คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้ายต้องเป็นเรื่องความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าศาลอุทธรณ์ภาค3ได้วินิจฉัยในตอนแรกว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กระทำผิดฐานพยายามฆ่าแม้หลังจากผู้เสียหายถูกตีที่ศีรษะและถูกแทงที่ไหล่และหลังแล้วผู้เสียหายได้วิ่งออกจากที่เกิดเหตุจำเลยที่1ถือมีดวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปก็เป็นเหตุการณ์คนละตอนกับความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังนั้นข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าจำเลยที่1มีความผิดฐานพยายามทำร้ายจึงเป็นการ พิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในคำฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคแรก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 พา อาวุธ มีดปลายแหลม ยาว ประมาณ 20 นิ้วติดตัว เข้า ไป ใน บริเวณ วัด เจริญสุขาราม ซึ่ง เป็น ที่ ชุมนุม ชน ที่ ได้ จัด ให้ มี ขึ้น เพื่อ นมัสการ และ การ รื่นเริง โดย ไม่มี เหตุอันสมควร และจำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน ใช้ มีดปลายแหลม ที่ จำเลย ที่ 1 พา ติดตัวไป ดังกล่าว และ มีดปลายแหลม ยาว ประมาณ 16 นิ้ว อีก 1 เล่มเป็น อาวุธ รุม ฟัน แทง นาย มนัส หรือ ป๊อบ อยู่ตระกูล ผู้เสียหาย ถูก ที่ บริเวณ ศีรษะ ไหล่ และ หลัง โดย เจตนาฆ่า แต่ การกระทำ ไม่บรรลุผลเนื่องจาก ผู้เสียหาย วิ่ง หลบหนี ไป ได้ ทัน และ มี เจ้าพนักงาน ตำรวจเข้า ขัดขวาง ไว้ เสีย ก่อน ผู้เสียหาย จึง ไม่ถึง แก่ ความตาย ขอให้ ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, 80, 83, 91 ริบ มีดปลาย แหลม ของกลาง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80, 83, 371, 91 ลงโทษ ฐาน ร่วมกัน พยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐาน พา อาวุธ ติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดย ไม่มี เหตุอันควร ปรับ 90 บาท รวม จำคุก 10 ปี ปรับ 90 บาท คำให้การชั้นสอบสวน และ ข้อ นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา อันเป็น เหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สามคง จำคุก 6 ปี 8 เดือน ปรับ 60 บาท ไม่ชำระ ค่าปรับ จัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ริบ มีดปลายแหลม ยาวรวมทั้ง ด้าม 20 นิ้ว 1 เล่ม ของกลาง คำขอ อื่น ให้ยก และ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 80 ให้ จำคุก 9 เดือน ทางนำสืบของ จำเลย ที่ 1 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก6 เดือน เมื่อ รวมกับ โทษ ใน ความผิด ฐาน พา อาวุธ ติดตัว ไป ใน เมืองหมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่มี เหตุอันควร ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แล้วเป็น จำคุก 6 เดือน ปรับ 60 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง นาย มนัส อยู่ตระกูล ผู้เสียหาย ถูก คนร้าย ใช้ ขวด ตี ศีรษะ และ ใช้ มีด แทง ที่ หลัง เป็นเหตุให้ ผู้เสียหาย ได้รับ อันตรายแก่กาย มี ปัญหา เห็นสมควร วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ประการ แรก ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1ใน ข้อหา พยายามฆ่า หรือไม่ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า พนักงานสอบสวน ได้แจ้ง ข้อหา พยายามฆ่าผู้อื่น แก่ จำเลย ทั้ง สอง และ ถือได้ว่า พนักงานสอบสวนได้ สอบสวน ความผิด ใน ข้อหา นี้ แล้ว โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องคดี นี้ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 มี