คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ครอบครอง และใช้ รถบรรทุก หมายเลข ทะเบียน 84-0375 กรุงเทพมหานคร และ เป็นนายจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ครอบครอง และ ใช้ รถโดยสารปรับ อากาศ หมายเลข ทะเบียน 10-8314 กรุงเทพมหานคร และ เป็นนายจ้าง ของ จำเลย ที่ 4 ส่วน จำเลย ที่ 5 เป็น ผู้ได้รับ สัมปทาน การเดินรถ โดยสาร ประกอบการ ขนส่ง คนโดยสาร โดย รับ รถยนต์ ของจำเลย ที่ 3 เข้าร่วม ขน คนโดยสาร หา ประโยชน์ ร่วมกัน เมื่อ วันที่29 มิถุนายน 2527 โจทก์ โดยสาร รถโดยสาร ปรับ อากาศ หมายเลขทะเบียน 10-8314 กรุงเทพมหานคร จาก กรุงเทพมหานคร ไป ยังจังหวัด ภูเก็ต โดย มี จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ขับ รถโดยสาร ปรับ อากาศคัน ดังกล่าว ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 5 ไปตาม ถนน เพชรเกษม จำเลย ที่ 2 ขับ รถบรรทุก หมายเลข ทะเบียน 84-0375 กรุงเทพมหานคร ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 บรรทุกรถแทรกเตอร์ จาก จังหวัด พังงา มุ่งหน้า ไป ยัง กรุงเทพมหานครแล่น สวนทาง มา ต่าง ขับ รถยนต์ ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวังโดย จำเลย ที่ 4 ขับ รถโดยสาร ปรับ อากาศ ด้วย ความ เร็ว สูง และ แล่น ปัดไป มา จำเลย ที่ 2 ขับ รถบรรทุก ซึ่ง บรรทุก รถแทรกเตอร์ ล้ำ ออก นอก ตัว รถและ ล้ำ แนว กึ่งกลาง ถนน โดย ไม่ได้ ให้ สัญญาณไฟ เป็นเหตุ ให้ ใบ มีดจานไถ ของ รถแทรกเตอร์ ซึ่ง อยู่ บน รถบรรทุก คัน ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ เฉี่ยว ชนถูก ด้านขวา ของ รถโดยสาร ปรับ อากาศ ที่ จำเลย ที่ 4 ขับ ด้านขวาทำให้ โจทก์ และ ผู้โดยสาร หลาย คน ได้รับ อันตรายสาหัส และ ถึงแก่ความตายโดย โจทก์ ได้รับ บาดเจ็บ ต้อง ทำการ ตัด ขา ขวา เหนือ เข่า ทิ้ง เสีย ค่ารักษาพยาบาล ไป รวมทั้งสิ้น 110,147 บาท และ ต้อง ใส่ ขา เทียม เสีย เงินไป 53,000 บาท ทรัพย์สิน โจทก์ เสียหาย ไป เป็น เงิน 17,000 บาทโจทก์ มี อาชีพ เป็น นักข่าว ต้อง เดินทาง ไป ตาม สถานที่ ต่าง ๆ ไม่สามารถประกอบการ งาน ใน ลักษณะ เดิม อีก ต่อไป ได้ คิด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้เป็น เงิน 300,000 บาท และ โจทก์ ต้อง เป็น คน พิการ ตลอด ชีวิตได้รับ ความเสียหาย ต่อ ร่างกาย และ จิตใจ ไม่สามารถ ดำเนิน ชีวิตอย่าง คน ปกติ คิด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ เป็น เงิน 300,000 บาท รวม ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 780,147 บาท จำเลย ทั้ง ห้า ต้อง ร่วมกัน ชดใช้ แก่โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ละเมิดจน ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 58,511 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 838,658 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง ห้า ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน จำนวน 838,658 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน780,147 บาท จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ใบ มีด จานไถ ของ รถแทรกเตอร์ มิได้ ยื่นล้ำ ออก มา นอก ตัวถัง รถบรรทุก และ ล้ำ เส้น กึ่งกลาง ถนน เหตุ เกิดจากจำเลย ที่ 4 ขับ รถโดยสาร ปรับ อากาศ ล้ำ เส้น แบ่ง กึ่งกลาง ถนน เข้า มาใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความ เร็ว สูง แซง รถยนต์ อีก คัน หนึ่งอย่าง กระชั้นชิด แล้ว หัก หลบ เข้า ช่อง เดินรถ ของ ตน ไม่ ทัน จำเลย