แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยทั้งหกเคยฟ้องฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์แม้โจทก์จะให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์เลิกจ้างจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินจ้างของโจทก์สูญหายไปประเด็นต้องวินิจฉัยในคดีก่อนก็มีเพียงว่าจำเลยทั้งหกฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นได้เพียงใดหรือไม่ไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งหกต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปให้โจทก์เพียงใดหรือไม่การที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยทั้งหกโดยจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิดจำเลยทั้งหกไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปดังที่โจทก์ให้การต่อสู้คดีในคดีก่อน คำพิพากษาดังกล่าวย่อม ผูกพันโจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกโดยอ้างว่าจำเลยทั้งหกกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง หก เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ตำแหน่ง พนักงานคลัง พัสดุ ฝ่าย วิศวกรรม ข่าย งาน 2 มี หน้าที่ รับผิดชอบ ร่วมกัน ใน การควบคุม ดูแล รักษา สินค้า ต่าง ๆ ที่ เก็บ ไว้ ใน คลัง พัสดุ ตลอดจน ควบคุมดูแล การ รับ การ เบิกจ่าย สินค้า ดังกล่าว ออกจาก คลัง มี จำเลย ที่ 1เป็น หัวหน้าแผนก คลัง พัสดุ เมื่อ ประมาณ ปลาย ปี 2535 จำเลย ที่ 1แจ้ง โจทก์ ว่า สินค้า ใน คลัง พัสดุ ที่ จำเลย ทั้ง หก มี หน้าที่ ดูแล สูญหาย ไปจำนวน มาก โจทก์ ส่ง เจ้าหน้าที่ ไป ตรวจสอบ ต่อมา วันที่ 15 มีนาคม2536 โจทก์ จึง ทราบ ว่า สินค้า ใน คลัง พัสดุ สูญหาย ไป คิด เป็น เงินทั้งสิ้น 5,621,315.14 บาท ซึ่ง เกิดจาก การ ที่ จำเลย ทั้ง หก บกพร่องต่อหน้า ที่ ใน ฐานะ ที่ เป็น ผู้ควบคุม และ รับผิดชอบ ร่วมกัน ใน การ ดูแลรักษา สินค้า ใน คลังสินค้า อันเป็น การ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อใน การ ปฏิบัติงาน ทำให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ อย่างร้ายแรงโจทก์ ได้ เรียกร้อง ให้ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน รับผิดชอบ ใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง หก เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายคิด เป็น เงิน 5,621,315.14 บาท โจทก์ จึง เลิกจ้าง จำเลย ทั้ง หก และทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง หก ชำระหนี้ แล้ว จำเลย ทั้ง หก จึง ต้อง ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2536 คิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงินดอกเบี้ย 421,598 บาท รวมกับ เงินต้น เป็น จำนวนเงิน ค่าเสียหายทั้งสิ้น 6,042,913.14 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย จำนวน 6,042,913.14 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน 5,621,315.14 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น มา จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม เพราะ ไม่ได้บรรยาย ว่า จำเลย ทั้ง หก หรือ ผู้หนึ่ง ผู้ใด กระทำ ละเมิด โดย จงใจ หรือประมาท เลินเล่อ อย่างใด บ้าง ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ 1 ปี ใน ข้อหาหรือ ฐาน ความผิด เรื่อง ละเมิด แล้ว เพราะ ความจริง โจทก์ ทราบ มูล กระทำความผิด ใน เรื่อง สินค้า สูญหาย ตั้งแต่ กลาง ปี 2535 ถึง ปลาย ปี 2535และ ฟ้อง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ซ้ำ และ เป็นการ ฟ้องซ้ำ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148 ตามลำดับ โดย โจทก์ และ จำเลย ใน คดี นี้ เป็น คู่ความราย เดียว กัน และ ประเด็น แห่ง คดี ก็ เหมือนกับ คดี ของ ศาลแรงงานกลาง หมายเลขแดง ที่ 4360/2536 กับ คดี หมายเลขแดง ที่ 7349-7353/2536 ซึ่ง คดี แรกศาลแรงงานกลาง และ ศาลฎีกา มี คำพิพากษา แล้ว ว่า จำเลย ใน คดี นี้ มิได้ จงใจหรือ ประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ส่วน คดี หลังศาลแรงงานกลาง พิพากษา แล้ว ใน ทำนอง เดียว กัน แต่ ศาลฎีกา ยัง ไม่ได้มี คำพิพากษา จำเลย ทั้ง หก มิได้ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย แต่ ประการใด โดย ได้ ตั้งใจ ทำงาน ให้ โจทก์ ด้วยความ ซื่อสัตย์ สุจริต และ ใช้ ความระมัดระวัง ตาม หน้าที่ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ใน วันนัด พิจารณา และ สืบพยานโจทก์ ศาลแรงงานกลาง เห็นว่า จากคำแถลง ของ คู่ความ และ คำพิพากษา ศาลฎีกา ใน สำนวน คดี หมายเลขแดง4360/2536 และ คดี หมายเลขแดง ที่ 7349-7353/2536 ตาม สำเนา คำพิพากษาศาลฎีกา เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 2 ข้อเท็จจริง พอ วินิจฉัย ได้ แล้วให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ พยาน จำเลย และ วินิจฉัย ว่า คดี นี้ กับ คดี ก่อน คือคดี หมายเลขแดง ที่ 4360/2536 และ คดี หมายเลขแดง ที่ 7349-7353/2536ของ ศาลแรงงานกลาง มี คู่ความ ราย เดียว กัน ประเด็น แห่ง คดี เหมือนกันและ ศาลฎีกา มี คำพิพากษา คดี ก่อน ถึงที่สุด แล้ว คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน ดังกล่าว ไม่จำต้อง วินิจฉัย ประเด็น อื่น อีก ต่อไปพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “โจทก์ อุทธรณ์ ว่าคดี นี้ไม่เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน คือ คดี หมายเลขแดง ที่ 4360/2536 และคดี หมายเลขแดง ที่ 7349-7353/2536 ของ ศาลแรงงานกลาง พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดี ก่อน ดังกล่าว จำเลย ทั้ง หก ใน คดี นี้ (โจทก์ ทั้ง หกใน คดี ก่อน ) ฟ้อง เรียก ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าและ เงิน จำนวน อื่น จาก โจทก์ ใน คดี นี้ (จำเลย ใน คดี ก่อน ) กล่าวอ้าง ว่าโจทก์ เลิก จำเลย ทั้ง หก โดย จำเลย ทั้ง หก ไม่ได้ กระทำผิด แม้ โจทก์ จะให้การ ต่อสู้ คดี ใน คดี นั้น ว่า โจทก์ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ จำเลย ทั้ง หก เพราะโจทก์ เลิกจ้าง จำเลย ทั้ง หก เนื่องจาก จำเลย ทั้ง หก กระทำผิด โดยจงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ทำให้ สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป 5,621,315.14บาท ประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ใน คดี ก่อน ก็ มี เพียง ว่า จำเลย ทั้ง หกฟ้อง เรียก ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ เงิน จำนวนอื่น จาก โจทก์ ได้ ดัง ฟ้อง ของ จำเลย ทั้ง หก เพียงใด หรือไม่ แต่ ไม่มีประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ใน คดี ก่อน ว่า จำเลย ทั้ง หก ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ที่ ทำให้ สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป ให้ โจทก์ เพียงใด หรือไม่การ ที่ โจทก์ มา ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ทั้ง หก ใน คดี นี้โดย กล่าวอ้าง ว่า จำเลย ทั้ง หก ได้ กระทำ ละเมิด โดย จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ ทำให้ สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป 5,621,315.14 บาท คดี นี้จึง มี ประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง หก ได้ กระทำ ละเมิด ต้องชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ดัง ฟ้อง ของ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ซึ่ง ไม่ใช่ ประเด็น ที่ ศาล จะ ต้อง วินิจฉัย ใน คดี ก่อน คดี นี้ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน แต่ เนื่องจาก ใน คดี ก่อน ได้ มี คำพิพากษาของ ศาลฎีกา อัน ถึงที่สุด แล้ว ว่า โจทก์ ใน คดี นี้ ได้ เลิกจ้าง จำเลย ทั้งหก ใน คดี นี้ โดย จำเลย ทั้ง หก ไม่ได้ กระทำผิด จำเลย ทั้ง หก ไม่ได้ จงใจหรือ ประมาท เลินเล่อ ทำให้ สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป ดัง ที่ โจทก์ให้การ ต่อสู้ คดี ใน คดี ก่อน คำพิพากษา ดังกล่าว ย่อม ผูกพัน โจทก์ ใน คดี นี้ว่า จำเลย ทั้ง หก ไม่ได้ กระทำ ละเมิด โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ทำให้สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป โจทก์ จึง กลับมา ฟ้องคดี นี้ เรียก ค่าเสียหายจาก จำเลย ทั้ง หก โดย อ้างว่า จำเลย ทั้ง หก กระทำ ละเมิด โดย จงใจ หรือประมาท เลินเล่อ ทำให้ สินค้า ของ โจทก์ สูญหาย ไป ไม่ได้ ทั้งนี้ตาม นัย บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145วรรคแรก ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้องศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน