แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
มติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่าผู้ผิดสัญญาตามข้อ1.1พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้วส่วนราชการหรือกรมเข้าท่าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศหลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ1.4จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน6เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4การที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11กุมภาพันธ์2530จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้วการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4นั้นช่วงเวลาระหว่างวันที่6มิถุนายน2526ถึงวันที่13สิงหาคม2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4หรือไม่ คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆรวมทั้งค่าปรับตามสัญญาโจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่1และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่1เหลืออยู่อีกจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่1ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลมีฐานะเทียบกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อปี 2505 ขณะที่จำเลยที่ 1เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมชลประทานในมหาวิทยาลัยโจทก์ได้ทำสัญญากับโจทก์เพื่อรับทุนของ รัฐบาลอิสราเอล ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ณ ประเทศอิสราเอลรวมเวลาศึกษาและดูงานเป็นเวลา 5 ปี 2 เดือน 9 วันได้รับเงินทุน 17,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามสัญญาจะต้องกลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นสองเท่าของเวลาที่ลาไปศึกษาและดูงาน คือ 10 ปี 4 เดือน 18 วันหลังจากจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ สถาบันอื่นและเป็นข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรีเป็น3 ช่วง ช่วงแรกที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2511ถึงวันที่ 5 กันยายน 2515 ช่วงที่สองที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2519 ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT)ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2520ถึงวันที่ 10 เมษายน 2523 และไปเป็นข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2523ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2526 ช่วงที่สาม ตั้งแต่วันที่6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529 และตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2530ในวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จำเลยที่ 1 ได้ลาออกจากราชการในมหาวิทยาลัยโจทก์ จากการรับราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าในช่วงระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม 2529ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นเวลา 5 เดือน 28 วันซึ่งเกิน 3 เดือน ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้กลับเข้าราชการการชดใช้ทุนต่อที่มหาวิทยาลัยโจทก์ถือว่าจำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับการผ่อนผันที่จะไม่ต้องชดใช้ทุนฐานผิดสัญญา ตามระเบียบของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ สร.0203/ว.139 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2523 ข้อ 1.1ระหว่างที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยโจทก์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2515 จำเลยที่ 1 ได้รับทุนมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ลาไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้ทำสัญญากับโจทก์ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2515 มีข้อสัญญาว่าเมื่อเสร็จจากการศึกษาหรือฝึกอบรมแล้ว จำเลยที่ 1จะกลับมารับราชการอยู่ต่อไปในมหาวิทยาลัยโจทก์ กระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี หรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆตามที่ราชการเห็นสมควร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือน รวมทั้งเงินเพิ่มสุดแล้วแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน และในกรณีที่จำเลยที่ 1มีพันธะ จะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์หักเอาจากเงินบำเหน็จ บำนาญหรือเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 จะพึงได้รับจากทางราชการโดยมีจำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันในการที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอล จำเลยที่ 1 ใช้เวลา 5 ปี 2 เดือน9 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับทุน 17,000 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยที่ 1จะต้องรับราชการชดใช้ทุนเป็น 2 เท่า คิดเป็นเวลา 10 ปี4 เดือน 18 วัน หรือเท่ากับ 3,877 วัน และการลาไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยที่ 1 ใช้เวลาศึกษา 3 ปี 9 เดือน22 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนเต็มในระหว่างลาศึกษาเป็นเงิน 130,368.67 บาท กับเงินทุน16,700 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยที่ 1 มีความผูกพันจะต้องรับราชการชดใช้ทุนเป็น 2 เท่า คือ 7 ปี 7 เดือน14 วัน หรือเท่ากับ 2,779 วัน จาก การที่ลาไปศึกษาต่อ 2 ครั้งจำเลยที่ 1 ได้กลับมารับราชการชดใช้ทุนรวมทั้งสิ้น 14 ปี6 เดือน 18 วัน เมื่อนำไปชดใช้การลาศึกษาต่อ ครั้งแรกเป็นเวลา 10 ปี 4 เดือน 18 วัน คงเหลือเวลาอีก4 ปี 2 เดือน จึงนำส่วนที่เหลือ 4 ปี 