ที่ 2มิได้ มี ส่วน ประมาท ด้วย ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 50,000 บาท ขา เทียมราคา ไม่เกิน 5,000 บาท ของ โจทก์ ไม่ได้ สูญหาย จาก เหตุ ละเมิดจำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด และ ราคา ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ไม่เกิน3,000 บาท โจทก์ ได้รับ การ รักษา พยาบาล จน หาย ขาด ทำงาน อาชีพ นักข่าวได้ และ สามารถ เดินทาง ไป ยัง สถานที่ ต่าง ๆ ได้ เช่นเดียว กับ บุคคลทั่วไป จึง ไม่ สูญเสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งาน ส่วน ความเสียหายทาง ด้าน จิตใจ โจทก์ ไม่อาจ เรียกร้อง ได้ ตาม กฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า เหตุ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของจำเลย ที่ 2 ที่ ขับ รถ เลย เส้น กึ่งกลาง ถนน เป็นเหตุ ให้ ใบ มีด จานไถแทรกเตอร์ ที่ ยื่น ล้ำ โดย ไม่ได้ ติด โคม ไฟ ให้ สัญญาณ และ ไม่ได้ รับ อนุญาตจาก เจ้าพนักงาน จราจร ตาม กฎหมาย ชน รถโดยสาร ปรับ อากาศ ของจำเลย ที่ 3 เสียหาย มาก ค่าใช้จ่าย ใน การ รักษา พยาบาล เป็น เงิน110,147 บาท จริง หรือไม่ จำเลย ที่ 3 ไม่รับรอง ขา เทียม ราคาไม่เกิน 20,000 บาท เมื่อ เกิดเหตุ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทางหลวงได้ เข้า คุ้มครอง ดูแล ไม่ ปรากฎ ว่า มี ทรัพย์สิน ของ ผู้โดยสาร เสียหายหรือ สูญหาย โจทก์ ไม่นำ ทรัพย์สิน เข้า ระวาง บรรทุก และ แจ้ง ราคา แก่จำเลย ที่ 3 ตาม กฎหมาย จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด โจทก์ ยัง มีความ สามารถ ประกอบ อาชีพ หาก เสียหาย ก็ ไม่เกิน 30,000 บาท โจทก์เรียก ค่า ไม่สามารถ ประกอบ อาชีพ แล้ว จะ เรียก ค่า ทุพพลภาพ อีก ไม่ได้เพราะ เป็น การ ซ้ำซ้อน กัน โจทก์ ควร ได้รับ ไม่เกิน 30,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง จำเลย ที่ 4 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา จำเลย ที่ 5 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 5 ไม่ได้ เป็น นายจ้าง ของ จำเลยที่ 4 และ ไม่เคย รับ รถโดยสาร ปรับ อากาศ หมายเลข ทะเบียน 10-8314กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 3 เข้าร่วม ขน คนโดยสาร หา ผลประโยชน์แบ่งปัน กัน จึง ไม่ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เหตุ รถ ชน เกิดเพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 เพียง ฝ่ายเดียว โจทก์ ไม่ได้รับ ความเสียหาย ถึง จำนวน ตาม ที่ เรียกร้อง มา ขอให้ ยกฟ้อง ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ เรียก บริษัท ไทยประสิทธิประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัย รถบรรทุก หมายเลข ทะเบียน 84/0375 กรุงเทพมหานคร เข้า มา เป็น จำเลยร่วมศาลชั้นต้น อนุญาต จำเลยร่วม ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 นำ รถบรรทุกหมายเลข ทะเบียน 84-0375 กรุงเทพมหานคร ไป รับจ้าง ขนส่งรถแทรกเตอร์ โดย ผิด เงื่อนไข ที่ ตกลง กับ จำเลยร่วม ซึ่ง ระบุ ว่ารถ ที่ จำเลย ที่ 1 เอา ประกันภัย จะ ต้อง ใช้ เป็น รถ ส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้าง หรือ ให้ เช่า เหตุ เกิดขึ้น เพราะ ความประมาท เลินเล่อของ จำเลย ที่ 4 แต่เพียง ฝ่ายเดียว จำเลยร่วม จึง ไม่ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียกร้อง มา สูง เกิน ไป บางกรณีไม่มี กฎหมาย รับรอง ให้ เรียกร้อง ได้ อย่างไร ก็ ตาม จำเลยร่วมจะ รับผิด แทน ผู้เอาประกันภัย เฉพาะ ความเสียหาย ที่ เกิด ต่อ ทรัพย์เท่านั้น และ มี จำนวน ไม่เกิน 25,000 บาท ต่อ คน และ ไม่เกิน 250,000 บาทต่อ เหตุ ที่ เกิดขึ้น 1 ครั้ง ขอให้ ยกฟ้อง จำเลยร่วม ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 5ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ โจทก์ จำนวน 280,147 บาท โดย ให้จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมรับผิด ชำระหนี้ จำนวน 132,102.62 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 119,764.66บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ร่วมรับผิด ชำระหนี้ จำนวน 103,002.44บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน93,382.34 บาท นับแต่ วัน ถัด วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลยร่วม รับผิด ชำระหนี้ จำนวน 71,874.24 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 67,000 บาทนับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ส่วน ที่ ขอ เกิน มา ให้ยก เสีย โจทก์ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ จำเลยร่วม อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมรับผิด เพิ่มขึ้น เป็น เงิน จำนวน 80,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4และ ที่ 5 ร่วมรับผิด เพิ่มขึ้น เป็น เงิน 40,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ร่วมรับผิด ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ที่ จะ ต้อง รับผิด ข้างต้น นับแต่ วัน ถัด จากวันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5ร่วมกัน รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน จำนวน 103,002.44 บาท แก่ โจทก์พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 93,382.34 บาทนัด ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ร่วมกัน รับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เพิ่มขึ้น จำนวน 40,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ที่ จะ ต้อง รับผิดเพิ่มขึ้น นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ เมื่อจำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา ว่า ไม่ต้อง รับผิด จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จึง มี ทุนทรัพย์ เพียง 143,002.44บาท ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จึง ต้องห้าม มิให้ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา ว่า เหตุ ที่ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกันเพราะ จำเลย ที่ 2 เป็น ฝ่าย ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ ฝ่ายเดียวจำเลย ที่ 4 มิได้ มี ส่วน ประมาท เลินเล่อ ด้วย และ ฎีกา โต้เถียง เกี่ยวกับการ กำหนด จำนวน ค่าสินไหมทดแทน ที่ ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4รับผิด นั้น เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าวศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย คง มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์และ จำเลย ที่ 1 ว่า เหตุ ที่ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกัน เพราะ ความประมาทเลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 หรือไม่ และ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ปัญหา แรก ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ว่า เหตุ ที่ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกันเพราะ จำเลย ที่ 