน ชำระหนี้ตาม หนังสือ รับรอง หนี้ ที่ จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกหนี้ และ จำเลย ที่ 2กับ นาง นำหาหรือหลำหา โกยสมบูรณ์ เป็น ผู้ค้ำประกัน ต่อมา โจทก์ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาท ของ นาง นำหา โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ตกลง ชำระหนี้ ให้ โจทก์ เป็น เงิน 2,500,000 บาท หาก ผิดนัด ยอม ให้ โจทก์บังคับคดี ได้ เต็ม ตาม ฟ้อง เป็น เงิน 4,477,659.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ยและ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง ของ จำเลย ที่ 1 และ ทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ จน ครบ ต่อมา จำเลย ที่ 1และ ที่ 3 ผิดนัด โจทก์ จึง นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดินโฉนด เลขที่ 4289 พร้อม บ้าน และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1517 ของ จำเลย ที่ 1ซึ่ง ขายทอดตลาด ไป แล้ว ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ต่อมา โจทก์ นำ เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1903, 4061 ของ จำเลย ที่ 1 ขณะ นี้อยู่ ระหว่าง การ ขายทอดตลาด
ระหว่าง การ บังคับคดี จำเลย ที่ 1 ถึงแก่ความตาย โดยนางสาว รัชนี โกยสมบูรณ์ ผู้จัดการมรดก รับทราบ การ บังคับคดี และ เข้า มา ดูแล การ ขายทอดตลาด ตลอดมา
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า จำเลย ที่ 1 โดย นางสาว รัชนี โกยสมบูรณ์ ผู้จัดการมรดก กับ นาย ประสิบสิน โกยสมบูรณ์ นางสาว อนงค์ โกยสมบูรณ์ นางสาว โสภา โกยสมบูรณ์ และ นางสาว รัตนา โกยสมบูรณ์ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ประจำปี 2528ครึ่ง ปี จาก รายได้ การค้า อสังหาริมทรัพย์ 73,447,673 บาท และภาษีการค้า เนื่องจาก ประกอบการค้า โดย ไม่ได้ จดทะเบียน การค้า และไม่ได้ ยื่น แบบแสดงรายการ เพื่อ เสีย ภาษีการค้า ประจำปี 2528 จำนวน10,749,200 บาท แก่ เจ้าหน้าที่ สรรพากรเขต 8 แต่ จำเลย ที่ 1 กับพวกไม่ชำระ ค่าภาษี ทั้ง สอง รายการ ให้ ผู้ร้อง ภายใน กำหนด จำเลย ที่ 1กับพวก มี หนี้ ภาษี ค้างชำระ แก่ ผู้ร้อง เป็น เงิน ทั้งสิ้น 84,195,316 บาทผู้ร้อง เป็น เจ้าหนี้ บุริมสิทธิ สามัญ เหนือ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1เป็น เงิน 84,195,316 บาท ซึ่ง ผู้ร้อง ชอบ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ จากเงิน ที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ก่อน เจ้าหนี้ อื่นขอให้ สั่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี จ่ายเงิน 84,195,316 บาท จาก เงินที่ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ให้ แก่ ผู้ร้อง ก่อนเจ้าหนี้ ราย อื่น
โจทก์ คัดค้าน ว่า ผู้ร้อง มิได้ เป็น เจ้าหนี้ ภาษีอากร ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 มิได้ ประกอบ กิจการ อย่างใด ที่ จะ ต้อง เสีย ภาษีและ ค้างชำระ ค่าภาษีอากร และ ผู้ร้อง มิได้ แจ้ง การ ประเมิน ภาษี โดยชอบค่าภาษี 84,195,316 บาท เป็น เงิน ที่ สูง เกินกว่า ความ เป็น จริงผู้ร้อง มีสิทธิ อย่าง เจ้าหนี้ สามัญ จำเลย ที่ 1 ถึงแก่ความตายเมื่อ ปี 2528 แต่ ผู้ร้อง หา ได้ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ภายใน กำหนด 1 ปีหนี้ ภาษีอากร ของ ผู้ร้อง จึง ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เฉลี่ยทรัพย์ ของจำเลย ที่ 1 ได้
