คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้เสียหายถูกจำเลยที่6ทำร้ายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกแต่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัดตามความเห็นแพทย์คงเอายามากินที่บ้านตั้งแต่เกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง10เดือนเศษแสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้แม้แพทย์ผู้ตรวจจะทำรายงานว่าต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัดแล้วใช้เวลารักษาอย่างน้อย21วันจึงจะหายเป็นปกติก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของแพทย์ที่กะประมาณไว้ในขณะทำการตรวจซึ่งไม่แน่นอนว่าจะถูกต้องตามนั้นหรือไม่บาดแผลอาจจะหายเร็วกว่ากำหนดไว้นั้นก็ได้ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า20วันอันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส สนามหญ้าบริเวณที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพักอันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายจำเลยที่6เข้าไปในบริเวณดังกล่าวแล้วใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายจึงเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,362, 364, 365, 83
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297, 365(3) ประกอบ มาตรา 364 เป็น การกระทำ กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 2 ปี ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 5
จำเลย ที่ 6 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 6 มี ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 365(1)(3) ประกอบ มาตรา 364เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษตาม มาตรา 365(1)(3) ซึ่ง เป็น บทหนัก จำคุก 2 ปี คำให้การ ชั้น จับกุมและ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 6 เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า ตาม วันเวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง จำเลย ที่ 6 ทำร้ายร่างกายนาย วิเชียร ศรีน้อย ผู้เสียหาย ที่ บริเวณ สนาม หญ้า หน้า บ้าน เลขที่ 82 หมู่ ที่ 5 ตำบล กองควาย อำเภอ เมือง น่าน จังหวัด น่าน ผู้เสียหาย ได้รับ อันตรายแก่กาย มี บาดแผล ตาม รายงาน ผล การ ตรวจ ชันสูตร บาดแผลของ แพทย์ ท้ายฟ้อง
คดี มี ปัญหา มา สู่ การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ ว่า ผู้เสียหาย ได้รับ อันตรายสาหัส หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว โจทก์ มี ผู้เสียหาย เบิกความ ว่า หลังจาก ผู้เสียหาย ถูก ทำร้าย แล้วผู้เสียหาย ไป ตรวจ รักษา ที่ โรงพยาบาล น่าน จาก การ ตรวจ พบ ว่า บริเวณดั้ง จมูก ต้อง รักษา โดย วิธี ผ่าตัด และ ต้อง ใช้ เวลา รักษา ประมาณ 1 เดือนจึง จะ หาย แต่ ผู้เสียหาย มี งาน ที่ จะ ต้อง ทำ จึง ไม่ได้ ทำการ รักษา โดยวิธี ผ่าตัด เพียงแต่ เอา ยา มา กิน ที่ บ้าน จน ปัจจุบัน ซึ่ง อาการ บาดเจ็บที่ ดั้ง จมูก ยัง ไม่ หาย เป็น ปกติ และ โจทก์ มี แพทย์ หญิง สุขเกษม เกษมทรัพย์ แพทย์ ผู้ตรวจ บาดแผล ผู้เสียหาย หลัง เกิดเหตุ ที่ โรงพยาบาล น่าน เบิกความ ว่า ผู้เสียหาย มี บาดแผล ที่ ดั้ง จมูก เป็น รอยฟกช้ำ และ ผิด รูป ใน ช่อง ปาก มี บาดแผล ถลอก ที่ กระ พุ้งแก้ม ขนาด 1 x 2เซนติเมตร