คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทสองฉบับชำระค่าจ้างถมดินทำถนนให้ส. โดยสัญญาว่าจ้างถมที่ทำถนนระบุว่าถ้า ส. ผู้รับจ้างถมที่ดินไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดจำเลยผู้ว่าจ้างสามารถอายัดเช็คทั้งสองฉบับได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นดังนี้เมื่อ ส.มิได้ถมที่ดินทำถนนให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาจำเลยย่อมมี สิทธิยึดหน่วงการชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับได้ตามกฎหมายรวมทั้งมี สิทธิอายัดการใช้เงินตามเช็คทั้งสองฉบับต่อธนาคารตามสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการที่ ส.ถมดินทำถนนไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา ส. ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามสัญญาได้แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับแต่ก็เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาใน มูลหนี้อันเดียวกันไม่สามารถแบ่งแยกกันได้การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายระคนอยู่ในจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายจำเลยจึง ไม่มี ความผิด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 4
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา บริษัท ยูนิเวอร์แซล อีควิปเมนท์ จำกัด ผู้เสียหาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 รวม สอง กรรม ให้ ลงโทษ ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิด ไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุก กระทง ละ 8 เดือน รวม จำคุก 16 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ และ โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย และนาย สมบัติ ได้ ตกลง ทำ สัญญา ว่าจ้าง ถม ที่ ทำ ถนน เอกสาร หมาย ล. 1กัน จริง ซึ่ง ตาม สัญญา เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 2 ระบุ ไว้ ว่า “ถ้าผู้รับจ้าง (หมายถึง นาย สมบัติ ยาสาธร ) ถม ดิน ไม่ เสร็จ ตาม สัญญา ภายใน วันที่ 26 พฤษภาคม 2534 ผู้ว่าจ้าง (หมายถึง จำเลย ) สามารถอายัด เช็ค ทั้ง สอง ฉบับนี้ ได้ โดย ไม่มี เงื่อนไข ใด ๆ ทั้งสิ้น ” จึง มีปัญหา ต่อไป ว่า นาย สมบัติ ผู้รับจ้าง ถม ดิน ทำ ถนน เสร็จ ภายใน วันที่ 26 พฤษภาคม 2534 อันเป็น กำหนด เวลา ตาม สัญญา หรือไม่ ใน ปัญหา นี้นาย เวียง พยานโจทก์ เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ทนายจำเลย ว่า ขณะที่ เช็ค ถึง กำหนด ชำระ นั้น งาน ถม ดิน ยัง ไม่ แล้ว เสร็จ ได้ ทราบ ข่าว ว่าจำเลย ไป อายัด เช็ค ไว้ และ นาย สมบัติ พยานโจทก์ และ โจทก์ร่วม ซึ่ง เป็น ผู้รับจ้าง ถม ดิน ทำ ถนน ก็ เบิกความ ว่า ประมาณ เดือน พฤษภาคม 2534จำเลย ได้ว่า จ้าง ไป ถม ดิน พยาน ถม ดิน ให้ จน แล้ว เสร็จ ใช้ เวลา ประมาณ2 เดือน คำเบิกความ ของ นาย สมบัติ ดังกล่าว นอกจาก จะ มิได้ ยืนยัน ว่า นาย สมบัติ ถม ดิน ทำ ถนน เสร็จ ภายใน กำหนด เวลา ตาม สัญญา แต่ กลับ แสดง ว่า นาย สมบัติ มิได้ ถม ดิน ทำ ถนน ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน กำหนด เวลา ตาม สัญญา เพราะ หาก คำนวณ ระยะเวลา เริ่มต้น ว่าจ้าง ใน เดือน พฤษภาคมตาม ที่นาย สมบัติ เบิกความ การ ถม ดิน ทำ ถนน ก็ จะ แล้ว เสร็จ ใน ปลาย เดือน มิถุนายน 2534 ซึ่ง ล่วงเลย กำหนด เวลา ตาม สัญญา คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ดังกล่าว รับ กับ ที่ จำเลย นำสืบ ว่า เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด นาย สมบัติ ยัง ถม ดิน ไม่ เสร็จ จำเลย จึง ได้ แจ้ง อายัด เช็ค ต่อ ธนาคาร ข้อเท็จจริงน่าเชื่อ ว่า นาย สมบัติ ผู้รับจ้าง มิได้ ถม ดิน ทำ ถนน ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 26 พฤษภาคม 2534 อันเป็น กำหนด เวลา ตาม สัญญา การ ที่นาย สมบัติ ผู้รับจ้าง ถม ดิน ทำ ถนน ไม่ แล้ว เสร็จ ตาม กำหนด เวลา ที่ ตกลง ใน สัญญา จำเลย ย่อม มีสิทธิ ยึด หน่วง การ ชำระ เงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับได้ ตาม กฎหมาย รวมทั้ง มีสิทธิ อายัด การ ใช้ เงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับต่อ ธนาคาร ตาม สัญญา ว่าจ้าง ถม ที่ ทำ ถนน เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 2 ซึ่งจำเลย ก็ ได้ มี คำสั่ง ให้ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา สมุทรสาคร ระงับ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ของ จำเลย ทั้ง สอง ฉบับที่ ออก ให้ แก่ นาย สมบัติ ผู้รับจ้าง ใน วันที่ 27 พฤษภาคม 2534 อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดยชอบด้วย กฎหมาย และ การ ที่นาย สมบัติ ผู้รับจ้าง ถม ดิน ทำ ถนน ไม่ เสร็จ ภายใน วันที่ 26 พฤษภาคม 2534 ตาม สัญญา นาย สมบัติ ย่อม ไม่อาจ บังคับ ให้ จำเลย ชำระหนี้ เต็ม จำนวน ตาม สัญญา ได้ และ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับแม้ จะ สั่งจ่าย เงิน จำนวน 550,000 บาท ฉบับ หนึ่ง และ 500,000 บาทอีก ฉบับ หนึ่ง แต่ ก็ เป็น การ ชำระหนี้ ตาม สัญญา ใน มูลหนี้ อัน เดียว กันไม่อาจ แบ่งแยก กัน ได้ การ ออก เช็ค ของ จำเลย เป็น การ ออก เช็ค ชำระหนี้ที่ ไม่อาจ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระคน อยู่ ใน จำนวน หนี้ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย ใน จำนวนเงิน ที่ สั่งจ่าย ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ การ ออก เช็คพิพาท ของจำเลย จึง ไม่มี ความผิด ตาม ฟ้องแม้ ข้อเท็จจริง จะ ได้ความ ว่า ใน วันที่ 26 พฤษภาคม 2534 ซึ่ง เป็นวันที่ ลง ใน เช็ค จำเลย เป็น หนี้ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา สมุทรสาคร เป็น เงิน 527,806.36 บาท ก็ ไม่ทำ ให้การ กระทำ ของ จำเลย ซึ่ง ไม่ผิดกฎหมาย กลับ เป็น ผิด กฎหมาย ขึ้น ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา โจทก์ และ โจทก์ร่วม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share