คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่30ธันวาคม2535ที่วินิจฉัยในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่าผู้ร้องได้อ่านหรือทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่31มกราคม2534แล้วตั้งแต่วันที่25ธันวาคม2534จึงให้ถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534ให้ผู้ร้องฟังแล้วนับแต่วันที่25ธันวาคม2534ผู้ร้องไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบอย่างไรหรือไม่จึงต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534ให้ผู้ร้องฟังแล้วตั้งแต่วันที่25ธันวาคม2534การที่ผู้ร้องยื่นฎีกาฉบับลงวันที่8เมษายน2536คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับลงวันที่31มกราคม2534มาดังกล่าวจึงเป็นการยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังฎีกาของผู้ร้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง จาก ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ว่า ผู้ร้อง มิใช่ ผู้มีส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ประกอบ มาตรา 280ไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้อง ให้ยก คำร้อง ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง เมื่อ ได้มี การ ส่ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ไป ให้ศาลชั้นต้น อ่าน ให้ คู่ความ ฟัง ศาลชั้นต้น แจ้ง ทนาย ผู้ร้อง ให้ มา ฟังคำพิพากษา โดย วิธี ปิด หมาย ครั้น ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ใน วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ มา ศาล โจทก์และ ผู้ร้อง ไม่มา ศาลชั้นต้น ได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ฟัง และ ให้ ถือว่า ได้ อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ โจทก์ และ ผู้ร้อง ฟัง แล้ว
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ว่า ทนายผู้ร้อง ได้ ย้าย ภูมิลำเนา ไป ก่อน ที่ จะ มี การ ปิด หมายนัด ฟัง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไว้ ที่ ภูมิลำเนา เดิม ทนาย ผู้ร้อง จึง ยัง ไม่ทราบ วันนัดฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่า ได้ มี การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ตาม กฎหมาย โดยชอบ ขอให้ เพิกถอน การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน การ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ใหม่
ศาลชั้นต้น สอบ ข้อเท็จจริง แล้ว เห็นว่า ได้ มี การ อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไป โดยชอบ แล้ว ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่30 ธันวาคม 2535 ว่า ขณะที่ พนักงานเดินหมาย ปิด หมายนัด ฟัง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ณ ภูมิลำเนา เดิม ของ ทนาย ผู้ร้อง ทนาย ผู้ร้อง ได้ ย้ายจาก ภูมิลำเนา ดังกล่าว ไป อยู่ ที่อื่น แล้ว จะ ถือว่า ได้ ส่งหมาย นัดโดยชอบ แล้ว ไม่ได้ การ ที่ ทนาย ผู้ร้อง ไม่ได้ มา ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึง เป็น เรื่อง ที่ ยัง ไม่ทราบ วันนัด ที่ ศาลชั้นต้น ให้ ถือว่า ได้ อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ผู้ร้อง ฟัง แล้ว จึง ยัง ไม่ชอบ แต่ เนื่องจาก ผู้ร้อง ได้ แจ้ง ไว้ ตาม คำร้อง ว่า ได้ ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้วตั้งแต่ วันที่ 25 ธันวาคม 2534 ฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ได้ อ่าน หรือ ทราบคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เอง แล้ว จึง ให้ ถือว่า ศาลชั้นต้น ได้ อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2534 แล้ว นับแต่ วันนั้นและ ไม่มี เหตุ ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษา ใหม่ อีก พิพากษายก คำสั่งศาล ชั้นต้น
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ ที่ ผู้ร้อง ยื่นฎีกา ฉบับ ลงวันที่ 8เมษายน 2536 คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม2534 มา นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่30 ธันวาคม 2535 ที่ วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง ได้ อ่าน หรือ ทราบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2534 แล้ว ตั้งแต่ วันที่25 ธันวาคม 2534 จึง ให้ ถือว่า ศาลชั้นต้น ได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ฉบับ ดังกล่าว ให้ ผู้ร้อง ฟัง แล้ว นับแต่ วันที่ 25 ธันวาคม 2534 นั้นผู้ร้อง ไม่ได้ ฎีกา คัดค้าน ว่า คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวไม่ชอบ อย่างไร หรือไม่ จึง ต้อง ถือ เป็น ยุติ ตาม คำวินิจฉัย ของศาลอุทธรณ์ นั้น ว่า ศาลชั้นต้น ได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2534 ให้ ผู้ร้อง ฟัง แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 25 ธันวาคม2534 ดังนั้น การ ที่ ผู้ร้อง ยื่นฎีกา ฉบับ ลงวันที่ 8 เมษายน 2536ค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฉบับ ลงวันที่ 31 มกราคม 2534 มา ดังกล่าวจึง เป็น การ ยื่นฎีกา เมื่อ พ้น กำหนด หนึ่ง เดือน นับแต่ วันที่ ศาลชั้นต้นได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ผู้ร้อง ฟัง ฎีกา ของ ผู้ร้อง เป็นฎีกา ที่ ไม่ชอบ จะ รับ ไว้ พิจารณา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบ พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลฎีกา จึง ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษา ให้ยก ฎีกา ของ ผู้ร้อง

Share