คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2505

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ให้โอกาสนำปืนไปจดทะเบียนภายใน 90 วันนั้น ไม่คุ้มครองถึงการค้าหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2505)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืน ลูกซองพก ๑๓ กระบอกสำหรับการค้าไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๒๔, ๗๓ พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๑ มาตรา ๖ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒
จำเลยให้การว่า ทราบว่ากฎหมายให้จดทะเบียนปืนเถื่อน จึงรวบรวมซื้อปืน ๑๓ กระบอก ไว้ ครั้นประกาศใช้กฎหมายนี้ ก็นำออกให้ญาติและตนเองด ไปจดทะเบียน แต่ถูกจับเสียก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้มีปัญหาในเบื้องต้นว่า พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ให้โอกาสนำอาวุธปืนไปจดทะเบียนภายใน ๙๐ วัน นั้น คุ้มครองถึงการค้าหรือมีไว้ เพื่อจำหน่ายด้วยหรือไม่ ปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่พิจารณาเห็นว่า มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๑ มุ่งหมายให้ผู ้ที่มีอาวุธปืนไว้ใน ความครอบครองเพื่อใช้ตามธรรมดาแก่ยังมิได้รับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ แห่ง พระราชบัญญัติอาวุธปืน ๆ พ.ศ. ๒๔๙๐ ให้นำมาขอรับอนุญาตเสียภายใน ๙๐ วัน แล้วจะไม่ต้องรับโทษ หาได้หมายถึงอาวุธปืนที่มีไว้สำหรับการค้าซึ่งการมีจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๔ อันเป็นคนละกรณีกันด้วยไม่ เพราะมาตรา ๒๔ นั้น มีนัยให้เข้าใจว่า การมีอาวุธปืนสำหรับการค้านั้นจะมีได้เฉพาะแต่ผู้ได้รับอนุญาตให้ค้าอาวุธปืนเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ค้าอาวุธปืนจะนำอาวุธปืนที่มีไว้สำหรับการค้าไปขออนุญาตย่อมไม่ได้อยู่แล้ว โดยปกติ กฎหมายบัญญัติคุ้มครองอาวุธปืนที่มีไว้สำหรับการค้ากับที่มีไว้ใช้ตามธรรมดา ต่างหากจากกันดังนี้ ความในมาตรา ๙ นี้ เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนไว้โดยมิชอบ นำไปขอรับอนุญาตเสียให้ถูกต้อง จึงไม่คุ้มครองถึงอาวุธปืน ที่มีไว้สำหรับการค้าด้วย
ส่วนปัญหาต่อไปว่า จำเลยมีไว้สำหรับการค้าตามฟ้องหรือไม่นั้น ศาลฎีกาฟังว่า จำเลยมีอาวุธปืนรายนี้ไว้สำหรับการค้า จึงต้องมีความผิด
พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ บังคับคดีไปตามคำพิพากษา

Share