แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและบริวารออกจากโกดังพิพาทไปแล้วเมื่อวันที่15มีนาคม2533จึงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คิดถึงวันที่14มีนาคม2535โจทก์ฎีกาว่าจำเลยและบริวารเพิ่งออกไปเมื่อวันที่19พฤษภาคม2535ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายระหว่างวันที่15มีนาคม2533ถึงวันที่14พฤษภาคม2535ด้วยคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวเมื่อค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้องจึงเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ด้วยไม่ได้ต้องถือว่าจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ตกลง เช่า โกดัง เก็บ ของ ไม่มี เลขที่ จาก โจทก์ทั้ง สอง โดย ไม่มี กำหนด ระยะเวลา การ เช่า ต่อมา จำเลย ไม่ชำระ ค่าเช่า16 เดือน เป็น เงิน 160,000 บาท โจทก์ บอกเลิก สัญญาเช่า แล้ว ขอให้จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก โกดัง ให้ จำเลย ชำระ ค่าเช่าที่ ค้าง จำนวน 160,000 บาท ค่าเสียหาย ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2532ถึง วันฟ้อง จำนวน 40,000 บาท และ ค่าเสียหาย เป็น รายเดือน เดือน ละ10,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สินและ บริวาร ออก ไป จาก โกดัง แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ ปี 2516 บิดา โจทก์ ที่ 1 ให้ จำเลย ใช้ประโยชน์ ใน โกดัง พิพาท โดย ไม่ คิด ค่าตอบแทน ภายหลัง จำเลย ตกลง จ่ายค่าตอบแทน ให้ อัตรา เดือน ละ 10,000 บาท เมื่อ ต้น ปี 2531 ทนายโจทก์ทั้ง สอง ขอ เลิกสัญญา เช่า แก่ จำเลย ให้ จำเลย ออกจาก โกดัง พิพาท ซึ่งขณะ นั้น จำเลย ได้ ออก ไป และ ไม่ได้ ใช้ ประโยชน์ ใน โกดัง พิพาท แล้วขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน พร้อม บริวาร ออก ไปจาก โกดัง พิพาท ตาม ฟ้อง ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย 40,000 บาท และ ให้ ใช้ค่าเสียหาย ต่อไป เดือน ละ 10,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง (18 พฤศจิกายน2532) เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน พร้อม บริวาร ออก ไปจาก โกดัง พิพาท คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ10,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 กันยายน 2532 ถึง วันที่ 14 มีนาคม 2533คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลยและ บริวาร ออกจาก โกดัง พิพาท ไป แล้ว เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2533 จึงให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ คิด ถึง วันที่ 14 มีนาคม 2533 โจทก์ฎีกา ว่า จำเลย และ บริวาร เพิ่ง ขนย้าย ออก ไป เสร็จสิ้น เมื่อ วันที่19 พฤษภาคม 2535 ขอให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย ระหว่าง วันที่ 15 มีนาคม2533 ถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ด้วย นั้น คดี จึง ไม่มี ประเด็นเรื่อง ขับไล่ ใน ชั้นฎีกา คง มี ปัญหา เฉพาะ เรื่อง ค่าเสียหาย เพียงอย่างเดียว โจทก์ ยื่นฟ้อง เมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2532 ค่าเสียหายที่ โจทก์ เรียกร้อง อันเป็น ข้อพิพาท ใน ชั้นฎีกา ดังกล่าว เป็น ค่าเสียหายหลัง วันฟ้อง จึง เป็น ค่าเสียหาย ใน อนาคต ซึ่ง จะ นำ มา ใช้ คำนวณ เป็นทุนทรัพย์ ด้วย ไม่ได้ ดังนั้น ต้อง ถือว่า จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาทกัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท คดี จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของ โจทก์ ทั้ง สอง ข้อ 2 ที่ อ้างว่า นาง ใส ชินพิมพ์ และ สามี เป็น บริวาร ของ จำเลย และ จำเลย เพิ่ง จะ ขนย้าย ออก ไป เสร็จสิ้น เมื่อ วันที่19 พฤษภาคม 2535 นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ต่าง จาก ที่ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ฎีกา ตาม บท กฎหมายที่ กล่าว ข้างต้น แม้ ศาลชั้นต้น จะ สั่ง รับ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไว้ศาลฎีกา ก็ ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายก ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง