คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นพนักงานของโจทก์โดยมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่1ขณะปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่1ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรงคิดเป็นเงินจำนวน349,494.55บาทจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1เป็นทนายความว่าความให้โจทก์จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่1เป็นตัวแทนเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420,448ไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้วฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่1ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตามหากจะประนีประนอมยอมความแล้วให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนแล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้งซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่างๆในสังกัดโจทก์ทราบและได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปีสามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่1ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดทั้งก่อนวันที่จำเลยที่1ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่1ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่1ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่1มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่1เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไปการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาการที่จำเลยที่1รู้ว่าจำเลยที่1ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ชำระเงินแก่โจทก์หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่1ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นๆแก่จำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90แต่อย่างใดและโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่1ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่3ในเวลาที่จำเลยที่1เบิกความแล้วเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้มีมูลหนี้ที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์จริงอันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้นนับว่าชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงานของ โจทก์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และ ทำ หน้าที่ เป็น ทนายความ ใน คดี ของ โจทก์จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ผู้ค้ำประกัน การ เข้า ทำงาน ของ จำเลย ที่ 1เมื่อ พ.ศ. 2512 โจทก์ ฟ้อง บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก รวม 3 คน ขอให้ ชำระ ค่า กระแส ไฟฟ้า ฯลฯ และ ได้ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ โดย บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก ยอม ชำระ เงิน จำนวน 477,280.75 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 25 สิงหาคม 2512 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จรวมทั้ง ค่าฤชาธรรมเนียม ที่ ศาล ไม่ สั่ง คืน กับ ค่า ทนายความ 500 บาทแก่ โจทก์ โดย ผ่อนชำระ ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 130/2512ของ ศาลชั้นต้น ต่อมา บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก ไม่ชำระ หนี้ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ โจทก์ จึง บังคับคดี โดย มีจำเลย ที่ 1 เป็น ทนายความ เมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลย ที่ 1ได้ ตกลง กับ บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก ว่า ให้ ชำระ เงิน ให้ โจทก์ เพียง 477,280.75 บาท พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียม ที่ ศาล ไม่ สั่งคืน กับ ค่า ทนายความ อีก 500 บาท เมื่อ โจทก์ ได้รับ เงิน ครบถ้วน แล้วจะ ถอน การ ยึดทรัพย์ ทั้งหมด การ ที่ จำเลย ที่ 1 ตกลง ดังกล่าว เป็นการกระทำ ไป โดย ลำพัง มิได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์ หรือ ได้รับ มอบอำนาจจาก โจทก์ ให้ ตกลง เช่นนั้น อันเป็น ความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรงใน การปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ โจทก์ เสียหาย ไม่ได้ รับ ดอกเบี้ย คิด เป็น เงิน349,494.55 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1รับผิด ต่อ โจทก์ ด้วย ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ว่าจะ ใช้ เงิน จำนวน 349,494.55 บาท ให้ โจทก์ โดย ปราศจาก เงื่อนไขวิธีการ ชำระ แล้วแต่ โจทก์ จะ กำหนด ซึ่ง ต่อมา โจทก์ ได้ บอกกล่าว ให้จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แต่ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉยขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 349,494.55 บาทพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้รับ แต่งตั้ง จาก โจทก์ให้ เป็น ทนายความ มีอำนาจ ประนีประนอม ยอมความ ได้ จำเลย ที่ 1 ได้ ตกลงไป ด้วย ความ บริสุทธิ์ใจ มิได้ ประมาท เลินเล่อ โจทก์ ไม่เสีย หายจึง ไม่มี อะไร ต้อง รับสภาพหนี้ จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ ดังกล่าว ขึ้นโดย หลงผิด ใน กลอุบาย หลอกลวง ของ ผู้อื่น จึง ไม่มี ผล ผูกพัน จำเลย ที่ 1โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เกินกว่า 1 ปี นับแต่ วันที่ จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1ตาม ฟ้อง ได้รับ มอบอำนาจ จาก โจทก์ ตาม ใบแต่งทนายความ มิใช่ เป็น การประมาท เลินเล่อ ร้ายแรง จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์โจทก์ มี ส่วน ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง มาก กว่า จำเลย ที่ 1 เพราะไม่ ดำเนินการ บังคับคดี ใน เวลา อันควร ความเสียหาย ที่ จำเลย ที่ 2ต้อง รับผิดชอบ ไม่เกิน 1,000 บาท ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ตกลง กับ บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก เป็น การกระทำ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ไม่ได้ กระทำ โดย ความประมาท เลินเล่อ หาก จำเลย ที่ 1 ทำให้ โจทก์ เสียหายก็ ถือว่า ความเสียหาย นั้น เกิดจาก โจทก์ เอง เพราะ โจทก์ ได้ มอบอำนาจใน ทาง จำหน่าย สิทธิ ของ โจทก์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว จำเลย ที่ 3ไม่ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ หนังสือ รับสภาพหนี้ ไม่มี ผล ผูกพัน เพราะหนี้ มิได้ มี อยู่ หรือ เกิดขึ้น จาก การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และ ขาดอายุความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 2 ถึงแก่กรรม โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้เรียก นาง คนึงเนตร พรหมเลิศ ภริยา ของ จำเลย ที่ 2 เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นพนักงาน ตำแหน่ง นิติกร ของ โจทก์ ตาม คำสั่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 14 โดย มี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ผู้ค้ำประกันตาม เอกสาร หมาย จ. 13 โจทก์ ได้ แต่งตั้ง จำเลย ที่ 1 เป็น ทนายความชั้น บังคับคดี ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 130/2512 ของ ศาลชั้นต้นตาม เอกสาร หมาย ล. 1 เมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลย ที่ 1กับ จำเลย คดี ดังกล่าว ได้ ตกลง กัน ว่า ให้ จำเลย คดี ดังกล่าว ชำระ ต้นเงินพร้อม ทั้ง ค่าฤชาธรรมเนียม และ ค่า ทนายความ แก่ โจทก์ โดย ไม่ คิด ดอกเบี้ยแล้ว โจทก์ จะ ถอน การ ยึดทรัพย์ ที่ ได้ ยึด ไว้ นั้น ตาม เอกสาร หมาย ล. 7จำเลย คดี ดังกล่าว ได้ ชำระหนี้ ตาม ข้อตกลง นั้น แล้ว ได้ มี การ ถอน การยึดทรัพย์ ที่ โจทก์ ได้ ยึด ไว้ นั้น ต่อมา โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ดำเนินการบังคับคดี ใน ส่วน ดอกเบี้ย อีก จำนวน 349,494.55 บาท จำเลย ที่ 1ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ จำเลย คดี ดังกล่าว ชำระ ดอกเบี้ยจำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง จำเลย ที่ 1อุทธรณ์ คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม เอกสาร หมาย ล. 10 และ ล. 11ต่อมา โจทก์ ตั้ง กรรมการ สอบสวน จำเลย ที่ 1 กล่าวหา ว่า จำเลย ที่ 1ตกลง หรือ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย คดี ดังกล่าว โดย ไม่ได้ รับอนุญาต จาก ผู้ว่าการ ของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 และ วันที่ 21กรกฎาคม 2523 จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2แก่ โจทก์ โจทก์ ได้ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชำระหนี้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3ถึง จ. 8 และ ภายหลัง โจทก์ ได้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 โดย ไล่ออก ตาม คำสั่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เอกสาร หมาย ล. 13
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้นฎีกา ประการ แรก มี ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม หรือไม่ จำเลย ที่ 3 กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะ คำ บรรยาย ใน ฟ้อง เป็น การ ขัดแย้ง กัน ใน ตัว เห็นว่าฟ้องโจทก์ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน ของ โจทก์ โดย มี จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 เป็น ผู้ค้ำประกัน ความเสียหาย ของ จำเลย ที่ 1 ขณะ ปฏิบัติหน้าที่ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หน้าที่ โดย ลำพัง มิได้ รับ อนุญาต หรือ ได้รับมอบหมาย จาก โจทก์ อันเป็น ความประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ เสียหายอย่างร้ายแรง คิด เป็น เงิน จำนวน 349,494.55 บาท จำเลย ที่ 1 จึง ได้ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ว่า จะ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ โจทก์ แต่ จำเลยที่ 1 ก็ ไม่ชำระ ให้ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าวให้ โจทก์ จึง ถือว่า ฟ้องโจทก์ ได้ แสดง โดยชัดแจ้ง ซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและ คำขอบังคับ อีก ทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหา เป็น คำฟ้อง ที่ ขัด กันเอง ดัง ที่ จำเลย ที่ 3 อ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ไม่ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม
ประการ ที่ สอง คดี โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่ จำเลย ที่ 3กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ ละเมิด หนึ่ง ปี แล้วเห็นว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ทนายความ ว่าความ ให้ โจทก์ จึง ถือว่า โจทก์เป็น ตัวการ และ จำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน เมื่อ โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1รับผิด ฐานะ เป็น ตัวแทน กระทำการ โดยประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ ผู้เป็นตัวการ เสียหาย ซึ่ง มิได้ มี บทบัญญัติ อายุความ ไว้ โดยเฉพาะ แล้วย่อม มี อายุความ ฟ้องร้อง สิบ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่ แก้ไข ใหม่ ) หาใช่ เป็น กรณี ละเมิดที่ ต้อง ใช้ อายุความ หนึ่ง ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420, 448 ดัง ที่ จำเลย ที่ 3 กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ไม่ เมื่อโจทก์ ฟ้องคดี ภายใน สิบ ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ
ประการ ที่ สาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 เกิดขึ้นเพราะ โจทก์ ใช้ อุบาย หลอกลวง ให้ จำเลย ที่ 1 ทำ ขึ้น โดย ปราศจาก มูลหนี้อัน พึง อ้าง ได้ โดยชอบ หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า เมื่อ โจทก์ ได้ ทำ บันทึกวิธี ปฏิบัติ ใน การ ประนีประนอม ยอมความ ทาง ศาล เอกสาร หมาย จ. 9 และจ. 10 ไป ยัง หน่วยงาน ที่ จำเลย ที่ 1 ทำงาน อยู่ ว่า ทนายความ ต้อง เสนอขออนุมัติ ต่อ ผู้ว่าการ ของ โจทก์ ก่อน ทำการ ประนีประนอม ยอมความ ทุกครั้งจำเลย ที่ 1 ก็ ต้อง ปฏิบัติ ตาม โดย เคร่งครัด เมื่อ จำเลย ที่ 1 ทำการประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ใน คดี ที่ โจทก์ บังคับคดี แก่ บริษัท เหมืองแร่ทวีทรัพย์ จำกัด กับพวก เป็น จำเลย โดย จำเลย ที่ 1ไม่ ขออนุมัติ จาก ผู้ว่าการ ของ โจทก์ ก่อน จน โจทก์ ไม่อาจ เรียก ดอกเบี้ยจำนวน 349,494.55 บาท จาก จำเลย คดี ดังกล่าว ได้ ย่อม ถือว่า จำเลย ที่ 1ปฏิบัติ หน้าที่ โดยประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายอย่างร้ายแรง และ เมื่อ จำเลย ที่ 1 รู้ ว่า กระทำ โดยประมาท เลินเล่อทำให้ โจทก์ เสียหาย แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ตามเอกสาร หมาย จ. 2 ชำระ เงิน จำนวน 349,494.55 บาท แก่ โจทก์ โดย สมัครใจจำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิด ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ โจทก์ เห็นว่าเมื่อ โจทก์ ได้ ทำ บันทึก วิธี ปฏิบัติ ใน การ ประนีประนอม ยอมความ ทาง ศาลให้ นิติกร หรือ ทนายความ ของ โจทก์ ทราบ เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2516ตาม เอกสาร