2 เดือนนี้ ไปชดใช้การลาศึกษาต่อครั้งที่สอง คือ 7 ปี 7 เดือน 14 วันจึงเหลือเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับราชการชดใช้อีก3 ปี 5 เดือน 14 วัน คิดเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นเงิน118,124.62 บาท กับ 15,131.56 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันยื่นฟ้องเท่ากับ 390,696.87 บาทและจะต้องชดใช้เงินค่าตั๋วเครื่องบินไปและกลับระหว่างกรุงเทพมหานคร ถึง ยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเงิน 13,461.10 บาท รวมเบี้ยปรับ เงินทุนการศึกษาและค่าเครื่องบินเป็นเงิน 522,282.59 บาท เมื่อโจทก์นำเงินบำเหน็จบำนาญที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจำนวน98,775 บาท มาหักชดใช้ตามสัญญาแล้วคงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นเงิน423,507.59 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับตั้งแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 จนถึงวันฟ้องคิดเป็นดอกเบี้ย 43,337 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น466,844.59 บาท จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงิน 466,844.59 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีของต้นเงิน 423,507.59 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าขณะจำเลยที่ 1 เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโจทก์ จำเลยที่ 1ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอลโดยอาศัยคุณสมบัติส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และรัฐบาลอิสราเอลโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด ทั้งไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ว่าจะกลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีพันธะใด ๆที่จะต้องรับราชการชดใช้ทุนนี้ ที่โจทก์อ้างว่าในระหว่างวันที่15 สิงหาคม 2529 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลยที่ 1ได้พ้นจากสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองนั้นไม่เป็นความจริง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติราชการอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี กรณีจึงไม่อาจนำระเบียบของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 19 สิงหาคม 2523 มาปรับแก่กรณีของจำเลยที่ 1 ได้แต่จำเลยที่ 1 รับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์รับทุนมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาตามฟ้องและได้รับเงินเดือนระหว่างลาศึกษาเป็นเงิน 130,368.57 บาท จริงจำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับเงินทุนการศึกษาจำนวน 16,700ดอลลาร์สหรัฐตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 เคยได้รับจากมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเครื่องบิน 13,460.10 บาทอย่างไรก็ดี จำเลยที่ 1 ถือว่า เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว จำเลยที่ 1 ได้กลับมารับราชการชดใช้ทุนติดต่อกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิหักบำเหน็จบำนาญของจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง การที่โจทก์หักบำเหน็จบำนาญเพื่อชำระหนี้ตามฟ้อง จึงเป็นการไม่ชอบ ทำให้จำเลยที่ 1ได้รับความเสียหาย โจทก์จะต้องรับผิดชำระเงินบำเหน็จบำนาญ98,775 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องจนถึงวันฟ้องแย้งซึ่งจำเลยที่ 1ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 50,622 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น149,397 บาท ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้องและขอให้บังคับโจทก์ชำระเงิน 149,397 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องแย้งไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาต่อที่ประเทศอิสราเอลจำเลยที่ 2 คงทำสัญญาค้ำประกันเฉพาะที่จำเลยที่ 1 รับทุนมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ลาไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์ตามฟ้องในระหว่างลาศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจะได้รับเงินทุนการศึกษา16,700 ดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบแต่อย่างไรก็ดีเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ได้กลับมารับราชการชดใช้ทุนเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สำเนาบันทึกข้อความตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลข 1 เป็นบันทึกการสอบถามการดำเนินงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรื่องบำเหน็จบำนาญจำเลยที่ 1 ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง และฟ้องแย้งเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน296,322.21 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้จำเลยที่ 2ชำระแทนจนครบ คำขออื่นให้ยก และให้ยกฟ้องแย้ง
