คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวต่อมาจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทพร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาส่วนบ้านพิพาทนั้นจำเลยได้ว่าจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างโดยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยด้วยดังนั้นแม้บ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ก็ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทหากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยก็อยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกไม่ได้จึงเป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ2,000บาทโจทก์ไม่ฎีกาย่อมฟังได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จากบ้าน เลขที่ 2001/150 ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 260,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 20,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ออก ไป จากบ้าน เลขที่ 2001/150 แขวง บาง จาก เขต พระโขนง กรุงเทพมหานครและ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 5,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 14ธันวาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ขนย้าย ออก ไป พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ค่าเสียหาย ซึ่ง คำนวณ ตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม2532 จน ถึง วันที่ 7 มิถุนายน 2533
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ2,000 บาท แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ความ ว่า โจทก์ ได้ ทำสัญญาจะขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย และ โจทก์ ได้รับ จ้าง ก่อสร้างบ้าน พิพาท บน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย อีก ด้วย แต่ จำเลย ได้ ขอ เข้า อาศัยอยู่ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ดังกล่าว ก่อน ที่ จะ มี การ จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ตาม สัญญา ต่อมา ปรากฏว่าจำเลย ประพฤติ ผิดสัญญา ดังกล่าว โจทก์ จึง ได้ บอกเลิก สัญญา และ ให้ จำเลยขนย้าย ออก ไป จาก ที่ดิน และ บ้าน พิพาท แต่ จำเลย เพิกเฉย เป็นเหตุ ให้โจทก์ เสียหาย โจทก์ จึง ฟ้อง ขอให้ ศาล บังคับ ให้ จำเลย ขนย้าย ออก ไป จากบ้าน พิพาท พร้อม ทั้ง ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำเลยให้การ ต่อสู้ ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดินพิพาท จาก โจทก์ จริงแต่ จำเลย ไม่ได้ ประพฤติ ผิดสัญญา โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา และ เรียก ค่าเสียหาย ส่วน บ้าน พิพาท นั้นจำเลย ได้ว่า จ้าง บุคคลอื่น ก่อสร้าง โดย จำเลย ได้ ชำระ ค่าก่อสร้างให้ ผู้รับจ้าง ไป เสร็จ เรียบร้อย แล้ว จำเลย ได้รับ มอบ บ้าน และเข้า อยู่อาศัย ตลอดมา ขอให้ ยกฟ้อง โดย จำเลย มิได้ ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ได้ พิพากษา ให้ จำเลยขนย้าย ออก ไป จาก บ้าน พิพาท ส่วน ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 2,000 บาท โจทก์ ไม่ฎีกาเห็นว่า คดี นี้ แม้ โจทก์ จะ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก ที่ดิน และ บ้าน พิพาทและ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า บ้าน พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ก็ ตามแต่ บ้าน หลัง ดังกล่าว ก็ ปลูก อยู่ ใน ที่ดินพิพาท ที่ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลยให้ ออกจาก ที่ดินพิพาท ด้วย ซึ่ง จำเลย ให้การ ต่อสู้ เพียง ว่า จำเลยไม่ได้ ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ บอกเลิกสัญญา โดย มิได้ ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลยดังนั้น แม้ จะ ฟัง ว่า บ้าน พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย หาก จำเลยเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท และ โจทก์ บอกเลิก สัญญา แล้วจำเลย ก็ จะ อยู่ ใน ที่ดินพิพาท ต่อไป อีก ไม่ได้ กรณี จึง เป็น การ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก อสังหาริมทรัพย์ และ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 2,000 บาท โจทก์ ไม่ฎีกาย่อม ฟังได้ ว่า ใน ขณะที่ ยื่น คำฟ้อง นั้น ที่ดิน และ บ้าน พิพาท อาจ ให้ เช่าได้ไม่ เกิน เดือน ละ 2,000 บาท คดี นี้ จึง เป็น การ ฟ้องขับไล่ จำเลยออกจาก อสังหาริมทรัพย์ อัน อาจ ให้ เช่า ได้ ใน ขณะ ยื่น คำฟ้อง ไม่เกินเดือน ละ 10,000 บาท ซึ่ง ต้องห้าม คู่ความ มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ต่อ โจทก์ โจทก์ ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก สัญญา ได้ และ โจทก์เป็น ผู้รับจ้าง สร้าง บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลยไม่ได้ เป็น ผู้ผิดสัญญา ต่อ โจทก์ แต่ โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ต่อ จำเลยโจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลย และ จำเลย จ้าง นาย สมศักดิ์ กดสาพรมมา สร้าง บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย นาย สมศักดิ์ กระทำ ใน ฐานะ ส่วนตัว มิใช่ ใน ฐานะ ตัวแทน ของ โจทก์ โจทก์ มิได้ เป็น ผู้รับจ้างสร้าง บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ หรือเรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย นั้น เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟังพยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตามบท กฎหมาย ดังกล่าว ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย จึง เป็น การ ไม่ชอบศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา ของ จำเลย

Share