2 ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ ด้วย หรือไม่ เพียงใดนั้น ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 ขับ รถบรรทุก ของ จำเลย ที่ 1บรรทุก รถแทรกเตอร์ ซึ่ง มี ใบ มีด จานไถ ยาว 3.97 เมตร มา บน รถโดย รถบรรทุก ของ จำเลย ที่ 1 กว้าง เพียง 2.50 เมตร ใบ มีดจานไถ ของ รถแทรกเตอร์ ย่อม ยื่น ล้ำ ออก มา นอก ตัว รถบรรทุก ของ จำเลย ที่ 1เมื่อ ถนน บริเวณ ที่เกิดเหตุ กว้าง 6 เมตร แบ่ง ออก เป็น ช่อง เดินรถสำหรับ แล่น สวน กัน กว้าง ข้าง ละ 3 เมตร โดย มี เส้นประ แบ่ง ครึ่งกลาง ถนน ที่ จำเลย ที่ 1 นำสืบ ว่า สามารถ ปรับ ใบ มีด จานไถ ของรถแทรกเตอร์ ให้ มี ส่วน ของ ใบ มีด จานไถ ยื่น ออก มา นอก ตัว รถบรรทุกทาง ขวา มือ เพียง 26 เซนติเมตร แม้ จะ ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 สามารถ ปรับใบ มีด จานไถ ให้ เอียง ไป ทาง ขวา ได้ 25 องศา และ ปรับ แล้ว ความยาวของ ใบ มีด จานไถ จะ เหลือ เพียง 3.50 เมตร ตาม ภาพถ่าย หมาย ล. 19ความยาว ของ ใบ มีด จานไถ ก็ ยัง ยาว กว่า ความ กว้าง ของ รถบรรทุก ของจำเลย ที่ 1 ประมาณ 1 เมตร ส่วน ที่ เหลือ อีก ประมาณ 1 เมตรนี้ จะ ต้อง ยื่น ล้ำ เลย กระบะ รถบรรทุก ของ จำเลย ที่ 1 ออก มา ทั้ง สอง ข้างอยู่ ดี เมื่อ ขับ รถ ใน เวลา กลางคืน จำเลย ที่ 2 ผู้ขับ รถ ต้อง ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 15 กฎกระทรวงและ ข้อกำหนด ของ กรมตำรวจ ที่ ออก โดย อาศัย อำนาจ ตาม บทบัญญัติดังกล่าว ที่นาย สมบูรณ์ วิสุทธิผล กรรมการ ของ บริษัท จำเลย ที่ 1และ นาย สนอง ผิวนวล พยาน จำเลย ที่ 1 เบิกความ ว่า นาย สมบูรณ์ ได้ ควบคุม การ บรรทุก และ ได้ ปรับ ใบ มีด จานไถ ใช้ โซ่ มัด ตัว รถแทรกเตอร์แล้ว นำ ไฟ ดวง เล็ก ใส่ กระป๋อง น้ำมัน สี เขียว ติด ไว้ ที่ ปลาย ใบ มีด จานไถทั้ง สอง ข้าง นั้น จำเลย ที่ 4 และ นาย มานะ คูสกุลรัตน์ พยาน จำเลย ที่ 3 เบิกความ ยืนยัน ว่า ใน คืน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ติด ไฟ สัญญาณดังกล่าว ซึ่ง ความ ข้อ นี้ ได้ความ ตาม คำเบิกความ ของ ร้อยตำรวจโท มนูญ สายพิมพ์ พยาน คนกลาง ซึ่ง เป็น พนักงานสอบสวน ที่ ออก ไป ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ หลัง เกิดเหตุ เพียง 1 ชั่วโมง เบิกความ ตอบ คำถามค้านทนายโจทก์ ว่า ไม่พบ สาย ไฟ สัญญาณ ใน ที่เกิดเหตุ และ ที่ ใบ มีด จานไถก็ ไม่มี โคม ไฟ ติด ไว้ ร้อยตำรวจโท มนูญ กระทำการ ตาม หน้าที่ ไม่มี เหตุ ให้ ระแวง สงสัย ว่า จะ เบิกความ ให้ เป็น ประโยชน์ แก่ ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดคำเบิกความ ของ ร้อยตำรวจโท มนูญ จึง มี น้ำหนัก อันควร รับฟัง เมื่อ ฟัง ประกอบ คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 4 และ นาย มานะ แล้ว จึง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ติด ไฟ สัญญาณ ตาม ที่ อ้าง และ เป็นการ ฝ่าฝืน ต่อ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก อันเป็น กฎหมาย ที่ มี ประสงค์เพื่อ จะ ปกป้อง บุคคลอื่น ๆ ต้องด้วย ข้อสันนิษฐาน ว่า จำเลย ที่ 2 เป็นฝ่าย ผิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 นอกจาก นี้ปรากฎ ตาม บันทึก การ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ และ แผนที่ สังเขป แสดง สถานที่เกิดเหตุ ว่า บริเวณ จุด ชน อยู่ ใน ช่อง เดินรถ โดยสาร ปรับ อากาศ เมื่อจำเลย ที่ 1 ไม่อาจ นำสืบ ให้ รับฟัง หักล้าง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 2ขับ รถบรรทุก บรรทุก