คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีระเบียบว่าด้วยการออกจากงานกรณีสูงอายุ ว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ซึ่งเป็นปีที่ผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานจำเลย เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ว่าพนักงานของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่งหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้ง และการถอนตำแหน่งหรือโจทก์จะสมัครใจลาออกก่อนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็อาจทำได้การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะงานว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ให้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจ้างเป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ ดัง ระบุในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสามของระเบียบ ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานข้อ 3(3) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12ว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปีให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หาร ด้วยห้าสิบห้าซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุ โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 29,520 บาท และมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 177,120 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า ตามระเบียบของจำเลย ฉบับที่ 83 ว่าด้วยการออกจากงานกรณีสูงอายุของพนักงานธนาคารออมสิน และฉบับที่ 121ว่าด้วยการแต่งตั้ง และการถอนจากตำแหน่งพนักงานธนาคารออมสินกำหนดให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โจทก์ทราบแล้วถือว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย และเมื่อเลิกจ้าง จำเลยได้จ่ายเงินบำนาญตามระเบียบของจำเลย ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับค่าชดเชยให้โจทก์รับไปแล้ว จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์อีก โจทก์ไม่เคยทวงถามและจำเลยไม่เคยผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
วันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ทำงานติดต่อกันมาเกิน 3 ปี ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายตามฟ้อง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2533 แล้วคู่ความแถลงไม่สืบพยาน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานของจำเลยซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงาน มิใช่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งการจ้างของจำเลยมิใช่การจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการซึ่งจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ส่วนเงินบำนาญตามระเบียบของจำเลยไม่ใช่ค่าชดเชยพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 177,120 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย
ยี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงานหารด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบห้า ดังนี้เป็นต้นซึ่งเห็นได้ว่ามีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย…”
พิพากษายืน.

Share