คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความผิดถานไม่ไปขึ้นทเบียนทหานพายไนระยะเวลาที่กดหมายกำหนดไห้โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามกดหมายนั้นเกิดขึ้นไนขนะที่ละเลยไม่ไปขึ้นทเบียนพายไนกำหนดของกดหมาย ครั้งเดียวมิได้เปนความผิดต่อเนื่องเรื่อย ๆ มา.
ประกาสของรัถมนตรีว่าการกะซวงกลาโหม ลงวันที่ 28 ธ.ค. 2483 ที่ไห้ยืดกำหนดเวลาขั้นทเบียนทหานตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาน(ฉบับที่ 3) 2483 ม. 17 ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2484 นั้น มีผลเพียงไม่ไห้เจ้าหน้าที่ดำเนินการว่าจำเลยกะทำผิดเท่านั้น ฉะนั้นหากจำเลยกะทำผิดไว้แล้วก็ต้องถือว่า การกะทำผิดของจำเลยมีหยู่หย่างเดิม มิไช่เพิ่งกะทำผิดเมื่อพ้นกำหนดประกาสของรัถมนตรี.
จำเลยไม่ขึ้นทเบียนทหานเปนความผิดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. แต่โจทฟ้องว่าจำเลยทำผิดวันที่ 1 มี.ค. ดังนี้แม้จำเลยรับสารภาพก็ต้องยกฟ้อง

ย่อยาว

โจทฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยถานไม่ขึ้นทเบียนทหานพายไนกำหนด จำเลยรับสารภาพ
สาลชั้นต้นยกฟ้องโดยเห็นว่าโจทฟ้องผิดวัน
โจทอุธรน์ สาลอุธรน์ฟังว่าจำเลยมีอายุครบจะต้องลงบัญชีไนเดือนพรึสภาคม ๒๔๘๓ ก่อนวันไช้พ.ร.บ.ฉบับที่ ๓ จำเลยไม่ไปลงบัญชีย่อมมีความผิดตามกดหมายเดิม แต่จำเลยได้รับอภัยโทสตาม พ.ร.บ.ยกเลิกความผิดไห้แก่ผู้กะทำผิดกดหมายรับราชการทหาน พ.ส. ๒๔๘๓ ซึ่งประกาสไช้เปนกดหมายเมื่อ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๓ จำเลยจะต้องไปขึ้นทเบี้ยนไน ๓๐ วันนับแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาน(ฉบับที่ ๓) ๒๔๘๓ แต่จำเลยไม่ไปขึ้น ความผิดจึงเกิดขึ้นไนวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ หาไช่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๘๔ ตามฟ้องไม่ หนังสือของรัถมนตรีกลาโหมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความผิด จึงคงพิพากสายกฟ้อง
โจทดีกา สาลดีกาเห็นเช่นเดียวกับสาลอุธรน์และเห็นว่าตามประกาสของรัถมนตรีกลาโหมมีผลเพียงว่าไม่ไห้เจ้าหน้าที่ดำเนินการว่าจำเลยมีความผิดเท่านั้นและกรนีนี้ไม่ไช่เปนเรื่องจำเลยทำผิดเรื่อยมา

Share