คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ไนคดีที่จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.2485 ม.5 นั้น สาลจะริบเงินเหรียนของกลางตามกดหมายลักสนะอาญา ม.27 (1) ไม่ได้
อ้างดีกาที่ 526/2486
อธิบายความหมายอันต่างกันระหว่างมาตรา 27 (1) กับมาตรา 28.

ย่อยาว

คดีนี้มีปัญหาว่า เมื่อสาลพิพากสาว่าจำเลยได้กะทำผิดตาม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๕ มาตรา ๕ แล้ว เงินเหรียนกองกลางนั้นสาลจะริบตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๒๗ (๑) ได้หรือไม่
สาลดีกาเห็นว่า ปัญหาชนิดนี้สาลดีกาได้เคยพิพากสาว่าจะริบตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๒๘ ไม่ได้ (ดีกาที่ ๖๒๖/๒๔๘๖) แต่คดีนี้ดจทดีกาโดยอ้างว่าเข้ามาตรา ๒๗ (๑) ไม่ไช่มาตรา ๒๘ คำว่าไช้ หรือมีไว้โดยเจตนาจะไช้สำหรับะทำความผิดตามมาตรา ๒๗ (๑) นั้น หมายความว่า ไช้หรือมิไว้เพื่อจะไช้ไนการกะทำผิด ไม่ไช่การไช้ หรือมีไว้นั้นเองเปนความผิดเงินเหรียนที่จำเลยมีนี้ ผิดกับเรื่องการมีหรือไช้เปนความผิดไนตัวเอง ซึ่งเปนเรื่องของมาตรา ๒๘ บทกดหมายเปนเช่นนี้ จึงไม่มีทางจะริบเงินเหรียนไนคดีนี้ตามมาตรา ๒๗ (๑) ได้ พิพากสายืนตามสางล่าง

Share