คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2498

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้อง ๆ ขัดทรัพย์ว่าจำเลยได้ขายฝากไว้กับตนโดยชอบด้วยก.ม.โจทก์เถียงว่าการขายฝากระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไม่ชอบด้วย ก.ม. + ฯลฯ สัญญาอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมการขายฝากนั้นทำขึ้นโดยสมยอมไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมก่อนตาม ม.237 แห่ง ป.พ.พ.

ย่อยาว

โจทก์ชนะความจำเลยแล้วยึดที่ดินมีตราจอง ๑ แปลง และเรือน ๒ หลัง ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยเพื่อใช้หนี้โจทก์ ผู้ร้อง ๆ ขัดทรัพย์ว่าเดิมเป็นทรัพย์ของจำเลย ๆ ได้ทำสัญญาขายฝากจดทะเบียนก่อนโจทก์ฟ้องคดีและมีค่าตอบแทนโดยถูกต้องชอบด้วย ก.ม. แล้ว โจทก์แก้ว่าจำเลยและผู้ร้องทำการฉ้อฉลมีเจตนาไม่สุจริตสมคบกันทำสัญญาขายฝากโดยรู้ความจริงว่าทำให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการป้องกันทรัพย์ของจำเลยให้พ้นจากการชำระหนี้ทำให้โจทก์เสียเปรียบ สัญญาขายฝากนั้นใช้ไม่ได้ตาม ก.ม.
ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานและมีคำสั่งว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิขายฝากทรัพย์ที่โจทก์ยึดให้แก่ผู้ร้องไปแล้วจึงไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยโจทก์จะนำยึดไม่ได้ ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อฉลเป็นเรื่องที่โจทก์จะว่ากล่าวกับผู้ร้องและจำเลยอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงให้ถอนการยึดทรัพย์นั้นเสีย
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้องตาม ม.๒๘๘ ป.วิแพ่ง ซึ่งโจทก์เถียงว่าการขายฝากระหว่างจำเลยและผู้ร้องทำขึ้นโดยสมยอมไม่สุจริต ศาลชี้ขาดในประเด็นได้โดยไม่ต้องให้ไปฟ้องขอ+ถอนก่อนอ้างฎีกาที่ ๒๕๔/๘๒ จึงพิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินต่อไปตามกระบวนความ
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าประเด็นข้อโต้เถียงในเรื่องนี้คงมีว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้เป็นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์ของผู้ร้อง ฝ่ายผู้ร้องอ้างว่าเดิมเป็นทรัพย์ของจำเลยแต่จำเลยได้ขายฝากให้แก่ผู้ร้องไว้โดยถูกต้องด้วย ก.ม. แต่ฝ่ายโจทก์ยังคงเถียงว่าการขายฝากระหว่างจำเลยกับผู้ร้องนี้นไม่ชอบด้วย ก.ม. ฯลฯสัญญาขายฝากนั้นจึงใช้ไม่ได้ตาม ก.ม. อันจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงที่ต่างได้เถียงกันเสียก่อนจึงจะชี้ขาดตัดสินคดีได้ และเรื่องเช่นนี้โจทก์ฎีกาจำเป็นต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยและผู้ร้องเสียก่อน ตาม ม.๒๓๗ ป.พ.พ.ไม่ ดังแบบอย่างฎีกาที่ศาลอุทธรณ์
จึงพิพากษายืน

Share