แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
กฎกระทรวงเกษตราธิการออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2481 ฉะบับที่ 27 ยื่นเรื่องราวขอรับในคูปองยางด้วยความเท็จ ไม่เป็นผิดฐานฉ้อโกง
ย่อยาว
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้ง ๖ คนต่างมีสวนยาง ได้ยื่นเรื่องราวขอในสุทธิยางหรือใบกำกับคูปองต่อเจ้าพนักงานโดยแสดงจำนวนต้นยางที่กรีดได้และไม่ได้จนทางการได้อนุญาตและจ่ายคูปองแก่จำเลยไปตามจำนวนโควตาที่ได้รับอนุญาตแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานได้ไปตรวจสวนยางของจำเลย ปรากฏว่ามีสวนยางจริง แต่ต้นยางเล็กกว่าขนาดที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้จึงรู้สึกว่าจำเลยยื่นเรื่องราวเท็จ จึงยึดใบกำหับคูปองไว้แล้วแจ้งข้อหาไปยังเจ้าพนักงานสอบสวนโดยหาว่าจำเลยยื่นเรื่องราวไม่ตรงกับความจริง พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบให้ปรับจำเลย ๔๐ บาท จำเลยได้ชำระค่าปรับเสร็จไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๘๓ ต่อมาวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๔ เจ้าพนักงานได้ไปกล่าวหาว่าจำเลยทั้ง ๖ ทำผิดฐานฉ้อโกงและมอบคดีให้เจ้าพนักงานว่ากล่าว โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้ชิ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กุทภาพันธ์ ๒๔๘๔
ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานฉ้อโกง จึงพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนดดยเห็นว่าคดีขาดอายุความ ๓ เดือนแล้ว
โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า คดีนี้จะยกอายุความ ๓ เดือน มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว แม้เจ้าพนักงานยางจะมีได้ร้องทุกข์ขอให้กล่าว อัยยการก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยยื่นเรื่องราวขอทำยางต่อเจ้าพนักงานโดยกล่าวข้อเท็จไม่ตรงกับความจริงในเรื่องราวนั้น การกระทำผิดของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานผู้ทำการสอบสวนก็ได้เปรียบเทียบปรับจำเลยในฐานทำผิดพระราชบัญญัติยาง จำเลยได้ยอมเสียค่าปรับ คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปกว่าครึ่งปีแล้ว เจ้าพนักงานจึงกลับมาเปลี่ยนเรื่องร้องทุกข์ใหม่ และโจทก์มายื่นฟ้องจำเลยหาว่าทำผิดฐานฉ้อโกงในกรรมที่จำเลยกระทำรายเดียวกันอันจำเลยไม่ได้ทำผิดฐานฉ้อดังโจทก์หานี้ชิ้นอีกหาได้ไม่ จึงพิพากษายืนตาม.