รถแทรกเตอร์ มี ใบ มีด จานไถ ล้ำ ออก นอก ตัว รถและ ล้ำ เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ โดยสาร จึง เป็น การกระทำ ด้วย ความประมาทเลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย หาใช่ จำเลย ที่ 4 ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อฝ่ายเดียว ไม่ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ต่อไป ว่า โจทก์ได้รับ ความเสียหาย เพียงใด การ ที่ โจทก์ ต้อง สูญเสีย ขา ขวา ไป โจทก์จะ มีสิทธิ เรียก ค่าสินไหมทดแทน เพราะ สูญเสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการงาน กับ ค่าสินไหมทดแทน ที่ โจทก์ ต้อง ตกเป็น คน พิการ หรือไม่ เพียงใดและ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่โจทก์ หรือไม่ เพียงใด นั้น สำหรับ ค่าใช้จ่าย อัน ต้อง เสีย ไป ที่ เป็นค่ารักษาพยาบาล 110,147 บาท ค่า ขา เทียม 53,000 บาท คู่ความมิได้ โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา แต่ ใน ส่วน ค่า ทรัพย์สิน ของ โจทก์ เสียหายโจทก์ นำสืบ ว่า ทรัพย์สิน โจทก์ เสียหาย ไป คิด เป็น เงิน จำนวน 17,000 บาทจำเลย ที่ 1 ให้การ ต่อสู้ คดี ว่า ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ไม่ได้ สูญหายและ นำสืบ ต่อสู้ เพียง ลอย ๆ ว่า โจทก์ อาจ ไม่นำ ทรัพย์สิน ดังกล่าวติดตัว ไป ขณะ เกิดเหตุ ย่อม ไม่อาจ รับฟัง หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ที่ นำสืบ ยืนยัน ได้ ที่ ศาลล่าง กำหนด ค่าสินไหมทดแทน ส่วน นี้ ให้ แก่ โจทก์จำนวน 17,000 บาท นั้น ชอบแล้ว ส่วน ค่า เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการงาน ทั้ง ใน ปัจจุบัน และ อนาคต โจทก์ เรียกร้อง เป็น จำนวน300,000 บาท ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ โจทก์ 100,000 บาท และ ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความเสียหาย อย่างอื่น อัน มิใช่ ตัว เงิน ที่ เป็น ค่า ที่ โจทก์ต้อง ทุพพลภาพ พิการ ตลอด ชีวิต ต้อง ทรมาน ร่างกาย และ จิตใจ โจทก์เรียกร้อง มา 300,000 บาท ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ โจทก์ 120,000 บาทนั้น โจทก์ อ้างว่า มี จำนวน ต่ำ ไป เพราะ โจทก์ สำเร็จ การศึกษา ภาค วิชาสื่อสาร มวลชน จาก มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ขณะ เกิดเหตุ อายุ เพียง 24ปี ประกอบ อาชีพ เป็น นักข่าว หนังสือพิมพ์ ฐาน เศรษฐกิจ ราย สัปดาห์หลัง เกิดเหตุ โจทก์ ถูก ตัด ขา ข้าง ขวา และ ใช้ ขา เทียม นายจ้าง เปลี่ยนหน้าที่ การงาน ของ โจทก์ จาก นักข่าว ให้ ทำงาน เพียง มี หน้าที่ เปิด ซองจดหมาย ทำให้ โจทก์ เสีย ความ ก้าวหน้า รวม ตลอด ทั้ง ต้อง เสีย ค่าใช้จ่ายใน การ ดำรงชีพ เพิ่มขึ้น หลัง เกิดเหตุ นั้น เห็นว่า ค่าสินไหมทดแทนสอง ประการ หลัง นี้ โจทก์ เรียกร้อง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444 และ มาตรา 446 วรรค 1 ตามลำดับ หา ซ้ำซ้อน กัน ไม่แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ มี จำนวน ต่ำ ไป ยัง ไม่ เหมาะสม จึง กำหนดค่าสินไหมทดแทน ที่ โจทก์ เสีย ความ สามารถ ใน การ ประกอบการ งานทั้ง ใน ปัจจุบัน และ อนาคต 150,000 บาท และ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหาย อย่างอื่น ที่ มิใช่ ตัว เงิน เป็น เงิน 160,000 บาท รวมเป็น ค่าสินไหมทดแทน ของ โจทก์ รวมทั้งสิ้น 490,147 บาท ส่วน ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์โดย ไม่ แยก ความรับผิด เป็น 2 ฝ่าย หรือไม่ นั้น