คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1246(6)ศาลจะสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ต่อเมื่อพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนนั้นบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่หรือมิฉะนั้นเห็นว่าเป็นการยุติธรรมที่จะให้บริษัทได้กลับคืนขึ้นทะเบียนอีกเพราะฉะนั้นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจึงต้องอ้างเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย บริษัท ท. เป็นลูกหนี้ผู้ร้องอยู่การที่บริษัท ท. ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้างผู้ร้องย่อมไม่อาจดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ดังนี้ถือว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัท ท. ให้คืนสถานะเป็นนิติบุคคลได้ เมื่ออุทธรณ์อุทธรณ์ในเรื่องใดอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยชอบที่จะยกปัญหานั้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงจะถือว่าเป็นข้อที่ไม่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ มี คำสั่ง ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร กลับ จด ชื่อ บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ให้ คืน สถานะ เป็น นิติบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1246(6)
ผู้คัดค้าน ซึ่ง เป็น กรรมการ บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ก่อน ที่ บริษัท ถูก ขีด ชื่อ ออกจาก ทะเบียน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ใน ขณะที่ขีด ชื่อ บริษัท จาก ทะเบียน นั้น บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ได้ เลิก ทำการ ค้า และ มิได้ ประกอบ กิจการ งาน แต่ ประการใด ขอให้ยกคำร้อง ขอ
ศาลชั้นต้น ให้ยก คำร้องขอ
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่ามีเหตุ สมควร ที่ ศาล จะ สั่ง ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานครกลับ จด ชื่อ บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ให้ คืน สถานะ เป็น นิติบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) หรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) ศาล จะ สั่ง ให้จด ชื่อ บริษัท กลับคืน เข้า สู่ ทะเบียน ก็ ต่อเมื่อ พิจารณา ได้ความ เป็นที่ พอใจ ว่า ใน ขณะที่ ขีด ชื่อ บริษัท ออกจาก ทะเบียน นั้น บริษัท ยัง ทำการค้า ขาย หรือ ยัง ประกอบการ งาน อยู่ หรือ มิฉะนั้น เห็นว่า เป็น การยุติธรรม ที่ จะ ให้ บริษัท ได้ กลับคืน ขึ้น ทะเบียน อีก เพราะ ฉะนั้น คำร้องขอให้ ศาล มี คำสั่ง ดังกล่าว จึง ต้อง อ้าง เหตุ อย่างใด อย่างหนึ่ง และต้อง พิสูจน์ ให้ ศาล เห็น ตาม ข้อ กล่าวอ้าง นั้น ด้วย คือ (1) ความจริงขณะที่ ถูก ขีด ชื่อ ออกจาก ทะเบียน บริษัท ยัง ทำการ ค้าขาย หรือ ประกอบการงาน อยู่ หรือ (2) เพื่อ ความเป็นธรรม ควร ให้ บริษัท กลับคืนขึ้น ทะเบียน อีก ตาม คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ได้ กล่าวอ้าง ว่า ใน ขณะที่บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ถูก ขีด ชื่อ เป็น บริษัท ร้าง นั้น บริษัท ดังกล่าว เป็น ลูกหนี้ ของ ผู้ร้อง อยู่ จึง เป็นเหตุ ให้ ผู้ร้องไม่สามารถ ดำเนินคดี แก่ บริษัท ดังกล่าว ได้ อันเป็น เหตุ ให้ ผู้ร้องได้รับ ความเสียหาย เพราะ ไม่อาจ ดำเนินคดี แก่ บริษัท ดังกล่าว ได้และ ผู้ร้อง นำสืบ ว่า ผู้ร้อง ได้ ออก หนังสือ ค้ำประกัน บริษัท ดังกล่าวต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ที่ ได้ ทำ สัญญา ไว้ กับ กองทัพบก ต่อมา บริษัท ดังกล่าว ผิดสัญญา ต่อ กองทัพบก และ บริษัท ดังกล่าว ไม่ยอม ชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ยอม ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ผู้ร้อง ใน ฐานะ ชำระหนี้ จำนวน 187,700 บาท พร้อม ดอกเบี้ย รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น290,137.92 บาท ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แทน บริษัท ดังกล่าว แล้ว จะ ใช้ สิทธิ ไล่เบี้ย เอา จาก บริษัท ดังกล่าว แต่ บริษัท ดังกล่าวถูก ขีด ชื่อ เป็น บริษัท ร้าง ผู้ร้อง จึง ไม่สามารถ ดำเนินคดี แก่ บริษัทดังกล่าว ได้ จึง ได้รับ ความเสียหาย ฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ย่อม ไม่ได้รับ ความเป็นธรรม เพราะ ผู้ร้อง ได้ ชำระหนี้ แทน บริษัท ดังกล่าว ไป แล้วไม่สามารถ จะ ฟ้องร้อง เอาคืน จาก บริษัท ดังกล่าว ได้ เห็นว่า คำร้องขอของ ผู้ร้อง ได้ กล่าวอ้าง และ นำสืบ ได้ว่า ผู้ร้อง ได้รับ ความเสียหายซึ่ง ไม่เป็นธรรม แก่ ผู้ร้อง แล้ว ผู้ร้อง ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล เพื่อ ให้ ศาล สั่ง ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานครกลับ จด ชื่อ บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ให้ คืน สถานะ เป็น นิติบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) ที่ผู้คัดค้าน แก้ ฎีกา ว่า สัญญาค้ำประกัน มีผล สิ้นสุด ลง ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2525 ผู้ร้อง ย่อม ยกขึ้น ต่อสู้ ได้ แต่ ผู้ร้อง ก็ หา ได้ทำ เช่นนั้น ไม่ ผู้ร้อง กลับ ชำระหนี้ ตาม อำเภอ ใจ ผู้ร้อง จึง สิ้น สิทธิไล่เบี้ย เอา จาก ลูกหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 695นั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้น พิพากษายก คำร้องขอ โดย ไม่ วินิจฉัย ปัญหาที่ ว่า ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน มีสิทธิ ไล่เบี้ย เอา จาก บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ลูกหนี้ หรือไม่ เมื่อ ผู้ร้อง อุทธรณ์ ผู้คัดค้าน ชอบ ที่ จะ ยก ปัญหา ดังกล่าว ตั้ง ประเด็น ไว้ ใน คำแก้อุทธรณ์แต่ ผู้คัดค้าน ก็ มิได้ แก้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา เรื่อง นี้ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยส่วน ที่ ผู้คัดค้าน แก้ ฎีกา ว่า ประเด็น ที่ ว่า เมื่อ ศาล เห็น เป็น การยุติธรรม แก่ เจ้าหนี้ ใน การ ที่ จะ ให้ บริษัท ดังกล่าว ได้ กลับคืนขึ้น ทะเบียน อีก ครั้งหนึ่ง นั้น เป็น ประเด็น ที่ ผู้ร้อง มิได้ ยกขึ้นกล่าวอ้าง ใน ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่ควร วินิจฉัย ให้ นั้น เห็นว่าตาม คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ได้ กล่าวอ้าง แล้ว ว่า ใน ขณะที่ บริษัท ดังกล่าวถูก ขีด ชื่อ เป็น บริษัท ร้าง บริษัท ดังกล่าว เป็น ลูกหนี้ ของ ผู้ร้องจึง เป็นเหตุ ให้ ผู้ร้อง ไม่สามารถ ดำเนินคดี แก่ บริษัท ดังกล่าวได้ และ ได้รับ ความเสียหาย ย่อม มี ความหมาย ว่า ผู้ร้อง ไม่ได้ รับ ความเป็น ธรรม นั่นเอง จึง มิใช่ เรื่อง นอกประเด็น แต่อย่างใด ที่ ศาลล่างทั้ง สอง ยกคำร้อง ขอ ของ ผู้ร้อง นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานครกลับ จด ชื่อ บริษัท เทพอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด ให้ คืน สถานะ เป็น นิติบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)

Share