คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคท้ายการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้นให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรองเมื่อคำร้องของจำเลยมิได้ยื่นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาคงยื่นเพียงคำร้องโดยลำพังทั้งยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วจึงเป็นคำร้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247และ248วรรคท้าย

ย่อยาว

คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 จำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้ ศาลชั้นต้นจึงสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองต่อมาวันที่ 4 พฤษภาคม 2537 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องใหม่ ขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 1รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งว่าคำร้อง ของจำเลยทั้งสองยื่นภายหลังที่ยื่นฎีกาแล้ว ทั้งเคยยื่นคำร้องขอให้รับรองมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคท้าย ให้ยกคำร้อง ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 2531จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงอีก ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องด้วยเหตุผลว่า มาตรา 248 วรรคท้าย กำหนดให้ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษารับรองพร้อมกับคำฟ้องฎีกา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นรับรองแล้ว การที่จำเลยมายื่นคำร้องขอให้ส่งคำร้องไปให้ผู้นั่งพิจารณาในชั้นอุทธรณ์รับรองอีก จึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาว่าคำร้อง ของจำเลยฉบับลงวันที่ 22 เมษายน 2537 จำเลยขอให้นายธีระเดชกับนายอิศเรศรับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง โดยไม่ทราบว่าขณะนั้นนายธีระเดชเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ และนายอิศเรศย้ายไปรับราชการที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องใหม่ขอให้ศาลจังหวัดนครราชสีมาส่งคำร้องฉบับใหม่ไปให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ผู้พิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์รับรองให้จำเลยฎีกาอีก ตามคำร้องฉบับที่ 4 พฤษภาคม 2537 และคำร้องฉบับลงวันที่2 มิถุนายน 2537 การยื่นคำร้อง ของจำเลยฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน2537 จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคท้าย แต่อย่างใดนั้น เห็นว่าตามฎีกาของจำเลยในที่สุดมุ่งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นตามคำร้องฉบับลงวันที่2 มิถุนายน 2537 เท่านั้น ซึ่งขณะยื่นคำร้องศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2537ฎีกาของจำเลยฉบับดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำรองเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง คำร้อง ของจำเลยฉบับลงวันที่ 2มิถุนายน 2537 ดังกล่าวมิได้ยื่นพร้อมกับคำฟ้องฎีกา คงยื่นเพียงคำร้องโดยลำพัง ทั้งยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วจึงเป็นคำร้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 และ 248 วรรคท้าย
พิพากษายืน

Share