ว่าการ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ฐาน พยายามทำร้าย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 80 เป็น การ พิพากษาหรือ สั่ง เกินคำขอ หรือ ที่ มิได้ กล่าว ใน คำฟ้อง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก หรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ใน ตอนแรก ว่า โจทก์ ไม่มี ประจักษ์พยานเบิกความ ยืนยัน ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น คน ที่ ทำร้าย ผู้เสียหาย อีก ทั้งเสื้อผ้า และ อาวุธ มีด ของ จำเลย ที่ 1 ไม่มี รอย โลหิต ติด อยู่ และข้อเท็จจริง ไม่ ปรากฎ ว่า ขณะที่ ผู้เสียหาย ถูก ทำร้าย จำเลย ที่ 1ร่วม ทำร้าย ผู้เสียหาย หรือ ขัดขวาง มิให้ ผู้เสียหาย หลบหนี จำเลย ที่ 1ให้การ ปฏิเสธ โดย ตลอด ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำผิด ฐานพยายามฆ่า เห็นว่า คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ใน ส่วน นี้ ได้วินิจฉัย ข้อหา ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ที่ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกันใช้ มีดปลายแหลม เป็น อาวุธ รุม ฟัน แทง ผู้เสียหาย ถูก ที่ บริเวณ ศีรษะไหล่ และ หลัง โดย เจตนาฆ่า แต่ การกระทำ ไม่บรรลุผล เนื่องจากผู้เสียหาย หลบหนี ไป ได้ ทัน และ มี เจ้าพนักงาน พบ เห็น การกระทำของ จำเลย และ เข้า ขัดขวาง ไว้ เสีย ก่อน ผู้เสียหาย จึง ไม่ถึง แก่ความตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย เพียงแต่ ได้รับ อันตรายแก่กาย ตามผล การ ตรวจ บาดแผล ของ แพทย์ ท้ายฟ้อง แล้ว ดังนั้น การ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย ต่อไป อีก ว่า แต่ จาก คำเบิกความ ของ ผู้เสียหายนาย สุพจน์ นาย ดาบตำรวจ สุรินทร์ และ สิบตำรวจเอก วิชัย ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ถือ อาวุธ มีด ยาว ประมาณ 20 นิ้ว ไล่ ตามผู้เสียหาย หลังจาก ผู้เสียหาย วิ่ง หลบหนี จาก ที่เกิดเหตุ การกระทำของ จำเลย ที่ 1 ใกล้ชิด ต่อ ผล แห่ง การ ทำร้าย ถือว่า เป็น การ ลงมือกระทำ ความผิด แล้ว แต่ กระทำ ไป ไม่ตลอด เพราะ ผู้เสียหาย วิ่ง เร็วจำเลย ไล่ ไม่ ทัน แม้ จะ ทำร้าย ไม่สำเร็จ ก็ ต้อง มี ความผิด ฐานพยายาม ทำร้าย ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ตาม ข้อเท็จจริงที่ พิจารณา ได้ความ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้าย นั้น เห็นว่า กรณี ตาม มาตรา 192 วรรคท้าย ต้อง เป็น เรื่องความผิด ตาม ที่ ฟ้อง นั้น รวม การกระทำ หลาย อย่าง แต่ละ อย่าง อาจ เป็นความผิด ได้ อยู่ ใน ตัวเอง ศาล ลงโทษ จำเลย ใน การกระทำ ผิดอย่างหนึ่ง อย่างใด ตาม ที่ พิจารณา ได้ความ ก็ ได้ แต่ ข้อเท็จจริง ใน คดี นี้ได้ความ ว่า หลังจาก ผู้เสียหาย ถูก ตี ที่ ศีรษะ และ ถูก แทง ที่ ไหล่ และ หลังแล้ว ผู้เสียหาย ได้ วิ่ง ออกจาก ที่เกิดเหตุ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ถือ มีดวิ่ง ไล่ ตาม ผู้เสียหาย ไป นั้น เป็นเหตุ การณ์ คน ละ ตอน กับ ความผิดตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย แล้ว ว่า ข้อเท็จจริงฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำผิด ดังนั้น ข้อ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ฐาน พยายาม ทำร้าย จึง เป็น การพิพากษา เกินคำขอ หรือ ที่ มิได้ กล่าว ใน คำฟ้อง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังขึ้น ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ข้อ อื่น ของ จำเลยที่ 1 อีก ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295, 80 เสีย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share