หมาย จ. 9 ก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน ของ โจทก์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2519 ซึ่ง ได้รับ การ บรรจุ และ แต่งตั้ง เป็น นิติกร ของโจทก์ เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2519 ตาม คำสั่ง จ้าง และ คำสั่ง บรรจุและ แต่งตั้ง เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 14 ว่า แม้ ทนายความ ซึ่ง ได้ แต่งตั้งโดย ให้ มีอำนาจ ให้ ทำการ ประนีประนอม ยอมความ ได้ ก็ ตาม หาก จะ ประนีประนอมยอมความ แล้ว ให้ ทนายความ เสนอ ความเห็น พร้อม ด้วย รายละเอียด ใน เรื่องที่ จะ ประนีประนอม ยอมความ ต่อ ผู้ได้รับ แต่งตั้ง เป็น ตัวแทน แล้ว ให้ผู้ได้รับ แต่งตั้ง เป็น ตัวแทน เสนอ ขออนุมัติ ต่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ ก่อน ทุกครั้ง ได้ความ จาก นาย วีระ ปิตรชาติ ผู้ว่าการ โจทก์ ยืนยัน ว่า บันทึก วิธี ปฏิบัติ ตาม เอกสาร จ. 9 ได้ เวียนไป ให้ หน่วยงานต่าง ๆ ใน สังกัด โจทก์ ทราบ แล้ว นาย ชาญ ศิระศุภะ ผู้อำนวยการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาค 4 จังหวัด นครศรีธรรมราช และนาย อักษร สินธุประมา รองผู้ว่าการ โจทก์ ต่าง เบิกความ ยืนยัน ว่า ระเบียบ และ คำสั่ง ต่าง ๆ รวมทั้ง เอกสาร หมาย จ. 9 ได้ รวบรวม ไว้ เป็นเล่ม แต่ละ ปี สามารถ ตรวจสอบ ได้ ง่าย และ นิติกร ทุกคน ได้ ทราบ วิธี ปฏิบัติตาม เอกสาร หมาย จ. 9 แล้ว จึง ต้อง ถือว่า จำเลย ที่ 1 ทราบ และ ต้อง ปฏิบัติตาม โดย เคร่งครัด ทั้ง เมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2522 ก่อน วันที่จำเลย ที่ 1 ทำการ ตกลง หรือ ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ใน คดี ดังกล่าวเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2522 นั้น โจทก์ ก็ ได้ ย้ำ ปรับ ความ เข้าใจเกี่ยวกับ วิธี ปฏิบัติ ใน การ ตกลง หรือ ประนีประนอม ยอมความ ทาง ศาลให้ ทนายความ ของ โจทก์ ซึ่ง รวมทั้ง จำเลย ที่ 1 ด้วย ให้ ถือ ปฏิบัติโดย เคร่งครัด ตาม เอกสาร หมาย จ. 10 อีก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ทำการประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ใน คดี ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์2522 โดย มิได้ เสนอ ความเห็น พร้อม ด้วย รายละเอียด ใน เรื่อง ที่ จะ ตกลงหรือ ประนีประนอม ยอมความ ต่อ นาย อภิชาติ อัครกุล ผู้รับมอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี เพื่อ ขออนุมัติ ต่อ โจทก์ ย่อม ถือว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ ปฏิบัติตาม คำสั่ง ของ โจทก์ เกี่ยวกับ วิธี ปฏิบัติ ใน การ ตกลง หรือ ประนีประนอมยอมความ ทาง ศาล อันเป็น ความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง จำเลย ที่ 1จะ อ้าง เพียง ว่า เมื่อ ใน ใบแต่งทนายความ เอกสาร หมาย ล. 1 ให้ จำเลย ที่ 1มีอำนาจ ประนีประนอม ยอมความ ได้ แล้ว จำเลย ที่ 1 ย่อม มีอำนาจ ทำการตกลง หรือ ประนีประนอม ยอมความ ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 เห็นสมควร โดย พลการหาได้ไม่ เพราะ ใน บันทึก เอกสาร หมาย จ. 9 และ จ. 10 ระบุ ไว้ ชัดแจ้งว่า แม้ มี การ มอบอำนาจ ให้ นิติกร หรือ ทนายความ ประนีประนอม ยอมความได้ ก็ ตาม ก็ ให้ นิติกร หรือ ทนายความ เสนอ ขออนุมัติ ต่อ โจทก์ ทุกครั้ง ไปการกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง เป็น การกระทำ โดยประมาท เลินเล่อ ทำให้โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย อย่างร้ายแรง เพราะ ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถเรียก ดอกเบี้ย จำนวน 349,494.55 บาท ที่ จำเลย ใน คดี ดังกล่าว ต้อง ชำระให้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 รู้ ว่า จำเลย ที่ 1ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย แล้ว จำเลย ที่ 1 จึง ได้ ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ชำระ เงิน จำนวน 349,494.55 บาท แก่ โจทก์ ตาม เอกสารหมาย จ. 2 หนังสือ รับสภาพหนี้ ดังกล่าว จึง มีผล ใช้ บังคับ ได้ โดย สมบูรณ์ที่ จำเลย ที่ 3 อ้างว่า จำเลย ที่ 1 ถูก โจทก์ หลอกลวง ให้ ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ เอกสาร หมาย จ. 2 นั้น ก็ มี เพียง จำเลย ที่ 1 เท่านั้นเบิกความ ว่า ถูก นาย วรกิตติ์ ทองนพเนื้อ กรรมการ สอบสวน ของ โจทก์ บอก ว่า หาก จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ชำระ เงิน ที่ ขาด