คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๕ ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ใช้ บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ใช้ บังคับ ก็ยังต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙มาใช้ บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดย การยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๑(๓)
สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรส ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้อง เป็นไปตาม บทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ ตอน ท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔(๑)
การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๗ ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัว ของผู้กระทำโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะ ที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตาม นัยมาตรา ๑๔๙๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

Share