ข้อเท็จจริง ใน ส่วน ของจำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 เป็น อัน ยุติ ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่าเมื่อ เกิดเหตุ และ จำเลย ที่ 4 ห้ามล้อ แล้ว รถโดยสาร ปรับ อากาศ ที่จำเลย ที่ 4 ขับ ยัง คง มี ความ เร็ว 30 ถึง 40 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงอัตรา ความ เร็ว ของ รถ ก่อน ที่ จำเลย ที่ 4 จะ ห้ามล้อ ต้อง มาก กว่า ที่ห้ามล้อ แล้ว ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา ว่า จำเลย ที่ 4 ขับ รถโดยสาร ปรับ อากาศด้วย ความ เร็ว สูง ดัง ที่ โจทก์ เบิกความ เมื่อ จำเลย ที่ 4 ขับ รถโดยสารปรับ อากาศ ใน เวลา กลางคืน และ ขับ ลง เนินซึ่ง ความ เร็ว ของ รถยนต์จะ ต้อง เพิ่มขึ้น กว่า เดิม ขณะ เดียว กัน มี แสง ไฟ ของ รถยนต์ ที่ สวน มาเห็น ได้ ไกล จำเลย ที่ 4 จะ ต้อง เพิ่ม ความระมัดระวัง ให้ มาก ขึ้นโดย ลด ความ เร็ว ให้ ช้า ลง แต่ จำเลย ที่ 4 ยัง คง ขับ รถโดยสาร ปรับ อากาศต่อไป ด้วย ความ เร็ว สูง จน เกิด อุบัติเหตุ จึง เป็น ความประมาท เลินเล่อของ จำเลย ที่ 4 เมื่อ เป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถบรรทุก รถแทรกเตอร์ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ มา โดย ใบ มีด จานไถ ของ รถแทรกเตอร์ ล้ำ ออก นอก ตัว รถและ ล้ำ เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ โดยสาร ปรับ อากาศ และ โจทก์ ได้รับบาดเจ็บ สาหัส นั้น เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ข้างต้น เป็น เรื่องที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ต่าง ฝ่าย ต่าง ทำละเมิด โดย ไม่ได้ ร่วมกันจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 แต่ละ ฝ่าย จึง ไม่ต้อง ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด แก่ โจทก์ ทั้งนี้ ค่าสินไหมทดแทน จะ พึง ใช้ โดย สถาน ใด เพียงใดนั้น ให้ ศาล วินิจฉัย ตาม พฤติการณ์ และ ความ ร้ายแรง แห่ง ละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง แบ่ง ส่วนแห่ง ความรับผิด โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับผิด 2 ส่วน ส่วน จำเลยที่ 3 ถึง ที่ 5 รับผิด 1 ส่วน นับ ว่า ถูกต้อง และ เหมาะสม แล้ว ไม่มีเหตุ ที่ ศาลฎีกา จะ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วนส่วน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4 ฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ทุนทรัพย์ ใน ชั้นฎีกา ของ โจทก์ มี จำนวน 380,000 บาท โจทก์เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ใน จำนวน ทุนทรัพย์ 411,700 บาท และ ทุนทรัพย์ใน ชั้นฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 มี จำนวน 143,002.44 บาท แต่จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา มา ใน จำนวน ทุนทรัพย์320,147 บาท โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จึง เสีย ค่าขึ้นศาลเกิน มา จึง ให้ คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ใน จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ เสีย เกิน มาดังกล่าว แก่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 ที่ 4” พิพากษาแก้ เป็น ว่า กับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมรับผิด เพิ่มขึ้น อีก 60,000 บาท และ ให้ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ร่วมรับผิดเพิ่มขึ้น อีก 30,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share