แล้วโจทก์ คง ให้ ทำงาน ต่อไป โดย หักเงิน เดือน ชำระ แต่เมื่อ ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ แล้ว โจทก์ กลับ ให้ ชำระ ทั้งหมด ทันที นั้น ก็ เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ทั้ง มิได้ นำ นาย วรกิตติ์ ทองนพเนื้อ มา เบิกความ สนับสนุน ให้ เห็นว่า เป็น ความจริง ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 เบิกความ ข้อต่อสู้ ของจำเลย ที่ 3 ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ ประมาท เลินเล่อ และหนังสือ รับสภาพหนี้ เอกสาร หมาย จ. 2 ไม่มี ผล ใช้ บังคับ ได้ นั้นจึง ฟังไม่ขึ้น ที่ จำเลย ที่ 3 แก้ ฎีกา ว่า โจทก์ มิได้ ส่ง สำเนา เอกสารหมาย จ. 9 และ จ. 10 ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 และ มิได้ ถาม ค้านพยาน จำเลย ที่ 3ไว้ ก่อน จึง ต้องห้าม มิให้ รับฟัง เป็น พยานหลักฐาน ทั้ง การ ที่ โจทก์นำสืบ พยานเอกสาร ดังกล่าว โดย อ้างว่า การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การฝ่าฝืน ระเบียบ นั้น เป็น การ นำสืบ นอกฟ้อง นอกประเด็น เห็นว่า คดี นี้โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 รับผิด ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้เอกสาร หมาย จ. 2 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ดังนั้น เอกสาร หมาย จ. 9 และ จ. 10 จึง มิใช่ เป็น พยานหลักฐานอัน เกี่ยวกับ ประเด็น โดยตรง ใน คดี ซึ่ง โจทก์ จะ ต้อง ส่ง สำเนา เอกสาร นั้น ๆแก่ จำเลย ที่ 3 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90แต่อย่างใด และ โจทก์ ได้ ส่ง สำเนา เอกสาร ดังกล่าว ต่อ ศาลชั้นต้นประกอบ ถาม ค้าน จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น พยาน จำเลย ที่ 3 ใน เวลา ที่จำเลย ที่ 1 เบิกความ แล้ว เอกสาร หมาย จ. 9 และ จ. 10 จึง ไม่ต้องห้ามมิให้ รับฟัง เป็น พยานหลักฐาน นอกจาก นั้น การ ที่ โจทก์ นำสืบ เอกสารดังกล่าว ก็ เพื่อ พิสูจน์ ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำผิด หน้าที่โดย ฝ่าฝืน คำสั่ง ของ โจทก์ เป็นเหตุ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายซึ่ง ถือว่า จำเลย ที่ 1 ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง จำเลย ที่ 1จึง ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ยอม ชดใช้ ค่าเสียหายดังกล่าว แก่ โจทก์ เช่นนี้ เท่ากับ เป็น การ นำสืบ ว่า หนังสือ รับสภาพหนี้ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 มีมูล หนี้ ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จริงอันเป็น ประเด็น โดยตรง ใน คดี ตาม ฟ้องโจทก์ หาใช่ เป็น การ นำสืบ นอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน จำเลย ที่ 1จึง ต้อง รับผิด ตาม หนังสือ รับสภาพหนี้ ต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง
ประการ ที่ สี่ จำเลย ทั้ง สาม ต้อง รับผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ เพียงใดเมื่อ ได้ วินิจฉัย ใน ประการ ที่ สาม แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ตาม จำนวน ใน หนังสือ รับสภาพหนี้ เอกสาร หมาย จ. 2 แก่ โจทก์ แล้วจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ ตามหนังสือ ค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ. 13 ก็ ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง ด้วย
ประการ ที่ ห้า การ ที่ ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ทั้ง สาม มี หน้าที่ นำสืบก่อน ใน ทุก ประเด็น ชอบ หรือไม่ จำเลย ที่ 3 กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ว่าประเด็น ข้อ 3 เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ประเด็น ข้อ 4 อันเป็น ประเด็น สำคัญหน้าที่ นำสืบ ก่อน ทุก ประเด็น จึง ต้อง ตก แก่ โจทก์ เห็นว่า เมื่อ ประเด็นข้อ 3 เป็น ประเด็น สาระสำคัญ แห่ง คดี โดยตรง ซึ่ง ภาระ การ พิสูจน์ตก แก่ จำเลย ทั้ง สาม แล้ว การ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลย ทั้ง สามมี หน้าที่ นำสืบ ก่อน ใน ประเด็น ข้อ นี้ และ เพื่อ มิให้ คดี ล่าช้า จึง ให้จำเลย ทั้ง สาม นำสืบ ก่อน ใน ทุก ประเด็น ข้อ อื่น ด้วย นั้น นับ ว่า ชอบแล้วข้อ คัดค้าน ของ จำเลย ที่ 3 ที่ กล่าวอ้าง ใน คำ แก้ ฎีกา ฟังไม่ขึ้น
พิพากษากลับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 349,494.55บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์

Share