คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่3ที่4ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียวซึ่งทำให้จำเลยที่3ที่4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคหนึ่งศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลจะชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งจำเลยที่3ที่4ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่3ที่4ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคชก.จังหวัดเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยคชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคสองประกอบมาตรา56วรรคสองคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วและคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่3ที่4ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดแต่คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านคชก.ตำบลและเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่าคชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งแม้จำเลยที่3ที่4ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่3ที่4ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันเช่าที่ดินจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพื่อใช้ทำนา โจทก์ทั้งสองเช่าทำนาดังกล่าวโดยไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ ค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก 10 ถังต่อไร่ทุกปี ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 3 ในราคา249,000 บาท และ 825,000 บาท ตามลำดับเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม2530 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้เช่านาทราบแต่อย่างใดหลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 4 เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมด้วยเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 53 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินคืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ โจทก์ทั้งสองได้ยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลลำโพให้วินิจฉัยข้อพิพาทแล้ว คณะกรรมการได้มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2532 ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เช่านาจริง และผู้ให้เช่านาโอนขายนาโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบผู้เช่านามีสิทธิที่จะซื้อที่นาคืนจากผู้รับโอนได้ตามมาตรา 54 เห็นควรแจ้งให้คู่กรณีทราบและปฏิบัติตามต่อไป ต่อมาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แต่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดนนทบุรีไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงต้องปฏิบัติตามมติข้างต้น โจทก์ทั้งสองมีหนังสือแจ้งความประสงค์ซื้อที่ดินคืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2532 แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมขายให้โจทก์ จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5176 และ 5177 ตำบลลำโพ (แหลมใหญ่ฝั่งใต้) อำเภอบางบัวทอง(ปากเกร็ด) จังหวัดนนทบุรี ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2530 และเพิกถอนการจดทะเบียนบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 3 ที่ 4 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2531 แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองในราคาแปลงละ 249,000 บาท และ 825,000 บาท ตามลำดับ หากไม่อาจเพิกถอนได้ ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนขายที่ดินข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสองในราคาแปลงละ249,000 บาท และ 825,000 บาท หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่า โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นญาติกัน โจทก์ทั้งสองทำนาในที่ดินแปลงนี้มาตั้งแต่นายปานยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งนายปานถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2513 โดยไม่มีหลักฐานการเช่าและไม่มีค่าตอบแทน หลังจากนายปานถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 5176 และ5177 มาเป็นกรรมสิทธิ์ แต่ยังคงให้โจทก์ทั้งสองอาศัยทำนาต่อไปเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะขายที่ดินทั้งสองแปลงนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะซื้อ อ้างว่ามีที่ดินจำนวนมากอยู่แล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 ที 4 ให้การว่า หนังสือมอบอำนาจปลอมโจทก์ทั้งสองไม่ได้เช่าที่ดินพิพาททำนา เพียงแต่อาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ที่ 2 ปลูกข้าวเท่านั้น จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ที 2 โดยไม่มีการเช่า ซึ่งจำเลยที่ 4 เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมภายหลัง ดังนั้นจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงไม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524คำสั่งของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลบางโพไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองกระทำโดยไม่สุจริต อาศัยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นเครื่องมือค้ากำไร จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลบางโพ ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดนนทบุรีแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลบางโพ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5176, 5177 ตำบลบางโพ อำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี ให้แก่โจทก์ทั้งสองในราคาแปลงละ 249,000 บาทและ 825,000 บาท ตามลำดับ โดยชำระเงินเมื่อทำการจดทะเบียน หากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2
จำเลยที่ 3 ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นนี้ส่วนที่เรียกเกินมาแก่จำเลยทั้งสี่
จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นทำการพิจารณาคดีโจทก์ต่อไปฝ่ายเดียว เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาและอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งใหม่เป็นว่าให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยกคำรองขอโต้แย้งคำสั่ง ระหว่างไต่สวนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการประวิงคดี จึงให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และวินิจฉัยว่า ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4และวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจขาดนัดพิจารณา แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แพ้คดี ในชั้นนี้คงมีปัญหาเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งฎีกาว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องและการขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเหตุอันสมควร เห็นว่าฎีกาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในข้อที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบลลำโพ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ที่ 4ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัดนนทบุรีเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำโพยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 วรรคสอง ประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้ จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโจทก์ทั้งสองมีพยาน คือ นาวาอากาศตรีชิน นาคบาง เบิกความข้อนี้ว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์เอกสารหมาย จ.16ต่อ คชก.จังหวัดนนทบุรี แต่ คชก.จังหวัดนนทบุรีประชุมแล้วมีมติไม่รับอุทธรณ์ตามเอกสารหมาย จ.17 ศาลฎีกาพิเคราะห์เอกสารหมายล.17 แล้วปรากฏในหน้า 26-27 เพียงว่า ที่ประชุม คชก.จังหวัดนนทบุรี เห็นว่า ผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธานคชก.ตำบลลำโพ และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไป ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวไม่สามารถฟังได้ว่า คชก.จังหวัดนนทบุรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์ไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่ออุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก. ตำบลบางโพถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 อีกข้อที่ว่า สมควรให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 เลื่อนนัดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 3ที่ 4 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share