แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษฐานปาณีตาม ก.ม.อาญา ม.59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ ๆ มิได้อ้าง พ.ร.บ.ป่ไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 คงอ้างมาแต่ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราใน ก.ม.ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 ได้ถูกยกเลิกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 แล้วเมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง ม.69 และ 73 แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ก.ม.หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อ ก.ม.ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริง จึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ 1 บาท คืนให้จำเลยนั้น กรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษา เมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ๆ จึงไม่วินิจฉัยให้.
ย่อยาว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้สักหวงห้ามไม่รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ ม.๑๖,๑๗ ให้จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท กับฐานปลอมดวงตราในราชการตาม ก.ม.อาญา ม.๒๑๑๑ ๒๑๓ ให้จำคุก ๑ ปี รวมเป็นโทษจำคุก ๑ ปี ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท เพิ่โทษฐานไม่เข็ดหลาบอีก ๑ ใน ๓ คงจำคุกจำเลย ๑ ปี ๕ เดือน ๑๐ วันและปรับ ๖๖๖.๖๖ บาท ไม้กับดวงตราของกลางริบ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในคดีสำนวนแรกว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ ม.๑๖,๑๗ ให้จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท และให้ลดโทษ ๑ ใน ๓ หักกลบลบกันไปไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลดส่วนสำนวนหลังให้ยกฟ้อง
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาคดีแล้วจะได้วินิจฉัยฎีกาโจทก์และจำเลยรวมกันไปเห็นว่าคดีสำนวนแรกศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลจังหวัดลำพูนเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม ก.ม.อาญา ม.๕๙ และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน ๕ ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติ ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อกล่าวหาของโจทก์
ส่วนปัญหาข้อ ก.ม.ที่จำเลยคัดค้านอันควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยคงมี
๑. เรื่องโจทก์ไม่ได้อ้าง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ มาในฟ้องคดีสำนวนแรกเลขแดงที่ ๔๘๔/๒๔๙๗ ของศาลจังหวัดลำพูน อ้างมาแต่ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ ม.๑๖,๑๗ ที่แก้ไขฉบับเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.๑๕๘(๖) และที่ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ ม.๑๖,๑๗ ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
๒. เรื่องฟ้องของโจทก์ในสำนวนคดีหลังเลขแดงที่ ๔๘๕/๒๔๙๗ ของศาลจังหวัดลำพูนไม่เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ก.ม.เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียง
เกี่ยวกับปัญหาข้อ ๑ นั้น จำเลยได้โต้แย้งคัดค้านมาตั้งแต่ศาลอุทธรณ์แล้ว ปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราใน ก.ม.ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ ม.๖๙,๗๓ ได้ถูกยกเลิกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ ม.๑๖,๑๗ ที่โจทก์อ้างขอให้ลงโทษจำเลย เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ แม้ศาลจะอ้าง ม.๖๙,๗๓ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พงศ.๒๔๘๔ เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.๑๕๘(๖) และการที่ศาลลงโทษจำเลยชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
สำหรับปัญหาข้อ ๒ จำเลยแย้งยกขึ้นโต้เพียงในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นข้อ ก.ม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาได้ตรวจฟ้องของโจทก์ในคดีสำนวนหลังเลขแดงที่ ๔๘๕/๒๔๙๗ ของศาลจังหวัดลำพูน ก็ปรากฏว่าไม่มีรายมือชื่อผู้เรียงจริง ฟ้องของโจทก์ในคดีสำนวนหลังดังกล่าวแล้วจึงไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.๑๕๘(๗) ศาลต้องยกฟ้องเสียไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
ส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นคัดค้านในชั้นฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลจังหวัดลำพูนไว้แล้ว แต่ต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดคิดเป็นเงินวันละ ๑ บาทคืนเงินให้จำเลยนั้น ศาลฎีกาใคร่จะชี้แจงว่า กรณีนี้เป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษา ยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร จึงไม่มีปัญหาจะวินิจฉัยให้
ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้วจึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
* คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้สักต้องห้ามไม่รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๖๙, ๗๓ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๑๖,๑๗ ให้จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท และฐานปลอมแปลงตราในราชการตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา ๒๑๑,๒๑๓ ให้จำคุก ๑ ปี รวมเป็นโทษจำคุก ๑ ปี ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบอีก ๑ ใน ๓ คงจำคุกจำเลย ๑ ปี ๕ เดือน ๑๐ วัน และปรับ ๖๖๖ บาท ๖๖ สตางค์ ไม้กับดวงตราของกลางให้ริบ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในคดีสำนวนจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ๒๔๘๔ มาตรา ๖๙,๗๓ และ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๑๖,๑๗ ให้จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๕๐๐ บาท เพิ่มโทษ ๑ ใน ๓ และให้ลดโทษ ๑ ใน ๓ หักกลบลบกันไปไม่ต้องเพิ่มไม่ต้องลด ส่วนสำนวนหลังให้ยกฟ้อง
โจทก์และจำเลยฎีกา