แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ในคดีอาญาศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายอ้างเอกสารคัดสำเนาส่งให้อีกฝ่าย 1 ก่อนวันพิจารรา 3 วันได้ ถ้าคำสั่งของศาลไม่ชัด ก็ ต้องงดประกอบกับคำร้องขอในเรื่องที่สั่งนั้น
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมหนังสือยักยอกและฉ้อโกง จำเลยให้การปฏิเสธ
ก่อนวินพิจารราจำเลยยื่นคำร้องว่าโจทก์อ้างเอกสารเป็นพะยานหลายฉะบับจำเลยต้องการสำเนาเพื่อมีดอกาศตรวจและชักค้านพะยานที่จะเบิกความเกี่ยวกับเอกสารนั้น ๆ ขอให้ศาลสั่งโจทก์คัดสำเนาส่งให้จำเลยก่อนสืบพะยาน ๓ วัน ศาลสั่งในคำร้องว่าให้ส่งสำเนาให้โจทก์ เอกสารใดที่โจทก์จะอ้างให้คัดสำเนาส่งต่อศาลเพื่อจ่ายให้จำเลย
ครั้นวันสืบพะยานได้สืบพะยานโจทก์ปากแรกไปได้บ้างแล้ว โจทก์จึงยื่นเอกสารที่อ้างไว้ต่อศาล และแถลงว่าทะยอยส่งเมื่อส่งฉะบับใดต่อศาลก็จะจ่ายสำเนาให้จำเลย ฝ่ายจำเลยคัดค้าน
ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับเอกสารที่โจทก์อ้าง โดยกล่าวว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาตามมาตรา ๘, และ ๒๔๐ ประกอบกับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อสืบพะยาน โจทก์หมดแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นตามคำสั่งหาปรากฏไม่ว่า จะต้องส่งสำเนาล่วงหน้า ๓ วันไม่ และประมวลวิธีพิจารณาความอาญาก็ไม่มีบังคับไว้ดังศาลชั้นต้นอ้างฉะนั้นการที่ศาลไม่ยอมรับเอกสารที่โจทก์อ้างจึงได้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อาศัยมาตรา ๒๐๘(๒) จึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามคำสั่งประกอบกับคำร้องซึ่งโจทก์ได้รับสำเนาไปแล้วนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาให้จำเลยก่อน ๓ วัน ตามประมวลวิธีพิจารราความอาญามาตรา ๒๔๐ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวนั้นได้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงให้ยกเสีย แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาใหม่