แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.1ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ในส่วนนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา3ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา2จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยต่อไปว่าแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้วก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมอย่างไรไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายและแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(4)ประกอบด้วยมาตรา246ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบด้วยมาตรา247
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออกจาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3979 เลขที่ ดิน 19 หน้า สำรวจ 317ตำบล ยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัด นครสวรรค์ และ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ปี ละ 1,800 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจำเลย จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท เนื่องจากนาย ชุ่ม นำ ที่ดินพิพาท มา ขายฝาก แก่ จำเลย มี กำหนด ไถ่ถอน 3 ปี ครบ กำหนด แล้ว นาย ชุ่ม ไม่ ไถ่ถอน จำเลย เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ต่อมา ด้วย ความสงบ เปิดเผย และ ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ โดย ไม่มี ผู้ใดโต้แย้ง เป็น เวลา ติดต่อ กัน จน ถึง ปัจจุบัน 13 ปี เศษ จำเลย จึง ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน แปลง นี้ ด้วย การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลย ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อโจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 อันเป็น วันที่ ศาล เริ่มต้น ทำการสืบพยาน จำเลย ซึ่ง จำเลย เป็น ฝ่าย นำสืบ ก่อน นั้น โจทก์ ได้ ยื่นคำแถลง พร้อม บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม อ้าง สัญญาเช่า ที่นา ระหว่างนาย ชุ่ม กับ โจทก์ จำเลย ได้รับ สำเนา คำแถลง พร้อม บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม แล้ว ไม่ แถลง คัดค้าน ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ โจทก์ ยื่น บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม ได้ จำเลย เบิกความ ใน วันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ว่า”จำเลย ไม่ทราบ เรื่อง สัญญาเช่า ระหว่าง นาย ชุ่ม กับ โจทก์ เพราะ โจทก์ ไม่ได้ ส่ง สำเนา สัญญา ให้ จำเลย ก่อน วัน นี้ ” ต่อมา วันที่ 11 กันยายน2534 จำเลย นำสืบ นาย ชุ่ม โจทก์ ได้ อ้าง สัญญาเช่า ตาม บัญชี ระบุพยาน เพิ่มเติม ใน การ ถาม ค้านพยาน ต่อ ศาล จำเลย ไม่ คัดค้าน ว่าโจทก์ อ้าง สัญญาเช่า ดังกล่าว ฝ่าฝืน ต่อ ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ศาลชั้นต้น รับ สัญญาเช่า ดังกล่าว ไว้ หมาย จ. 1
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า สัญญาเช่าเอกสาร หมาย จ. 1 ที่นาย ชุ่ม ทำ สัญญาเช่า ที่นา 9 ไร่ 2 งาน ตำบล ยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัด นครสวรรค์ จาก โจทก์ นั้น ต้องห้าม รับฟัง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87, 90 เดิมเนื่องจาก โจทก์ ไม่ได้ ส่ง สำเนา ให้ จำเลย ก่อน วัน (ที่ ศาล เริ่มต้น ทำการ )สืบพยาน จำเลย ซึ่ง เป็น ฝ่าย นำสืบ ก่อน โจทก์ ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย ว่าเอกสาร หมาย จ. 1 โจทก์ ส่ง อ้าง ตาม บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม จึง ส่งสำเนา เอกสาร ให้ จำเลย ใน วัน ระบุพยาน เพิ่มเติม ได้ ไม่ต้อง ส่ง สำเนา ให้จำเลย ก่อน วันที่ ศาล เริ่มต้น ทำการ สืบพยาน นัดแรก จึง ไม่ต้องห้าม รับฟังตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87, 90 เดิม แต่ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 กลับ วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ยื่น บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม อ้างว่า หลงลืม พลั้งเผลอ โดย ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ไม่สามารถ ทราบ ได้ว่า ต้อง นำ หนังสือ เช่า มา สืบ และ โจทก์ ไม่ทราบ ว่าหนังสือ เช่า นั้น มี อยู่ จึง เป็น ข้อ แก้ตัว ที่ ยาก จะ รับฟัง เมื่อ กฎหมายกำหนด หน้าที่ ของ คู่ความ ใน การ ระบุ อ้าง พยาน ไว้ โดย ชัดเจน เช่นนี้ จะ ยกประโยชน์ แห่ง ความยุติธรรม มา ใช้ อย่าง ฟุ่มเฟือย หา ควร ไม่ เพราะความยุติธรรม นั้น จะ ต้อง เป็น ไป เพื่อ คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย มิใช่ เพื่อฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่ ฝ่ายเดียว กรณี ไม่มี เหตุสมควร ที่ จะ อนุญาตให้ โจทก์ ระบุพยาน เพิ่มเติม ” เห็นว่า คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ใน ส่วน นี้ ย่อม เห็น ได้ว่า เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น แห่ง คำอุทธรณ์และ เป็น การ นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3ซึ่ง เป็น บท กฎหมาย ที่ มิได้ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะที่ โจทก์ ดำเนินกระบวนพิจารณา ดังกล่าว มา วินิจฉัย เป็น การ ไม่ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13)พ.ศ. 2535 มาตรา 2 ที่ บัญญัติ ว่า “พระราชบัญญัติ นี้ ให้ ใช้ บังคับเมื่อ พ้น กำหนด หนึ่ง ร้อย ยี่สิบ วัน นับแต่ วันประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น ไป เว้นแต่ มาตรา 9 ให้ ใช้ บังคับ ตั้งแต่ วัน ถัด จาก วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ไป ” เมื่อ พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 ได้ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2535 จึง เห็น ได้ว่า เป็น การนำ กฎหมาย ที่ บังคับ ใช้ ภายหลัง มา ใช้ บังคับ ย้อนหลัง ต่อ กระบวนพิจารณาที่ ล่วงเลย มา แล้ว ย่อม เป็น การ ไม่ชอบ นอกจาก นี้ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 ก็ ได้ บัญญัติ ยกเว้น ไว้ โดยชัดแจ้ง ว่า”พระราชบัญญัติ นี้ ไม่ใช่ บังคับ แก่ บรรดา คดี ที่ ได้ ยื่นฟ้อง ไว้ แล้ว ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ และ ให้ ใช้ กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ใน วันที่ ยื่นฟ้อง นั้น บังคับ แก่ คดี ดังกล่าว จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุดเว้นแต่ มาตรา 9 ให้ ใช้ บังคับ แก่ บรรดา คดี ที่ ได้ ยื่นฟ้อง ไว้ แล้วก่อน วันที่ พระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ ด้วย ” ฉะนั้น การ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 มา ใช้ บังคับ ใน กรณี นี้ จึงเป็น การ ไม่ชอบ สำหรับ คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ใน ตอน ต่อมา ที่ ว่า”แม้ ศาลชั้นต้น อนุญาต และ โจทก์ อ้าง เอกสาร ที่ ระบุพยาน เพิ่มเติมเป็น พยาน แล้ว ก็ ย่อม ต้องห้าม มิให้ รับฟัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 และ 90″ นั้นก็ หา ได้ แสดง เหตุผล แห่ง คำวินิจฉัย ว่า ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้าง บทบัญญัติ ของ กฎหมาย และ แปล ความหมาย ของ บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ แล้ว นำข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ อุทธรณ์ นั้น ปรับ เข้า กับ ข้อกฎหมาย จึง เป็น การไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วย มาตรา 246 ซึ่ง บัญญัติ ไว้ มี ใจความ ว่า คำพิพากษา ให้ ทำเป็น หนังสือ และ ต้อง กล่าว หรือ แสดง เหตุผล แห่ง คำวินิจฉัย ทั้งปวงและ บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้ ว่าด้วย การ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสินคดี ใน ศาลชั้นต้น นั้น ให้ ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสิน คดี ในชั้นอุทธรณ์ โดย อนุโลม ดังนี้ เมื่อ คดี ปรากฏ เหตุ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2มิได้ ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษา ศาลฎีกา อาศัย อำนาจ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบ ด้วย มาตรา 247 เห็นสมควร ให้ ส่ง สำนวนคืน ไป ยัง ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 เพื่อ ให้ พิพากษา ใหม่
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ให้ ส่ง สำนวน คืน ไป ยังศาลอุทธรณ์ ภาค 2 เพื่อ พิพากษา ใหม่ ค่าฤชาธรรมเนียม ใน ชั้นฎีกาให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 รวม สั่ง เมื่อ พิพากษา ใหม่ และ หาก โจทก์ ฎีกา คัดค้านคำพิพากษา ใหม่ ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ก็ ให้ยก เว้น ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาแก่ โจทก์