แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มาตรา5ตอนท้ายที่ระบุว่าโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆย่อมหมายความเพียงว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้นส่วนความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยหาได้ถูกลบล้างไปด้วยไม่เพราะความประพฤติหรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วไม่อาจล้างมลทินให้หมดไปได้ กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยให้ปลดออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มีผลเพียงให้ถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้นแต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่นๆไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชนพ.ศ.2535มาตรา19(7)ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ เป็น ช่าง รังวัด เอกชน และมีสิทธิ ได้รับ ใบอนุญาต เป็น ช่าง รังวัด เอกชน จึง ยื่น คำขอ รับ ใบอนุญาตดังกล่าว ต่อ คณะกรรมการ ช่าง รังวัด เอกชน ซึ่ง มี จำเลย ที่ 1 เป็นประธาน คณะกรรมการ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 กับพวก พิจารณา แล้ว ลงมติ ว่ากรมที่ดิน มี คำสั่ง ปลด โจทก์ ออกจาก ราชการ ฐาน ไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติ หน้าที่แม้ โจทก์ จะ ได้รับ การ ล้างมลทิน ตาม พระราชบัญญัติ ล้างมลทิน ฯ แล้ว ก็ ตามแต่ การกระทำ ดังกล่าว เป็น ความประพฤติ ที่ มี ลักษณะ ต้องห้าม ตามมาตรา 19(7) แห่ง พระราชบัญญัติ ช่าง รังวัด เอกชน พ.ศ. 2535 คือเป็น ผู้ที่ มี ความประพฤติ เสื่อมเสีย หรือ บกพร่อง ใน ศีลธรรม อัน ดีจึง ไม่สมควร ที่ จะ ให้ เป็น ช่าง รังวัด เอกชน โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อจำเลย ที่ 4 แต่ จำเลย ที่ 4 เห็นชอบ ตาม มติ ของ คณะกรรมการ ช่าง รังวัดเอกชน ซึ่ง มติ ของ คณะกรรมการ ช่าง รังวัด เอกชน และ คำวินิจฉัย ของจำเลย ที่ 4 ขัด ต่อ เจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติ ล้างมลทิน ใน วโรกาส ที่พระ บาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง มี พระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 และ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ โจทก์ เพราะ พระราชบัญญัติดังกล่าว มี เจตนารมณ์ ที่ จะ ให้ บุคคล ที่ เคย ถูก ลงโทษ ทางวินัย ได้รับ การล้างมลทิน เพื่อ ให้ ได้ มีสิทธิ สมบูรณ์ เช่นเดียว กับ บุคคล ทั้งหลายซึ่ง ไม่เคย ได้รับ โทษ โจทก์ จึง มีสิทธิ เป็น ช่าง รังวัด เอกชน ได้ขอให้ พิพากษา ว่า มติ ของ คณะกรรมการ ช่าง รังวัด เอกชน โดย จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 3 กับพวก รวม 8 คน ที่ ไม่อนุญาต ให้ โจทก์ เป็น ช่าง รังวัด เอกชนและ คำวินิจฉัย ของ จำเลย ที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน ออก ใบอนุญาต เป็น ช่าง รังวัด เอกชน ให้ แก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น ตรวจ คำฟ้อง แล้ว วินิจฉัย ว่า พระราชบัญญัติ ล้างมลทินใน วโรกาส ที่ พระ บาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง มี พระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 ให้ ล้าง แต่เพียง มลทิน ของ โทษ เท่านั้นแต่ การ ประพฤติ ตน ไม่ เหมาะสม ของ โจทก์ หา ถูก ล้าง ไป ด้วย ไม่ จำเลย ทั้ง สี่นำ ความประพฤติ ของ โจทก์ มา ประกอบการ พิจารณา ได้ คำวินิจฉัย ของจำเลย ทั้ง สี่ จึง ไม่ ขัด ต่อ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ เกี่ยวกับ จำเลยที่ 4 ปรากฏว่า โจทก์ ไม่นำ ส่ง สำเนา ฎีกา ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ภายใน เวลา ที่ศาลชั้นต้น กำหนด อันเป็น การ ทิ้งฟ้อง ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบ ด้วย มาตรา 246, 247 จึง ให้ จำหน่ายคดีของ โจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 4 ออกจาก สารบบความ ของ ศาลฎีกา
ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า พระราชบัญญัติ ล้างมลทิน ใน วโรกาส ที่พระ บาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง มี พระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 5 บัญญัติ ว่า “ให้ ล้างมลทิน ให้ แก่บรรดา ผู้ถูกลงโทษ ทางวินัย ใน กรณี ซึ่ง ได้ กระทำ ก่อน หรือ ใน วันที่ 5ธันวาคม 2530 และ ได้รับ โทษ หรือ รับ ทัณฑ์ ทั้งหมด หรือ บางส่วน ไป แล้วก่อน หรือ ใน วันที่ พระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ โดย ให้ ถือว่า ผู้ นั้นมิได้ เคย ถูก ลงโทษ หรือ ลงทัณฑ์ ทางวินัย ใน กรณี นั้น ๆ ” โจทก์ ซึ่ง ถูกลงโทษ ทางวินัย ก่อน ที่ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ใช้ บังคับ ย่อม ได้รับประโยชน์ ใน อัน ที่ จะ ต้อง ถือว่า เป็น ผู้ มี คุณสมบัติ ไม่ต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติ ช่าง รังวัด เอกชน พ.ศ. 2535 นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติล้างมลทิน ใน วโรกาส ที่ พระ บาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง มี พระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 5 ตอนท้าย ที่ ระบุ ว่าโดย ให้ ถือว่า ผู้ นั้น มิได้ เคย ถูก ลงโทษ หรือ ลงทัณฑ์ ทางวินัย ใน กรณีนั้น ๆ ย่อม หมายความ เพียง ว่า ผู้ที่ ถูก ลงโทษ ทางวินัย ไม่เคย ถูก ลงโทษทางวินัย เท่านั้น หา ได้ หมายความ ว่า ความประพฤติ หรือ การกระทำที่ เป็นเหตุ ให้ บุคคล นั้น ถูก ลงโทษ ทางวินัย ถูก ลบล้าง ไป ด้วย ไม่เพราะ เรื่อง ความประพฤติ หรือ การกระทำ ที่ เกิดขึ้น แล้ว ไม่อาจ ล้างมลทินให้ หมด ไป ได้ กรณี ของ โจทก์ ที่ กรมที่ดิน มี คำสั่ง ลงโทษ ทางวินัยให้ ปลด ออกจาก ราชการ ฐาน ไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติ หน้าที่ ปฏิบัติ หน้าที่ราชการ โดยมิชอบ เพื่อ ให้ ตนเอง ได้ ประโยชน์ ที่ มิควร ได้ เป็น การทุจริตต่อหน้า ที่ รายงาน เท็จ ต่อ ผู้บังคับบัญชา พระราชบัญญัติ ล้างมลทินใน วโรกาส ที่ พระ บาท สมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง มี พระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มีผล เพียง ให้ ถือว่า โจทก์ ไม่เคยถูก ลงโทษ ทางวินัย ให้ ปลด ออกจาก ราชการ เท่านั้น แต่ การกระทำ หรือความประพฤติ ของ โจทก์ ที่ ไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติ หน้าที่ หรือ อื่น ๆไม่ได้ ถูก ลบล้าง ไป ด้วย ดังนั้น ที่ คณะกรรมการ ช่าง รังวัด เอกชนซึ่ง มี จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น กรรมการ อยู่ ด้วย เห็นว่า การกระทำของ โจทก์ ดังกล่าว ไม่ได้ รับ การ ล้างมลทิน และ เป็น การกระทำ ที่ ขาดคุณสมบัติ ตาม พระราชบัญญัติ ช่าง รังวัด เอกชน พ.ศ. 2535 มาตรา 19(7)ที่ ว่า ไม่เป็น ผู้ มี ความประพฤติ เสื่อมเสีย จึง ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติดังกล่าว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน