แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์มีกรรมสิทธิในที่บ้าน ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธ ประกอบกับคำรับรองของจำเลยว่าเป็นที่บ้านนานมาแล้ว ทั้งกระชับความให้แน่นแฟ้นว่าเป็นที่บ้านตามกฎหมายด้วย โดยมิได้วางข้อยกเว้นเป็นอย่างอื่น ดังนี้ ศาลย่อมฟังว่าเป็นที่บ้านตาม ก.ม. ลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ได้.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินท้ายฟ้องหมายเลข ๑ ถึง ๖ ราคา ๓๐๐๐ บาท โจทก์ได้ทำหนังสือยก ทรัพย์ดังกล่าวให้จำเลยเป็นเครื่องตอบแทนที่จำเลยรับจะเลี้ยงดูโจทก์ เพราะโจทก์เป็นคนชรา ต่อมาจำเลยทุบตีโจทก์ และไม่ส่งเงินและอาหารเลี้ยงดูโจทก์ เป็นการเนรคุณโจทก์ จึงฟ้องเรียกทรัพย์คืน และขับไล่จำเลยและบริวาร
จำเลยต่อสู้ว่าเฉพาะทรัพย์อันดับ ๖ จำเลยได้ยกที่สวนของจำเลย ๓ ไร่ให้นายพันธ์เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน จำเลยไม่ได้ ผิดสัญญาส่งเสียอาหารและเงินให้โจทก์แต่อย่างใด
โจทก์ จำเลย รับกันว่า
๑. เรือน ๒ หลัง ยุ้งข้าว ครัว ตามบัญชีท้ายฟ้อง อันดับ ๑ ถึง ๔ ปลูกอยู่บนที่บ้านอันดับ ๕ เป็นที่บ้านอยู่อาศัยนานมาแล้ว อันเป็นที่บ้านตามกฎหมาย
๒. ที่ดินอันดับ ๖ ปลูกกระชายอันถือว่าเป็นที่ไร่ ฯลฯ
๕. ที่ดินอันดับ ๕ – ๖ เป็นที่ดินมือเปล่า
๖. ที่ดินตามสัญญาระบุว่า จำเลยได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิของนายพันธ์นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยให้นายพันธ์ตอบแทนที่โจทก์ ยกที่ดินอันดับ ๖ ให้แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่า ทรัพย์อันดับ ๖ เป็นสัญญาต่างตอบแทนเกี่ยวข้องกับนายพันธ์บุคคลภายนอก โจทก์เรียกคืนไม่ได้ ทรัพย์อันดับ ๕ – ๖ เป็นสัญญาให้โดยเสน่หา แต่ทรัพย์อันดับ ๑ ถึง ๔ ปลูกอยู่ในที่อันดับ ๕ ซึ่งเป็นที่ บ้านอยู่อาศัยมาช้านาน ย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามสภาพตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๐๐ และเป็นที่บ้านตามกฎหมายลักษณะ เบ็ดเสร็จบทที่ ๔๒ โดยที่สัญญายกให้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๒๕ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังเป็นของโจทก์อยู่ พิพากษาให้จำเลยส่งคืนทรัพย์อันดับ ๑ ถึง ๕ ให้โจทก์ ขับไล่จำเลยและห้ามมิให้ จำเลยเกี่ยวข้อง ทรัพย์อันดับ ๖ บังคับคืนให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะว่ากล่าวกันตามเรื่องสัญญาต่างตอบแทน ต่อไป
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตัดเฉพาะข้อความที่ว่า “แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะว่ากล่าวกันตามสัญญาต่างตอบแทนต่อไป” ออก นอกนั้นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์อ้างว่าโจทก์มีกรรมสิทธิที่บ้านซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธ ประกอบกับคำรับรองของจำเลยเป็นที่บ้านนาน มาแล้ว ทั้งกระชับความให้แน่นแฟ้นว่าเป็นที่ตามกฎหมายด้วยโดยมิได้วางข้อยกเว้นเป็นอย่างอื่น จึงฟ้องกับศาลล่างว่า เป็นที่บ้านตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ๔๒ ฯลฯ พิพากษายืน ฯลฯ