แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ป่าที่เกิดเหตุเป็นเขตที่ดินจัดสรรซึ่งจะให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยกรมป่าไม้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดำเนินการอนุญาตให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นผู้ทำไม้ออกจากป่า.ป่าไม้จังหวัดมีคำสั่งให้จำเลยที่3พนักงานป่าไม้ประจำสำนักงานป่าไม้อำเภอไปดำเนินการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากเมื่อจำเลยที่3ประทับตราชักลากที่ไม้ซึ่งมีรอยตราอนุญาตให้ตัดฟันจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งต่อเนื่องไปถึงความผิดของจำเลยที่1ซึ่งได้รับอนุญาตจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ทำไม้ออกจากป่าและจำเลยที่2พนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ผู้ควบคุมการทำไม้ให้ไม่มีความผิดไปด้วยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่1ที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213,225.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 12, 73, 74 จำคุก 3 ปี จำเลย ที่ 2 มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด ของ พนักงาน ใน องค์การ หรือหน่วยงาน ของ รัฐ พ.ศ. 2502 จำคุก 4 ปี จำเลย ที่ 3 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 5 ปี ริบ ไม้ ของกลาง คำขอ นอกนั้นให้ ยก เสีย ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำเลย ที่ 3 ฎีกา โดย ผู้พิพากษาซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมย ว่า ‘ข้อเท็จจริง แห่ง คดี ฟัง ยุติ ว่าบริเวณ ป่าทุ่ง โป่งแดง ที่ เกิดเหตุ คดี นี้ เป็น เขต ที่ดิน จัดสรรซึ่ง จะ ให้ ราษฎร เข้า อยู่อาศัย นาย จิตต์ ภัณวเศรษฐ์ ป่าไม้ จังหวัดชุมพร พยาน โจทก์ เอง ก็ เบิกความ ว่า ไม้ ใน ป่า จัดสรร ต้อง ตัด ออกทั้งหมด กรมป่าไม้ จึง ได้ มี หนังสือ ถึง ผู้ว่าราชการ จังหวัด ชุมพรให้ ดำเนินการ อนุญาต ให้ องค์การ อุตสาหกรรม ป่าไม้ เป็น ผู้ทำ ไม้เหล่านี้ ออก จาก ป่า ใน การ นี้ ป่าไม้ จังหวัด ชุมพร ได้ มี คำสั่งให้ จำเลย ที่ 3 ออก ไป ดำเนินการ ตรวจวัด ประทับตรา อนุญาต ชักลากร่วมกับ นาย ศุภฤกษ์ ไทยสมบูรณ์ เจ้าพนักงาน ป่าไม้ อีก คนหนึ่ง ซึ่งออก ไป ทำ หน้าที่ ตรวจวัด ประทับตรา ภาคหลวง โดย มี นาย เติมศักดิ์จันทร์ฉิม เจ้าหน้าที่ ของ องค์การ อุตสาหกรรม ป่าไม้ เป็น ผู้นำตรวจสอบ ประทับตรา จำเลย ที่ 3 หา ได้ ปฏิบัติ การ ประทับตรา แต่ผู้เดียว โดย เอกเทศ ไม่ และ เมื่อ ปฏิบัติ งาน ประทับตรา เสร็จเรียบร้อย แล้ว จำเลย ที่ 3 ยัง ได้ รายงาน การ ตรวจวัด ตีตรา ไม้จำนวน 1,407 ท่อน ให้ ป่าไม้ จังหวัด ชุมพร ทราบ เป็น หลักฐาน ตามเอกสาร หมาย ล.11 พร้อมด้วย บัญชี รายการ ขนาด จำนวน ไม้ ที่ ตรวจวัดประทับตรา ชักลาก ตาม สมุด หมาย ล.12 ซึ่ง รายงาน ของ จำเลย ที่ 3 ก็ตรงกับ รายงาน การ ตรวจวัด ประทับตรา ภาคหลวง หมาย จ.7 ของ นาย ศุภฤกษ์ไทยสมบูรณ์ พยาน โจทก์ นั่นเอง นาย ศุภฤกษ์ ไทยสมบูรณ์ พยาน โจทก์ ได้เบิกความ รับรอง ว่า การ ตีตรา ชักลาก ก็ ดี การ ตีตรา ภาคหลวง ก็ ดีต้อง ตี ตาม บัญชี คัดเลือก ไม้ โดย ต้อง ตรวจดู ตรา คัดเลือก ที่ ตอและ ท่อนไม้ เสียก่อน เมื่อ ปรากฏ ว่า มี ตรา คัดเลือก ดังกล่าว อยู่จึง จะ ตีตรา ชักลาก และ ตีตรา ภาคหลวง ได้ และ เท่าที่ ผ่านมา ก็ เห็นตรา ที่ จำเลย ที่ 3 ตี นั้น มี ตรา คัดเลือก ไม้ อยู่แล้ว นายเติมศักดิ์ จันทร์ฉิม พยาน โจทก์ อีก ปาก หนึ่ง ซึ่ง เป็น เจ้าหน้าที่ของ องค์การ อุตสาหกรรมป่าไม้ ที่ ไป ร่วม ใน การ ตีตรา กับ จำเลย ที่3 ก็ เบิกความ รับรอง ว่า พยาน ได้ เช็ค ไม้ ทุกท่อน ปรากฏ ว่า มีรูปรอย ดวงตรา ครบถ้วน ทุก ท่อน แม้ แต่ พันตำรวจโท สุภรณ์ นิโลดมพนักงาน สอบสวน คดี นี้ ก็ เบิกความ ยอมรับ ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ นำพนักงาน สอบสวน ไป ตรวจ ตอไม้ ซึ่ง ปรากฏ ว่า ยัง มี รูปรอย ตรา อนุญาตให้ ตัดฟัน ติด อยู่ โดย ถูกต้อง โดย ไม่ ได้ ถาก ตรา นั้น ออก ดังปรากฏ ตาม ภาพถ่าย รวม 10 ภาพ ใน เอกสาร หมาย ป.ล.1 ป.ล.2 และ ป.ล.3ซึ่ง ตรงกับ คำ ของ ว่าที่ร้อยตรี กิตติหงษ์ สถิรกุล นายอำเภอ ปะทิวพนักงาน สอบสวน ฝ่าย ปกครอง ซึ่ง เบิกความ เป็น พยาน จำเลย รับรอง ว่าเมื่อ สอบสวน แล้ว ได้ มี การ ออก ไป ชันสูตร ตอไม้ และ ถ่ายภาพ ทำบันทึก ไว้ ตาม เอกสาร หมาย ป.ล.1 และ ป.ล.3 ปรากฏ ว่า ตอไม้ ที่ ไปตรวจ มี รูปรอย ตรา อนุญาต ให้ ตัด ฟัน ถูกต้อง นาย ศุภฤกษ์ ไทยสมบูรณ์พยาน โจทก์ เบิกความ ว่า เหตุ ที่ เกิด คดี นี้ เพราะ ตำรวจ ป่าไม้ มาขอ เงิน 50,000 บาท จาก จำเลย ที่ 1 และ นาย กิมหั่ง ไม่ ให้ จึงดำเนินคดี ตำรวจ ได้ ขอร้อง ให้ จำเลย ที่ 3 ไป ตรวจสอบ ไม้ ถูกต้อง โดยจะ ให้ บันทึก ว่า ไม่ ถูกต้อง ถึง กับ จะ เกิด เรื่อง ชกต่อย กัน บนสำนักงานป่าไม้ ตำรวจ ผู้นั้น คือ ร้อยตำรวจเอก ธวัช แก้วโกมุท ศาลฎีกาพิเคราะห์ พยาน หลักฐาน ใน คดี นี้ แล้ว เห็น ว่า ตาม คำพยาน โจทก์ เองยัง ฟัง ไม่ ได้ ประจักษ์ ชัด ว่า ไม้ 60 ท่อน ของกลาง นี้ เป็น ไม้ ที่ไม่ มี รอย ตรา อนุญาต ให้ ตัด ฟัน การ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง เชื่อว่าไม้ ของกลาง 60 ท่อน เป็น ไม้ ต้นน้ำ ลำธาร อัน ต้องห้าม มิให้ ตัด ฟันนั้น ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ฟัง ขึ้น และ โดยที่ ปัญหา เรื่อง ไม้ ของกลาง 60 ท่อน เป็น ไม้ ที่ มี รูปรอย ตราอนุญาต ให้ ตัด ฟัน หรือไม่ นี้ เป็น เหตุ ใน ลักษณะ คดี ซึ่ง ต่อเนื่องไป ถึง ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ใน คดี นี้ ด้วย กล่าวคือ เมื่อข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ ได้ ว่า ไม้ ของกลาง 60 ท่อน ใน คดี นี้ เป็น ไม้ที่ ไม่ มี รอย ตรา อนุญาต ให้ ตัด ฟัน เช่นนี้ แล้ว ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ยกฟ้อง ตลอด ไป ถึง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ซึ่ง มิได้ ฎีกาด้วย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213, 225’
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ทั้ง สาม ใน คดีนี้ เสีย ทั้งสิ้น.