แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สาลชั้นต้นตัดสินลงโทสจำเลยทั้งสามคน + สาลอุธรน์แก้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้สมคบกับจำเลยทั้งสองแม้จะมิได้อุธรน์ก็เปนเหตุไนลักสนะคดี จึงไห้ปล่อยจำเลยที่ 3 สาลดีกาวินิฉัยว่าได้มีการกะทำผิดเกิดขึ้นจิง จำเลยที่ 3 จะได้สมคบกับพวกกะทำผิดหรือไม่เปนปัญหาส่วนตัวของจำเลยที่ 3 หาได้เปนเหตุไนลักสนะคดีแต่หย่างไดไม่.
ย่อยาว
คดีนี้สาลชั้นต้นพิพากสาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๒๙๗ จำคุกจำเลยที่ ๑ เก้าเดือน จำเลยที่ ๒ หนึ่งปี หกเดือน จำเลยที่ ๓ หนึ่งปี สองเดือน
จำเลยที่ ๒ อุธรน์ สาลอุธรน์พิพากสาแก้ว่าจำเลยที่ ๑-๒ มีความผิดต้องด้วยมาตรา ๒๙๓ คงลงโทสเท่าสาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ ๓ แม้จะมิได้อุธรน์ เมื่อปรากตว่าจำเลยไม่ได้สมคบกับจำเลยอื่น สาลก็ต้องวินิฉัยจึงไห้ปล่อยจำเลยที่ ๓ ไป
โจทดีกา สาลดีกาวินิฉัยว่า เมื่อสาลล่างทั้งสองไม่เห็นตรงกันไนข้อเท็ดจิงว่าจำเลยที่ ๓ ได้สมคบกับจำเลยที่ ๑-๒ เมื่อจำเลยที่ ๓ ไม่ได้อุธรน์ขึ้นมาก็เท่ากับยอมรับว่าได้สมคบกับพวกลักทรัพย์เขาจิง จึงเปนเหตุส่วนตัวจำเลยที่ ๓ ว่าได้ไปลักกับพวกลักทรัพย์เขาจิง จึงเปนเหตุส่วนตัวจำเลยที่ ๓ ว่าได้ไปลักกับพวกจิง หาเปนลักสนะคดีไม่ เพราะเหตุการน์ลักทรัพย์ได้เกิดมีขึ้นจิง จึงพิพากสาแก้ว่าจำเลยที่ ๓ มีความผิดตามมาตรา ๒๙๓ ไห้บังคับคดีลงโทสจำเลยตามคำพิพากสาสาลชั้นต้น