บริเวณ สันจมูก มี รอย กระทบ กระแทก อย่าง รุนแรง เป็นเหตุ ให้กระดูก แตก หาก ต้องการ ให้ หาย เป็น ปกติ และ รูปร่าง คง เดิม จะ ต้อง ใช้วิธี ผ่าตัด แต่ ผู้เสียหาย ไม่ยินยอม รักษา จาก บาดแผล ดังกล่าว จะ ต้องใช้ เวลา รักษา อย่างน้อย 21 วัน จึง จะ หาย เป็น ปกติ โดย ต้อง นอน พักรักษา ตัว ที่ โรงพยาบาล อย่างน้อย 7 วัน ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ ผู้เสียหายได้รับ บาดเจ็บ ที่ ดั้ง จมูก และ รักษา โดย กิน ยา มา ตั้งแต่ วันเกิดเหตุจน ปัจจุบัน เป็น เวลา นาน ถึง 10 เดือน เศษ ดั้ง จมูก ยัง หัก อยู่ และยัง หายใจ ไม่ สะดวก แพทย์ ผู้ตรวจ เป็น แพทย์ แผน ปัจจุบัน ทำ รายงานชันสูตร บาดแผล ผู้เสียหาย ตาม หลักวิชา การ ที่ ทัน สมัย ซึ่ง ใช้ เป็นหลัก มาตรฐาน ใน การ กำหนด ระยะเวลา ทำการ รักษา บาดแผล ผู้บาดเจ็บ ตลอดมาก็ ตาม แต่ ปรากฏว่า ผู้เสียหาย มิได้ รักษา โดย วิธี ผ่าตัด คง เอา ยา มา กินที่ บ้าน จน ปัจจุบัน แสดง ว่า ผู้เสียหาย สามารถ ไป ทำงาน หรือ ทำ ธุรกิจอื่น ได้ ส่วน กรณี ที่ แพทย์ ผู้ตรวจ จด บันทึก เกี่ยวกับ ระยะเวลา การรักษา ก็ เป็น เพียง ข้อสันนิษฐาน ของ แพทย์ ที่ กะ ประมาณ ไว้ ใน ขณะ ทำการตรวจ ซึ่ง ไม่แน่ นอน ว่า จะ ถูกต้อง ตาม นั้น หรือไม่ บาดแผล อาจจะ หายเร็ว กว่า กำหนด ไว้ นั้น ก็ ได้ ด้วย เหตุ นี้ จึง ยัง ไม่พอ ฟัง ว่า บาดแผลของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว เป็นเหตุ ให้ ผู้เสียหาย ป่วย เจ็บ ด้วย อาการทุกขเวทนา หรือ จน ประกอบ กรณียกิจ ตาม ปกติ ไม่ได้ เกินกว่า ยี่สิบ วันอัน จะ เข้า ลักษณะ เป็น อันตรายสาหัส ตาม ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ฟัง ว่า ผู้เสียหาย เพียง ได้รับ อันตรายแก่กาย ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 6 ว่า จำเลย ที่ 6มี ความผิด ฐาน บุกรุก หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(4) บัญญัติ ว่า “เคหสถาน ” หมายความ ว่า และ ให้ หมายความรวม ถึง บริเวณ ของ ที่ ซึ่ง เป็น ที่อยู่อาศัย นั้น ด้วย จะ มี รั้ว ล้อมหรือไม่ ก็ ตาม ” ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า วันเกิดเหตุจำเลย ที่ 6 เข้า ไป ทำร้าย ผู้เสียหาย ที่ บริเวณ สนาม หญ้า หน้า บ้านพักซึ่ง เป็น ที่อยู่อาศัย ของ ผู้เสียหาย และ สนาม หญ้า บริเวณ ที่เกิดเหตุตาม แผนที่ สังเขป แสดง สถานที่เกิดเหตุ เอกสาร หมาย จ. 3 ดังกล่าวแม้ จะ เป็น สนาม หญ้า ตลอด ติดต่อ เป็น ผืน เดียว ไม่มี รั้ว ล้อมรอบ ไม่มีเครื่องหมาย แสดง ให้ ทราบ ว่า เป็น แนวเขต ของ บ้านพัก ก็ ตาม แต่ ก็ เป็นที่ เห็น ได้ว่า บริเวณ ที่เกิดเหตุ ซึ่ง เป็น สนาม หญ้า นั้น อยู่ หน้าบ้านพัก ซึ่ง เป็น ที่อยู่อาศัย ของ ผู้เสียหาย ถือได้ว่า จำเลย ที่ 6เข้า ไป ใน เคหสถาน ของ ผู้เสียหาย โดย ไม่มี เหตุอันสมควร และ โดย ใช้กำลัง ประทุษร้าย ผู้เสียหาย จำเลย ที่ 6 จึง มี ความผิด ฐาน บุกรุกตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ที่ จำเลย ที่ 6 ฎีกา ขอให้ ลงโทษ สถาน เบา และ รอ การลงโทษ นั้น เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วางโทษ จำคุก จำเลย ที่ 6 เหมาะสมแก่ รูปคดี แล้ว ไม่มี เหตุ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 6 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share