คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือน ก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยุ่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ป.ม.แพ่งฯบรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่า ๆกัน ถ้ามีภรรยา 2 คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียว และในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ภริยาหลวงได้ 2 ส่วน ภริยาน้อยได้1 ส่วน

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า นายย้อนมีภริยา ๒ คน คือนางจำเป็นโจทก์ที่ ๑ เป็นภรรยาหลวง มีบุตร ๔ คน คือโจทก์ในคดีนี้ จำเลยเป็นภรรยาน้อย มีบุตร ๑ คน บัดนี้นายย้อนถึงแก่กรรม ทรัพย์อันเป็นสินสมรสตกอยู่ที่จำเลย โจทก์ขอแบ่งจำเลยไม่ยอม จึงขอให้ศาลบังคับ
จำเลยต่อสู้ว่า ทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่งได้เอาเงินสินเดิมของจำเลยไปซื้อ จึงต้องเป็นสินเดิมของจำเลย จะเอาไปแบ่งไม่ด้
ศาลชั้นต้นฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลย จึงพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า ที่บ้านและห้องแถวนั้น จำเลยซื้อด้วยเงินที่จำเลยขายเรือนและยุ้งข้าวโดยเรือนและยุ้งข้าวนี้ จำเลยได้รับมรดกมาจากบิดามารดา ได้ความว่าบิดามารดาตาย ภายหลังจำเลยได้กับนายย้อนแล้ว เรือนและยุ้งข้าวนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นสินสมรส หาใช่เป็นสินเดิมของจำเลยไม่เมื่อจำเลยขายสินสมรส หาใช่เป็นสินเดิมของจำเลยไม่ เมื่อจำเลยขายสินสมรสได้เงิน เอามาซื้อที่บ้านและห้องแถว ดังนี้
ที่บ้านและห้องแถวก็ต้องตกเป็นสินสมรส นาพิพาทก็เป็นสินสมรสเช่นกัน และฟังว่า นายย้อนและจำเลยต่างไม่มีสินเดิม จึง พิพากษาแก้ว่า ที่บ้านและห้องแถวพิพาทกับที่นาพิพาทเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและนายย้อน ให้แบ่งเป็น ๓ ส่วน ให้จำเลยได้ ๑ ส่วน นายย้อน ๒ ส่วน ส่วนของนายย้อนให้แบ่งเป็น ๑๐ ส่วน ได้แก่บุตรนายย้อนกับโจทก์ ๘ คน กับบุตรที่เกิดกับจำเลย ๑ คน คนละ ๑ ส่วน อีก ๑ ส่วนได้แก่โจทก์กับจำเลยร่วมกัน และแบ่งส่วนที่ได้แก่โจทก์ที่ ๑ และจำเลยนี้ให้แบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ++ สองส่วน ได้++จำเลยหนึ่งส่วน ฯลฯ

Share