คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ร้องที่1ที่2และที่3มิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีนี้แต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกคดีหนึ่งที่จำเลยผู้ล้มละลายในคดีดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้จำเลยในคดีนี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยในคดีดังกล่าวได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่1ที่2ที่3มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทของผู้คัดค้านที่1ในคดีนี้จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2533ผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 2ได้ ดำเนินการ ขายทอดตลาด ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 2ตาม ประกาศ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี ลงวันที่ 9 พฤษภาคม2533 รวม 2 รายการ รายการ แรก ทรัพย์ หมาย ก. ประมูล ได้ ใน ราคา25,400,000 บาท รายการ หลัง ทรัพย์ หมาย ข. ประมูล ได้ ใน ราคา13,250,000 บาท
ผู้ร้อง ทั้ง หก ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ดังกล่าว เป็น 3 สำนวน และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รวม พิจารณาเข้า ด้วยกัน โดย กำหนด ให้ เรียก ผู้ร้อง เป็น ผู้ร้อง ที่ 1 ถึง ที่ 6ตามลำดับ และ ให้ เรียก ผู้คัดค้าน เป็น ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2ตามลำดับ สรุป คำร้องขอ งผู้ร้อง ทั้ง หก เป็น ใจความ ว่า ผู้ร้อง ทั้ง หกเป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม กฎหมาย การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ คดี นี้ผู้คัดค้าน ที่ 1 กระทำ โดย ฝ่าฝืน ระเบียบ ของ กรมบังคับคดี และ กฎหมายและ กระทำ ไป ใน ลักษณะ รวดเร็ว และ รวบรัด ไม่พิจารณา ว่า ราคา ที่ผู้ เข้า สู้ราคา เสนอ ซื้อ เหมาะสม หรือไม่ ทำให้ ขาย ไป ใน ราคา ต่ำโดย ขาย ทรัพย์ หมาย ก. ไป ต่ำกว่า ราคา แท้จริง 30,000,000 บาท เศษและ ขาย ทรัพย์ หมาย ข. ไป ต่ำกว่า ราคา แท้จริง 26,000,000 บาท เศษนอกจาก นี้ ก่อน ขายทอดตลาด ทรัพย์ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง การขายทอดตลาด ทรัพย์ ให้ ผู้ร้อง ทั้ง หก ทราบ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 306
ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ยื่น คำคัดค้าน และ แก้ไข คำคัดค้าน ว่าผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ดำเนินการ ขายทอดตลาด โดยชอบ แล้ว ราคา ที่ ขายได้ เป็น ราคา ที่ เหมาะสม และ ก่อน ขายทอดตลาด ได้ ส่ง สำเนา ประกาศ ให้ แก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ บริษัท ไสวผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด ผู้ล้มละลาย ใน คดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 273/2528 ของ ศาลชั้นต้นซึ่ง ผู้ร้อง ทั้ง หก ขอรับ ชำระหนี้ ไว้ ทราบ แล้ว ผู้ร้อง ทั้ง หก ไม่ใช่เจ้าหนี้ ซึ่ง ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้ ไม่มี ส่วนได้เสีย ใน คดีจึง ไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้อง คดี นี้ ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง ทั้ง หก
ผู้ร้อง ทั้ง หก อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ทั้ง หก ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ใน ชั้นอุทธรณ์ ผู้ร้อง ที่ 4 ที่ 5และ ที่ 6 มิได้ ขอ ขยาย ระยะเวลา ยื่น อุทธรณ์ ซึ่ง จะ ครบ กำหนด อุทธรณ์ใน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 และ ผู้ร้อง ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6ได้ แต่งทนาย ความ คนใหม่ ยื่น อุทธรณ์ รวม ใน ฉบับ เดียว กับ อุทธรณ์ ของผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง ได้รับ อนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ให้ ขยายระยะเวลา อุทธรณ์ สำหรับ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ไป 15 วันนับแต่ วัน ครบ กำหนด อุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ ส่วน ของ ผู้ร้อง ที่ 4 ที่ 5และ ที่ 6 ที่ ยื่น เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2535 จึง เป็น อุทธรณ์ ที่ ยื่นพ้น กำหนด ระยะเวลา อุทธรณ์ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อุทธรณ์ ใน ส่วน ของผู้ร้อง ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ด้วย เป็น การ ไม่ชอบ คดี สำหรับ ผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 เป็น อัน ยุติ ไป ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น คดี จึง มีปัญหา ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะคดี สำหรับ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ที่ ไม่นำ สืบ โต้เถียง กัน ใน ชั้น นี้ ฟังได้ ว่าผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น เจ้าหนี้ ยื่น ขอรับ ชำระหนี้ใน คดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 273/2528 ของ ศาลชั้นต้น ระหว่างนางสาว ทิพย์วรรณ พรหมเทศ โจทก์ บริษัท ไสวผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด จำเลย และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ของ บริษัท ไสวผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด ผู้ล้มละลาย ได้ ยื่น ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้ ซึ่ง ศาล มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม ขอ คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกา เห็นสมควร ยกขึ้น วินิจฉัย ใน ปัญหา ที่ ว่า ผู้ร้อง ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 มีสิทธิ ร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาทของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน คดี นี้ หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า การ ที่ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท โดย อ้างว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ไปใน ราคา ที่ ต่ำกว่า ที่ ควร จะขาย ได้ โดย ไม่พิจารณา ว่า ราคา ที่ ผู้ เข้าสู้ราคา เสนอ ซื้อ เป็น ราคา ที่ เหมาะสม หรือไม่ ทำให้ ผู้ร้อง ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ตลอดจน เจ้าหนี้ ทั้งหลาย เสียหาย ได้รับ ชำระหนี้ตาม ส่วน เฉลี่ย ลด น้อยลง และ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง ให้ ผู้ร้อง ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ทราบ ซึ่ง วัน ขายทอดตลาด เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับ เป็น การ กล่าวอ้าง ว่า ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ได้รับความเสียหาย โดย การกระทำ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ซึ่ง บัญญัติ ให้ อำนาจ แก่ บุคคล ล้มละลายเจ้าหนี้ หรือ บุคคล ใด ได้รับ ความเสียหาย ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล สั่ง กลับหรือ แก้ไข หรือ สั่ง ประการใด ตาม ที่ เห็นสมควร คดี นี้ ปรากฏว่า ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 มิใช่ เจ้าหนี้ ยื่น ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้หาก แต่ เป็น เจ้าหนี้ ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดีล้มละลาย หมายเลขแดงที่ ล. 273/2528 ของ ศาลชั้นต้น และ แม้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ของ ผู้ล้มละลาย ใน คดี ดังกล่าว ได้ ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดี นี้ ไว้ ซึ่ง ศาลมี คำสั่ง ถึงที่สุด ให้ ได้รับ ชำระหนี้ แล้ว ก็ ตาม ก็ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 มี ส่วนได้เสีย ใน การ ขายทอดตลาด ของผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน อัน ที่ จะ ได้รับ ความเสียหาย โดย การกระทำ ของผู้คัดค้าน ที่ 1 ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ของ ผู้คัดค้านที่ 1 ใน คดี นี้ ได้ และ ปัญหา นี้ เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้แม้ ไม่มี ฝ่ายใด ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นฎีกา เมื่อ วินิจฉัย เช่นนี้ ปัญหา ตามฎีกา ของ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่จำต้อง วินิจฉัย ที่ ศาลล่างทั้ง สอง ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษายืน

Share