คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2541

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง เช่าซื้อ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์โดยผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้นายปัญญา สุวรรณศรีสุข และหรือนายสัมพันธ์ ศรีโมรา เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑เช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส ๒๘๐ ป้ายแดง ไปจากโจทก์ในราคา๓,๘๕๕,๑๔๐.๔๐ บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ ๖๐ งวด งวดละเดือนเดือนละ ๖๔,๒๕๒.๓๔ บาท มีจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกัน ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์เพียง ๒ งวด คือชำระถึงงวดเดือนกันยายน ๒๕๓๗ เท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์อีกเลย อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดและส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์คิดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์ยังขาดประโยชน์เทียบกับค่าเช่ารถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งสามารถให้เช่าได้อย่างต่ำเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาทคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๙ เดือน เป็นเงิน ๔๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อยหากส่งคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองชำระราคาแทน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาทให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ ๔๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าชำระเสร็จ กับอีกเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือชำระราคาแทน
จำเลยทั้งสองให้การว่า การมอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันพิพาทเพราะเป็นรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โจทก์ไม่ได้เป็นผู้สั่งนำเข้ามาในประเทศไทยจำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส ๒๘๐ ป้ายแดง ไปจากโจทก์ในราคา ๓,๘๕๕,๑๔๐.๔๐ บาท และชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ๒ งวดรวมเป็นเงิน ๑๒๐,๕๐๔.๖๘ บาท แต่โจทก์ไม่สามารถเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการที่จำเลยที่ ๑ จะได้ใช้รถยนต์คันพิพาทให้สมประโยชน์ และถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ จึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์อีก โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง หากโจทก์ได้รับความเสียหายก็ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทจำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือทวงถามจากโจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ ๑ ส่งมอบรถยนต์ยี่ห้อ เบนซ์ เอส ๒๘๐ หมายเลขเครื่องยนต์ ๑๐๔๙๔๔ – ๒๒ – ๐๐๕๘๘๘หมายเลขตัวถัง ดับบลิวดีบี ๑๔๐๐๒๘ – ๒ เอ – ๒๐๘๑๐๔ คันพิพาทคืนโจทก์หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ราคา ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาทแทนและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๘๙,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ๒๑,๐๐๐ บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนแต่ทั้งนี้ไม่เกิน ๖ เดือน นับแต่วันทราบคำพิพากษานี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีกรรมการและอำนาจกรรมการ ตามเอกสารหมาย จ.๑ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้มอบอำนาจช่วงให้นายปัญญา สุวรรณศรีสุข และหรือนายสัมพันธ์ศรีโมรา เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน ตามเอกสารหมาย จ.๒ และ จ.๓โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส ๒๘๐ หมายเลขเครื่องยนต์๑๐๔๙๔๔ – ๒๒ – ๐๐๕๘๘๘ ตามเอกสารหมาย จ.๙ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์ในราคา๓,๘๕๕,๑๔๐.๔๐ บาท ตกลงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ๖๐ งวด งวดละเดือนเดือนละ ๖๔,๒๕๒.๓๔ บาท ชำระงวดแรกวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๗งวดต่อไปทุกวันที่ ๒๕ ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบ มีจำเลยที่ ๒เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามเอกสารหมาย จ.๔และ จ.๕ จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ ๒ งวด แล้วไม่ชำระอีกโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ตามเอกสารหมาย จ.๖ ถึงจ.๘ จำเลยทั้งสองเพิกเฉย โจทก์ขอคิดราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นเงิน๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท และค่าขาดประโยชน์เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาทนับแต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๗ คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๙ เดือนรวมเป็นเงิน ๔๕๐,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสองนำสืบว่า เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๗จำเลยที่ ๑ ไปติดต่อกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญเกียรติออโต้ซัพพลายเพื่อขอซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส ๒๘๐ ป้ายแดง ง – ๓๘๔๑นายบุญเกียรติ หุ้นส่วนผู้จัดการตกลงขายรถยนต์คันดังกล่าวแก่จำเลยที่ ๑ ในราคา ๔,๓๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ ชำระเงินบางส่วนแล้ว โดยการนำรถยนต์ยี่ห้อเบ็นซ์ รุ่น ๒๒๐ ซีอี สีแดงหมายเลขทะเบียน ๘ อ – ๔๙๔๔ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นของบุตรชายไปให้นายบุญเกียรติโดยถือเป็นการชำระเงินจำนวน๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือนายบุญเกียรติ ให้จำเลยที่ ๑ผ่อนชำระ โดยทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์แล้ว ๒ งวด แต่โจทก์ไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเมื่อนำรถยนต์ออกมาใช้หลายครั้ง จำเลยที่ ๑จึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์อีก
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส ๒๘๐ ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา๓,๘๕๕,๑๔๐.๔๐ บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา ๖๐ เดือน เดือนละ ๖๔,๒๕๒.๓๔ บาท โดยมีจำเลยที่ ๒เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง ๒ งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.๑ ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.๒ และ จ.๓ จึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๓๘ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.๑ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๙๓ (๑) ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ ๓ (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ ๑ ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไปโดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ ๘,๐๐๐ บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ.

Share