คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2518

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่า ‘หนี้’ ที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มิได้หมายถึงเฉพาะหนี้เงินเท่านั้นแต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ ด้วย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาขายที่ดินมีโฉนดให้แก่โจทก์โจทก์เข้าครอบครองที่ดินนั้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว เหลือแต่การโอนโฉนด โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้แน่นอนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งจำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องโอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 กลับโอนขายที่ดินนั้นให้จำเลยที่ 3 ไปเสีย โดยจำเลยทั้งสามทราบอยู่แล้วว่า โจทก์กำลังจะฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้มีทรัพย์สินมากพอที่จะชำระหนี้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ แม้หนี้สินอื่นที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนมาก จำเลยก็ชำระให้โดยไม่บิดพลิ้ว การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์นั้น เป็นเพราะโจทก์กับจำเลยแปลความในสัญญากันคนละทาง มิใช่เพราะมีเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดทางอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ และจำเลยที่ 3 ผู้รับซื้อที่ดินนั้นไว้ ก็ย่อมไม่มีความผิดทางอาญาดุจกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2517 และครั้งที่ 2/2518)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามบังอาจร่วมกันกระทำการทุจริต เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1,2 ได้รับชำระหนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1,2 มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 12370, 12371 ตำบลตาคลีอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ให้แก่โจทก์ตามที่ได้ตกลงขายไว้แล้วจำเลยที่ 3รู้อยู่แล้วว่าที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวนี้ โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1,2 และใช้สิทธิครอบครองอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย และรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1,2 มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1,2 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสองโฉนดนี้ให้จำเลยที่ 3 ในราคา 75,000 บาท และจำเลยที่ 3ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินสองแปลงดังกล่าวไว้โดยทุจริต ซึ่งโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1,2 ชำระหนี้ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 โฉนด โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 447,300 บาท ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350, 83

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้อง

ผู้ร้องได้ตรวจสอบปรากฏว่า ที่ดิน 11 ตราจองดังกล่าวยังอยู่ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ถือกรรมสิทธิ์ยังมิได้เปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ร้องเคยมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอรวมตราจองที่ดินบริเวณพระราชวังไกลกังวล 21 ตราจอง แล้วเปลี่ยนเป็นโฉนดในนามของผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ดำเนินการรวมตราจองโอนเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์จากกระทรวงการคลังมาเป็นนามผู้ร้อง 10 ตราจอง อีก 11 ตราจองที่เป็นพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เจ้าพนักงานให้มาขอคำสั่งศาลเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะดำเนินการรวมตราจองเปลี่ยนเป็นโฉนดให้ผู้ร้องต่อไป จึงขอให้ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 11 ตราจองตามบัญชีท้ายคำร้องจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯมาเป็นนามสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือกรรมสิทธิ์ เพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการขอเปลี่ยนจากตราจองเป็นโฉนดต่อไป

ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วสั่งว่า ความขัดข้องของผู้ร้องเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ตามความประสงค์ของผู้ร้อง ไม่เข้าเหตุที่จะใช้สิทธิทางศาลได้จึงไม่อาจรับไว้พิจารณา ให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ถ้าผู้ร้องขอจดทะเบียนสิทธิที่ดิน 11 ตราจองลงชื่อผู้ร้องเสียก่อนแล้วจึงขอรวมเป็นโฉนดเดียวกัน ก็ไม่น่าจะมีเหตุที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องไม่ดำเนินการให้ เพราะกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานที่ดินย่อมดำเนินการไปได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาลมาแสดง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 1 วรรค 7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ 9 (1)แต่ผู้ร้องจะให้เจ้าพนักงานที่ดินรวมที่ดินตามตราจองทั้งหมดเป็นที่ดินแปลงเดียวกันเสียก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นโฉนดในนามผู้ร้อง ทำให้ขัดต่อระเบียบของกรมที่ดินที่ 12/2500 ที่วางระเบียบในเรื่องการรวมโฉนดตราจองไว้ว่าต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทุกฉบับและยังมีชีวิตอยู่ทุกคน ผู้ร้องจะอ้างว่ามีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนหาได้ไม่ พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน11 ตราจองมาเป็นามของผู้ร้องได้หรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ได้แบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้า ฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย

ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว

มาตรา 5 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (เว้นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สำหรับที่ดิน 11 ตราจองนี้มีหลักฐานตามตราจองว่า อยู่ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ถือกรรมสิทธิ์ อาจเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น แต่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ในความดูแลของผู้ร้องมาแต่ พ.ศ. 2491 แล้วจึงเป็นปัญหาว่าที่ดินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหา ดังกล่าวย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะเป็นผู้วินิจฉัย เจ้าพนักงานที่ดิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ไม่มีอำนาจจะเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจองมาเป็นนามของผู้ร้องได้ ผู้ร้องมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินตามหน้าที่ หากทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ศาลก็ย่อมสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจองมาเป็นนามผู้ร้องซึ่งเป็นนามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินรายนี้ตามกฎหมาย หากฟังไม่ได้ก็ยกคำร้องไป

ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ผู้ร้องขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) เสียก่อน แล้วจึงขอรวมโฉนดในภายหลังนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดิน 11 ตราจองนี้เป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องการที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้น เป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การขอจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องในตราจองหาได้ไม่

พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้รับคำร้องแล้วดำเนินการไต่สวนต่อไปตามกระบวนความ

Share