คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สิ้นที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ เช่าซื้อ รถยนต์ ดัทสัน กระบะ ของโจทก์ ไป 1 คัน มี จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็น ผู้ ค้ำประกัน ค่าเช่าซื้อเป็น เงิน 132,400 บาท จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่า เช่าซื้อ ใน วัน ทำสัญญา 21,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ สัญญา จะ ผ่อน ชำระ เป็น 30 งวดงวดละ เดือน แต่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่า เช่าซื้อ งวด ที่ 20 ซึ่ง จะต้อง ชำระ ใน วันที่ 15 กันยายน 2523 ให้ โจทก์ เพียง 2,100 บาท ยังขาด อีก 1,500 บาท แล้ว ผิดนัด ตั้งแต่ งวด ดังกล่าว เป็นต้น มาเกิน 2 งวด ติดต่อ กัน เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2524 จำเลย ที่ 1ได้ นำ ความ ไป แจ้ง ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ว่า รถ คัน ที่ เช่าซื้อถูก คนร้าย ลัก ไป เมื่อ วันที่ 13 สิงหาคม 2524 ซึ่ง ตาม สัญญาเช่าซ์้อ ข้อ 5 จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ฝ่ายเดียว ชำระ ค่า เช่าซื้อให้ แก่ โจทก์ จนครบ เงิน ค่ารถ ยัง ค้าง ชำระ อยู่ อีก 37,900 บาทจำเลย ที่ 2 ที่ 3 ต้อง ร่วม รับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้งสาม ร่วมกัน ใช้ เงิน ค่ารถ 37,900 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันฟ้อง
จำเลย ทั้งสาม ให้การ ว่า สิทธิ เรียกร้อง เงิน ค่า เช่าซื้อ ที่ค้าง ทั้งหมด เริ่มแต่ วันที่ 15 กันยายน 2523 โจทก์ ฟ้อง คดี นี้เมื่อ วันที่ 27 เมษายน 2526 เกิน 2 ปี คดี โจทก์ ขาด อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ฟ้องจำเลย ที่ 2 ที่ 3 ไม่ ต้อง รับผิด ตาม ฟ้อง เพราะ สัญญา ค้ำประกันไม่ ได้ ระบุ ไว้ ชัด ว่า ทรัพย์สิน ที่ เช่าซื้อ สูญหาย แล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้อง รับผิด ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ทั้งสาม ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็น ว่า คดี ของ โจทก์ ขาด อายุความพิพากษา ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้น อุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดีนี้ ทุนทรัพย์ พิพาท ไม่เกิน ห้าหมื่น บาทต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ ด้วย มาตรา 238ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา เข่าซื้อรถยนต์ ตาม ฟ้อง จาก โจทก์ โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็น ผู้ค้ำประกันการ เช่าซื้อ ของ จำเลย ที่ 1 ตาม สัญญา เช่าซื้อ และ สัญญา ค้ำประกันเอกสาร หมาย จ.3, จ.4 จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ใน วัน ทำ สัญญา และต่อมา ผ่อน ชำระ เป็น งวด ให้ โจทก์ ครบ 19 งวด แต่ งวด ที่ 20 ประจำวันที่ 15 กันยายน 2523 ชำระ ให้ โจทก์ ไม่ ครบถ้วน แล้ว ไม่ ชำระให้ โจทก์ อีก เลย ยัง คงค้าง ค่าเช่าซื้อ อยู่ ทั้งหมด 37,900 บาทต่อมา รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ หาย
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ ฟ้อง เรียก เงิน ตาม สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 ซึ่ง กำหนด ว่า ใน กรณี ที่ รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ สูญหายไม่ ว่า โดย เหตุ สุดวิสัย หรือ โดย เหตุใด จำเลย ที่ 1 ผู้ เช่าซื้อต้อง รับ ผิด แต่ ฝ่ายเดียว ชำระ ค่า เช่าซื้อ ทั้งสิ้น จน ครบ การที่ โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่า รถยนต์ ที่ ค้าง ตาม ข้อสัญญา ดังกล่าว จำนวน 37,900 บาท จึง เป็น การ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลยที่ 1 ชำระ ราคา ทรัพย์สิน ที่ เช่าซื้อ จน ครบ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ในสัญญา หา ใช่ ฟ้อง เรียก ค่า เช่าซื้อ ที่ ค้าง ชำระ ไม่ ทั้งนี้ ตามนัย คำพิพากษาฎีกา ที่ 366/2521 ระหว่าง บริษัท สยามกลการ จำกัด โดยนาย พยุง วัฒนสิงหะ ผู้รับ มอบอำนาจ โจทก์ นาย ทองม้วน ธงฤทธิ์หรือ ธุงฤทธิ์ หรือ ม้วน ทรงฤทธิ์ กับพวก จำเลย ใน กรณี ฟ้อง เรียกราคา รถยนต์ ที่ เช่าซื้อ ตาม สัญญา เช่าซื้อ ดังกล่าว ไม่ มี กฎหมายบัญญัติ อายุความ ไว้ เป็น อย่างอื่น จึง ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่ อายุความ 2 ปี คดีของ โจทก์ จึง ไม่ ขาด อายุความ ส่วน ปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้อง นั้นเมื่อ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา เช่าซื้อ รถยนต์ ตามฟ้อง จาก โจทก์ โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 เป็น ผู้ ค้ำประกัน การ เช่าซื้อของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ผิด สัญญา โจทก์ ซึ่ง เป็น คู่ สัญญาจึง มี อำนาจ ฟ้อง และ ตาม สัญญา ค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ.3, จ.4กำหนด ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อ จะ ต้อง รับผิดชอบ ชดใช้เงิน ใน ความเสียหายใด ผู้ ประกัน ยอม ค้ำประกัน และ รับผิด ชอบ ร่วมกับ ผู้ เช่าซื้อใน ความ รับผิด ชอบ ใช้ เงิน นั้น ทุก ประการ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 จึงต้อง ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้งสอง ไม่ต้อง ด้วย ความ เห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกาของ โจทก์ ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้งสาม ร่วมกัน ใช้ เงิน 37,900บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ข้อ สัญญาใน ต้นเงิน 37,900 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เงิน ให้ โจทก์เสร็จ ให้ จำเลย ทั้งสาม ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งสาม ศาล แทน โจทก์โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ 2,000 บาท.

Share