แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดดังกล่าวนั้นเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ แสดง กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 3027 โดย การ ครอบครองปรปักษ์ คดี อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณาของ ศาลชั้นต้น ผู้ร้องสอด ยื่น คำร้อง สอด เข้า มา ใน คดี อ้างว่า เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ ดังกล่าว โดย นาง กรึก ทองประศรี มารดา ผู้ร้องสอด ได้ จดทะเบียน ยกให้ ผู้ร้องสอด ผู้ร้อง อยู่ ใน ที่ดินดังกล่าว โดย ขอ อาศัย นาง กรึก และ เมื่อ ที่ดิน ดังกล่าว ตก มา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ ผู้ร้องสอด ผู้ร้อง ก็ ขอ อาศัย ผู้ร้องสอด อยู่ ต่อมานาง กรึก มิได้ ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง คำร้อง สอด ว่า กรณี ตาม คำร้องไม่ต้อง ด้วย บทบัญญัติ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57เพราะ คดี นี้ เป็น คดีไม่มีข้อพิพาท ผู้ร้อง จึง ไม่อาจ ยื่น คำร้อง สอด ได้ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้องสอด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
ผู้ร้องสอด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลมี คำสั่ง ว่า ผู้ร้อง ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน มี โฉนด ที่ดิน บางส่วน โดย การครอบครองปรปักษ์ แต่ โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว มี ชื่อ ผู้ร้องสอด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้ง แปลง ผู้ร้องสอด จึง มี ส่วนได้เสีย ใน คดี นี้ดังนั้น การ ที่ ผู้ร้องสอด ยื่น คำร้อง สอด เข้า มา ใน คดี นี้ ซึ่ง ยัง อยู่ใน ระหว่าง พิจารณา โดย อ้างว่า เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ใน โฉนด ที่ดินดังกล่าว จึง เป็น การ ร้องสอด ด้วย ความสมัครใจ เอง เพราะ เห็นว่า เป็น การจำเป็น เพื่อ ยัง ให้ ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม สิทธิ ของ ตน ที่ มี อยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ศาลชั้นต้น ชอบ ที่ จะรับคำ ร้องสอด ของ ผู้ร้องสอด ไว้ เพื่อ วินิจฉัย ถึง ข้อโต้แย้ง สิทธิของ ผู้ร้องสอด ให้ ตาม รูปคดี ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำร้อง สอด ของผู้ร้องสอด มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ ผู้ร้องสอด ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ รับคำ ร้องสอด ของ ผู้ร้องสอด ไว้ พิจารณา ต่อไปแล้ว มี คำสั่ง หรือ คำพิพากษา ตาม รูปคดี