คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7209/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ใช้คำว่า Reebok เป็นชื่อบริษัทและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่โจทก์ผลิตขายด้วย โจทก์ใช้ชื่อนี้ในประเทศอังกฤษมาก่อนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และชื่อนี้เป็นคำเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีความหมายดังนี้ การที่บริษัท ท. โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ทดลองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าReebok ของโจทก์ แล้วต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำขอใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1และมีวงเล็บว่า ประเทศไทย จึงเป็นการที่จำเลยที่ 3 เอาคำว่า Reebok ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้ใช้ในต่างประเทศมาก่อนแล้วมาใช้เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวพันในการค้าของโจทก์หรือเป็นส่วนหนึ่งของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1ก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำกับโจทก์ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดของจำเลยที่ 1 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) จำกัด จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการใช้นามของโจทก์โดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 18 เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อ Reebokเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับการใช้ชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใช้ชื่อนั้นต่อไป และโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำที่พิพาทกันคือคำว่า Reebok ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารีบ๊อค ที่โจทก์อ้าง หรือคำว่า รีบ็อค ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเป็นเพียงการสะกดตัวอักษรที่แสดงถึงสำเนียงการอ่านคำภาษาอังกฤษดังกล่าวไม่ใช่สาระที่พิพาทกัน การที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองใช้คำว่า Reebok โดยวงเล็บคำว่า รีบ๊อคหรือรีบ็อคไว้หลังคำว่า Reebok จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

ย่อยาว

(เสริม บุญทรงสันติกุล – ยงยุทธ ธารีสาร – ชูชาติ ศรีแสงศาลแพ่ง นายชัชวาล บุนนาคศาลอุทธรณ์ นายสุรศักดิ์ กาญจนวิทย์
นายปริญญา ดีผดุง – ย่อ
สุมาลี พ/ท

Share