คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เดิมทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลย ต่อมาจำเลยได้โอนขายให้แก่ส. น้องสาวจำเลย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทจากจำเลยเป็นของ ส. แล้ว ส.ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยจำนองทรัพย์พิพาทต่อธนาคารและเพิ่มเงินจำนองอีกหลายครั้งในที่สุด ส.ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนองทรัพย์พิพาท และธนาคารเจ้าหนี้ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาท มีการขายทอดตลาดถึง 10 ครั้ง แต่ขายไม่ได้ ส.จึงขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 3,950,000 บาท ได้มีการถอนการยึดและชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าด้านการแสดงออกหรือคัดค้านแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยกับ ส. แสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันว่ามิได้มีเจตนาซื้อขายทรัพย์พิพาทกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์รับซื้อมาโดยสุจริตก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคแรก (เดิม)

Share