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน423,507.59 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จแก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง (วันที่ 13 กรกฎาคม 2532)ต้องไม่เกิน 43,337 บาท นอกจากที่ แก้ คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1ได้รับทุนไปศึกษาที่ต่างประเทศรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2505ขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมชลประทานมหาวิทยาลัยโจทก์ได้รับทุนของ รัฐบาลอิสราเอล ไปศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเกษตร ที่ประเทศอิสราเอล เป็นเวลา 5 ปี 2 เดือน 9 วัน แล้วกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ อยู่ที่มหาวิทยาลัยโจทก์จนกระทั่งปี 2515ได้รับทุนมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ไปศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมเกษตร ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี9 เดือน 22 วัน ในการไปศึกษาครั้งนี้ จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนเต็มทุกเดือนและทำสัญญาไว้กับโจทก์ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์หรือกระทรวงทบวงกรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของเวลาที่ได้รับทุนหรือที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม ทั้งนี้สุดแต่เวลาใดจะมากกว่ากัน หากผิดสัญญาจะชดใช้ทุนคืนและหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการและจะต้องจ่ายเบี้ยปรับ 1 เท่าของเงินที่จะต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเอาจากเงินบำเหน็จบำนาญที่จำเลยที่ 1 จะพึงได้รับจากทางราชการได้ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.7 โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.8 หลังจากจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้กลับมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2519 และลาออกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 แต่ก่อนที่จะลาออกและภายหลังจากที่ลาออกจากราชการประจำจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรวม 3 ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2523ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2526 ครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529 และครั้งที่สามตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2530ตามเอกสารหมาย จ.11 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาชดใช้ทุนกับโจทก์ไปศึกษาต่อปริญญาตรีและปริญญาโท ณ ประเทศอิสราเอล หรือไม่และมติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมายหมาย จ.12 ข้อ 1.4 ที่ว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองหมายถึงมหาวิทยาลัยโจทก์หรือสำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีที่จำเลยที่ 1 ไปรับราชการการเมืองในภายหลังและจำเลยที่ 1ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งได้หรือไม่สำหรับปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาชดใช้ทุนกับโจทก์ไปศึกษาต่อปริญญาตรี และปริญญาโท ณ ประเทศอิสราเอลหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาชดใช้ทุนกับโจทก์ไปศึกษาต่อปริญญาตรีและปริญญาโท ณประเทศอิสราเอล และต้องกลับมารับราชการชดใช้ทุนตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย จ.2
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า มติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.12 ข้อ 1.4 ที่ว่า ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองหมายถึงมหาวิทยาลัยโจทก์หรือสำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีที่จำเลยที่ 1 ไปรับราชการการเมืองในภายหลังนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525จำเลยที่ 1 ยังรับราชการชดใช้ทุนไม่ครบตามกำหนดเวลาในสัญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้ผิดสัญญา แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ได้ไปเป็นข้าราชการการเมืองรวม 3 ครั้ง ครั้งที่หนึ่งตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2523 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2526ครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม2529 และครั้งที่สามตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2530 ตามเอกสารหมาย จ.11 สำหรับการรับราชการการเมืองของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่9 สิงหาคม 2525 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2526 และตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529 นั้นกรณีไม่มีปัญหาเพราะโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.12 ข้อ 1 วรรคท้ายแล้ว คงมีปัญหาว่าในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม 2529ถึง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 รวม 5 เดือนเศษจำเลยที่ 1ได้พ้นจากสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองและได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530จะอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า ผู้ผิดสัญญาตามข้อ 1.1 พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมือง แต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 หรือไม่ เห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.12 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศ คำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิม คือ มหาวิทยาลัยโจทก์ หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามข้อ 1.4 การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530 จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมายจ.12 ข้อ 1.4 นั้น เห็นว่า ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529 นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.12ข้อ 1 วรรคท้ายแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.12 ข้อ 1.4 หรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญานั้นชอบแล้ว
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งได้หรือไม่นั้น คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่ 1ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายืน