คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บุคคลที่จะฟ้องความแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้น ๆ
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจผู้แทนของนิติบุคคลมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนฟ้องความในคดีอาญาได้ และจะนำเอา ป.วิ.แพ่งมาตรา 60 มาอนุโลมใช้ไม่ได้
สมุห์บัญชีเทศบาลไม่มีอำนาจรับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรี ให้ฟ้องคดีอาญาที่กระทำต่อเทศบาล.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นสมุห์บัญชีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำเลยที่ ๑ ขณะกระทำผิดเป็นนายกเทศมนตรี เมืองร้อยเอ็ด ได้บังอาจจดบัญชีจ่ายเงินค่าจ้างรายวันของการไฟฟ้าเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดว่า ได้จ้างคนงาน ๙ คน ซึ่งความจริงจ้างแต่เพียง ๖ คนเท่านั้น และจำเลยทั้งสองสมคบกันปลอมลายเซ็นชื่อของคนงานทั้งสามลงในช่องบัญชี ผู้รับเงินด้วย
โจทก์และเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้รับความเสียหาย นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดี เรื่องนี้ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๑๑๘, ๒๓++
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่ผู้พิพากษานายหนึ่งมีความเห็นแย้งว่า ตาม ป.วิ.อาญา ม.๕(๓) หาได้บังคับให้ผู้จัดการหรือ ผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ๆ ต้องจัดการเอง และจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนตนไม่ได้ไม่ เพราะตาม ม.๔, ๕, ๖ ป.วิ.อาญาบัญญัติตัวบุคคลพิเศษที่สามารถจัดการแทนผู้เสียหายได้ตามเงื่อนไข ++ระบุไว้โดยอำนาจของ กฎหมาย มิ++ผู้เสียหายจะต้องมีการมอบอำนาจให้จัดการแทนบุคคลที่ระบุไว้ตามมาตราต่าง ๆ ดังกล่าว จึงถูกถือว่าเป็น ผู้เสียหายไปในตัวดังบัญญัติไว้ใน ม.๒(๔) การที่ผู้เสียหายจะมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจัดการแทนย่อมอาจทำได้ โดยอาศัย ม.๑๕ ป.วิ.อาญาและ ม.๖๐ ป.วิ++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกา เห็นว่าตามฟ้อง คดีนี้ผู้เสียหายคือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม++ และ ป.วิ.อาญา ม.๕(๓) บังคับว่า บุคคลที่จะฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือ ++การหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้น ๆ ซึ่งคดีนี้ได้แก่ ร.ต.อำพันธ์ และ ไม่มีกฎหมายใดว่า ในคดีอาญาให้++มอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนได้อีก ดังนี้ ร.ต.อำพันธ์ก็ไม่มีสิทธิ จะมอบอำนาจ ให้นายเจี++แทนในคดีนี้ได้ กรณีเช่นนี้จะยก ป.วิ.แพ่ง อนุโลมมาใช้ย่อมไม่ได้ พิพากษายืน.

Share