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าคดี ของ ผู้ร้อง ขาดอายุความ หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า ผู้ร้อง มิได้ใช้ สิทธิเรียกร้อง หนี้ ภาษีอากร ค้าง ภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่ ได้ รู้หรือ ควร รู้ ถึง ความตาย ของ จำเลย ที่ 1 จึง ขาดอายุความ เห็นว่าแม้ ผู้ร้อง จะ มิได้ เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ของ จำเลย ที่ 1 แต่เมื่อจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ ภาษีอากร ค้าง แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง โดย อธิบดีย่อม มีอำนาจ สั่ง ยึด หรือ อายัด และ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1เพื่อ ให้ ได้รับ ชำระหนี้ ภาษีอากร ค้าง ได้ โดย ผู้ร้อง ไม่จำเป็น ต้องใช้ สิทธิเรียกร้อง ด้วย การ ฟ้องคดี ต่อ ศาล ก่อน ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง สิทธิ ของ ผู้ร้อง ตาม ประมวลรัษฎากรดังกล่าว ถือได้ว่า เป็น สิทธิ อื่น ๆ ซึ่ง บุคคลภายนอก อาจ ขอให้ บังคับเหนือ ทรัพย์สิน ได้ ตาม กฎหมาย ซึ่ง บทบัญญัติ แห่ง ประมวล วิธีพิจารณาความ แพ่ง ว่าด้วย การ บังคับคดี แก่ ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษาย่อม ไม่ กระทบ กระทั่ง ถึง ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้อง มีสิทธิ ที่ จะ ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ได้ ตาม มาตรา 290 วรรคสาม อีก ทั้ง การ ยึดหรือ อายัด และ ขายทอดตลาด ของ ผู้รับผิด ต้อง เสีย ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ บัญญัติ ว่า “วิธีการ ยึด และขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ให้ ปฏิบัติ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดย อนุโลม ” และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271ก็ บัญญัติ ว่า “คู่ความ หรือ บุคคล ซึ่ง เป็น ฝ่าย ชนะคดี (เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา ) ชอบ ที่ จะ ร้องขอ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่งนั้น ได้ ภายใน สิบ ปี นับแต่ วัน มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ” เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ได้ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา และภาษีการค้า ไป ยัง ผู้จัดการมรดก และ ทายาท ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่27 มกราคม 2535 ตาม เอกสาร หมาย ร.5 และ ร.6 หลังจาก ผู้จัดการมรดกและ ทายาท ของ จำเลย ที่ 1 ได้รับ หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ดังกล่าว แล้วไม่นำ เงิน ภาษีอากร ชำระ ให้ ผู้ร้อง ผู้ร้อง ย่อม สามารถ ใช้ อำนาจ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ได้ ภายใน กำหนด เวลา สิบ ปี นับแต่ วันที่จะ ใช้ อำนาจ ตาม กฎหมาย ดังกล่าว เมื่อ ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ เฉลี่ยทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ภาษีอากร ค้าง เมื่อ วันที่24 พฤศจิกายน 2535 อันเป็น เวลา ภายใน กำหนด สิบ ปี ที่ ผู้ร้อง ได้ ใช้อำนาจ ตาม มาตรา 12 แห่ง ประมวลรัษฎากร วิธีการ ดังกล่าว เป็น กรณีของ การ บังคับ ชำระหนี้ ซึ่ง ผู้ร้อง อาจ บังคับ ได้ ภายใน สิบ ปี ตาม ที่บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 271 มิใช่ การ ใช้ สิทธิเรียกร้อง โดย การฟ้องคดี จึง ไม่อาจ อ้าง อายุความ 1 ปี นับแต่ เมื่อ เจ้าหนี้ ได้ รู้หรือ ควร ได้ รู้ ถึง ความตาย ของ เจ้ามรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม มา ใช้ ได้ คดี ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ขาดอายุความศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share