แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 131
ฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินยักยอกเงินในหน้าที่ ที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมและแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 131 มา แต่ศาลลงโทษตามมาตรา 319(3) ซึ่งมีโทษเบากว่าได้
ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 5 ปี ศาลอุทธรณ์แก้บทและแก้โทษจำคุกเป็น 4 ปี ดังนี้เป็นแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 200
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าออมสินสาขาจังหวัดมหาสารคามเดิมสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ต่อมาได้โอนกิจการและตำแหน่งมาสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่รับฝากเงินจ่ายเงิน และโอนเงินขององค์การและประชาชน ซึ่งรัฐบาลแห่งประเทศไทยเป็นประกัน เพื่อประกันธุรกิจของคลังออมสินอและธนาคารออมสิน และมีหน้าที่ปกคตรองเก็บรักษาเงินที่ได้รับในหน้าที่ของจำเลยไว้เพื่อจ่ายและโอน จำเลยได้บังอาจยักยอกเอาเงินซึ่งอยู่ในความปกครองของจำเลยใช้ในธุรกิจของคลังออมสินและธนาคารออมสินในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นจำนวนเงิน ๖๗๓๘๙ บาท ๙๖ สตางค์ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๑๓๑ แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยปฏิเสธหลายประการ
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยกระทำผิดดังฟ้องและเห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานธนาคารออมสินให้จำคุก ๕ ปีตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๑๓๑ แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้เงิน
ศาลอุทธรณ์เชื่อข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น แต่เห็นว่าธนาคารออมิสนไม่ใช่หน่วยงานราการของรัฐบาล จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๓๑ แต่จำเลยมีหน้าที่ควบคุมเงินรายนี้ในกิจธุระของธนาคาร ตามมาตรา ๓๑๙(๓) ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องประสงค์ให้ลงโทษ แต่ล้างบทมาตราผิด ศาลงโทษได้ตามมาตรา ๑๙๒ วรรค ๔ ป.ม.วิ.อาญา พิพากษาแก้ให้จำคุก ๔ ปี ตามมาตรา ๓๑๙ ข้อ ๓ และให้ใช้เงิน
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทกฎหมายและกำหนดโทษ เป็นแก้มากไม่ต้องห้ามฎีกา และโจทก์กล่าวฟ้องชัดแจ้งแล้วไม่เคลือบคลุทม กับเชื่อข้อเท็จจริงตามศาลล่างแต่เจ้าหน้าที่ของธนาคารออมสินมิได้รับเิงนเดือนในงบประมาณแผ่นดิน และเมื่อโอนกิจการธนาคารออมสินก็ได้รับบำเหน็จบำนาญขาดตอนไปแล้ว และตาม พ.ร.บ.ธนาคารออมสินก็ไม่มีบทบัญญัติแสดงว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินเป็นเจ้าพนักงาน
จะลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้ แต่เห็นว่าความผิดตามมาตรา ๑๓๑และ มาตรา ๓๑๙(๓) ต่างเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ในหน้าที่ ทั้ง ๒ มาตรา มาตรา ๑๓๑ สำหรับเจ้าพนักงาน ส่วนมาตรา ๓๑๙ ข้อ ๓ วรรคแรกไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่ แต่มาตรา ๑๓๑ กำหนดโทษหนักกว่ามาตรา ๓๑๙ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ผู้กระทำผิดมีความผิดเบาว่าบทกหมายที่อ้างมา ศาลลงโทษตามบทที่เบากว่าได้ เห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์
พิพากษายืน