แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ค่าขาดแรงงานนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445ประกอบมาตรา1567(1),(3)หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตายผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น บิดา มารดาโดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ชีวิต กิจสวัสดิ์ ผู้ตาย ซึ่ง ถูก จำเลย ที่ 1ขับ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 1ฌ-4140 ของจำเลย ที่ 2 ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความประมาทเลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวัง โดย ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว เกิน อัตราที่ กฎหมาย กำหนด และ มึนเมา สุรา พุ่ง เข้า ชน รถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน กรุงเทพมหานคร 5ฌ-2844 ที่ ผู้ตาย ขับ มา เป็นเหตุ ให้รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 5ฌ-2844 พัง ยับเยินและ ผู้ตาย ได้รับ อันตรายสาหัส และ ถึงแก่ความตาย ใน เวลา ต่อมา ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง1,476,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า เหตุ เกิด เพราะ ผู้ตาย ขับ รถจักรยานยนต์หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 5ฌ-2844 ด้วย ความประมาท เลินเล่อใช้ ความ เร็ว เกิน อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด และ เป็น ที่ น่า หวาดเสียวโจทก์ ทั้ง สอง ไม่อาจ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย เป็น ค่า ขาด แรงงาน เพราะผู้ตาย ไม่เคย ช่วยเหลือ โจทก์ ทั้ง สอง ใน กิจการ งาน ค้าขาย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร1ฌ-4140 ได้ มอบ ให้ จำเลย ที่ 1 ไว้ ใช้ ปฏิบัติงาน ใน หน้าที่แต่ เหตุ ไม่ได้ เกิดขึ้น ใน ระหว่าง ที่ จำเลย ที่ 1 ทำงาน ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 ทั้ง เหตุ เกิดขึ้น จาก ความประมาท เลินเล่อ ของ ผู้ตายขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 1,200,000 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน530,000 บาท กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าขึ้นศาล ใน ศาลชั้นต้นตาม ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ชนะคดี ใน ชั้นอุทธรณ์ นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา สุดท้าย มี ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิฟ้อง เรียก ค่า ขาด แรงงาน หรือไม่ เพียงใด ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 445 บัญญัติ ว่า “ใน กรณี ทำให้ เขา ถึง ตาย ฯลฯถ้า ผู้ต้อง เสียหาย มี ความผูกพัน ตาม กฎหมาย จะ ต้อง ทำการ งาน ให้ เป็น คุณแก่ บุคคลภายนอก ใน ครัวเรือน หรือ อุตสาหกรรม ของ บุคคลภายนอก นั้น ไซร้ท่าน ว่า บุคคล ผู้ จำต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน นั้น จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ บุคคลภายนอก เพื่อ ที่ เขา ต้อง ขาด แรงงาน อัน นั้น ไป ด้วย “และ มาตรา 1567 บัญญัติ ว่า “ผู้ใช้ อำนาจปกครอง มีสิทธิ (1) ฯลฯ(3) ให้ บุตร ทำการ งาน ตาม สมควร แก่ ความ สามารถ และ ฐานานุรูป (4) ฯลฯ “ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว ย่อม แสดง ให้ เห็นว่า หาก บิดา หรือ มารดาซึ่ง เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง ได้ มอบ หน้าที่ ให้ บุตร ทำการ งาน อัน ใดอัน หนึ่ง ใน ครัวเรือน แล้ว ปรากฎ ว่า มี บุคคล ใด ทำละเมิด ต่อ บุตรซึ่ง มี ความผูกพัน ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง ทำการ งาน ให้ แก่ บิดา มารดาจน ถึงแก่ความตาย ผู้ทำละเมิด จะ ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน คือค่า ขาด แรงงาน ใน ครัวเรือน ให้ แก่ บิดา มารดา ที่ ต้อง ขาด แรงงาน อัน นั้นด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิเรียกร้องค่า ขาด แรงงาน ดังกล่าว เพราะ ถือว่า แรงงาน บุตร ทำให้ บิดา หรือ มารดาก็ คือ การ อุปการะ เลี้ยงดู อย่างหนึ่ง เท่ากับ เป็น การ ฟ้อง เรียกค่า ขาดไร้อุปการะ นั่นเอง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย เพราะ การ ฟ้องเรียก ค่า ขาด แรงงาน ดังกล่าว มิใช่ การ ฟ้อง เรียก ค่า ขาดไร้อุปการะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม ซึ่ง เจตนารมณ์ของ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย มาตรา นี้ มี ความมุ่งหมาย ว่า หาก มี การ ทำละเมิดจน เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย บิดา หรือ มารดา ของ ผู้ตายก็ ชอบ ที่ จะ ฟ้อง เรียก ค่าสินไหมทดแทน การ ขาดไร้อุปการะ ได้ ตาม กฎหมายโดย ไม่ต้อง คำนึง ว่า ผู้ตาย จะ มี รายได้ หรือ ได้ อุปการะ เลี้ยงดูบิดา มารดา หรือไม่ ก็ ตาม แต่ จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ความ ว่าขณะที่ ผู้ตาย ยัง มี ชีวิต อยู่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ให้ ผู้ตาย ช่วย ดำเนินกิจการ ของ บริษัท วีรา เคมีคัลส์และปราบศัตรูพืช จำกัด ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ จัดตั้ง ขึ้น และ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ผู้มีอำนาจ กระทำการแทน บริษัท ดังนี้ เห็นว่า บริษัท วีวา เคมีคัลส์และปราบศัตรูพืช จำกัด เป็น นิติบุคคล ต่างหาก จาก โจทก์ ทั้ง สอง การ ที่ ผู้ตาย ช่วยดำเนิน กิจการ ของ บริษัท วีวา เคมีคัลส์และปราบศัตรูพืช จำกัด จะ ถือว่า ผู้ตาย ช่วย ดำเนิน กิจการ ของ โจทก์ ทั้ง สอง หาได้ไม่ และ เมื่อผู้ตาย ถึงแก่ความตาย โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง จ้าง บุคคลภายนอก มา ทำงาน แทนผู้ตาย ก็ เป็น การจ้าง มา ทำงาน ให้ แก่ บริษัท วีวา เคมีคัลส์ และปราบศัตรูพืช จำกัด ดังนั้น หาก เป็น กรณี ที่ ต้อง ขาด แรงงาน บริษัท วีวา เคมีคัลส์และปราบศัตรูพืช จำกัด ก็ คือ บุคคล ที่ ต้อง ขาด แรงงาน หาใช่ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ค่า ขาด แรงงาน จาก จำเลย ทั้ง สอง ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ กำหนดค่า ขาด แรงงาน ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ โจทก์ ทั้ง สอง รวมเป็น เงิน 770,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์