คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่11(พ.ศ.2521)ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา18และมาตรา25แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ตราไว้ในหมวด3วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมข้อ23ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี3ชั้นคือ(1)ชั้นต้น(2)ชั้นอุทธรณ์(3)ชั้นฎีกาข้อ24ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นฯลฯข้อ25ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ฯลฯข้อ26ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคมข้อ7ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุดและข้อ35ว่าก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1)เรื่องที่นำมาฟ้องนั้นได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อนฯลฯเมื่ออ. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่1และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่2วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมาวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกมีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน24ชั่วโมงแล้วและโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่3และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3แล้วโจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่3เสียก่อนว่าให้ยืนยกแก้หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ45ประกอบด้วยข้อ53ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่1และที่2ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่และจะขอให้จำเลยที่3รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่อ.ฟ้องโจทก์โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสันปงตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 จำเลยที่ 1เป็นคณะผู้พิจารณาชั้นต้น จำเลยที่ 2 เป็นคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 เป็นคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) มีอำนาจลงนิคหกรรมตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม จำเลยที่ 4 ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จำเลยที่ 5 เป็นอธิบดีกรมการศาสนา เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2533 นางสาวอรปวีณา บุตรขุนทอง กับนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้กล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยที่ 1 ว่าประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้เร่งรีบรวบรัดดำเนินการพิจารณาตามข้อกล่าวหาไม่ให้โอกาสเต็มที่แก่โจทก์ในการต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาตามที่ถูกฟ้องให้ลงนิคหกรรมทั้งยังปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติข้อ 35 ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมโดยมิได้รอการพิจารณาของศาลฝ่ายราชอาณาจักรที่โจทก์ฟ้องนางสาวอรปรณีกับพวก ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 9587/2537 ของศาลแขวงพระนครเหนือ และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6609/2533 ของศาลอาญา ซึ่งคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาไว้ก่อน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พิจารณาลงนิคหกรรมแก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ให้ลงนิคหกรรมแก่โจทก์จึงเป็นโมฆะโจทก์จึงยื่นฎีกาต่อจำเลยที่ 3 ตามบทบัญญัติว่าด้วยการลงนิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ในระหว่างพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงขอให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่สั่งลงนิคหกรรมแก่โจทก์โดยพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นโมฆะและขอให้บังคับจำเลยที่ 3 รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนตามข้อ 35 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2533 ขณะที่โจทก์เป็นเจ้าอาวาสวัดสันปงตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวอรปวีณาบุตรขุนทอง ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดนี้เป็นจำเลยเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคณะผู้พิจารณาชั้นต้น จำเลยที่ 2 เป็นคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ได้วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้เสพเมถุนกับนางสาวอรปวีณาจริง อันเป็นการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก โจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อจำเลยที่ 3 ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่สั่งให้ลงนิคหกรรมแก่โจทก์ได้หรือไม่และศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาคดีที่โจทก์ได้ฟ้องนางสาวอรปวีณากับพวกเป็นจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือในความผิดฐานหมิ่นประมาท และที่ศาลอาญาในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและกรรโชกทรัพย์หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลล่างที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและศาลไม่มีอำนาจไปวินิจฉัยชี้ขาดว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นโมฆะได้นั้นเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามคำขอของโจทก์ได้ เห็นว่า กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ตราไว้ในหมวด 3 วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมข้อ 23 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี 3 ชั้น คือ(1) ชั้นต้น (2) ชั้นอุทธรณ์ (3) ชั้นฎีกา ข้อ 24 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ฯลฯ ข้อ 25 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ฯลฯ ข้อ 26 ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม ข้อ 27 ว่า คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุด และข้อ 35 ว่า ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฎว่า (1) เรื่องที่นำมาฟ้องนั้น ได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อนางสาวอรปวีณาเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก ซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่ 1 และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่ 2 วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก มีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน24 ชั่วโมงแล้ว และโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่ 3 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 แล้วโจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 เสียก่อนว่าให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ ตามข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 53 ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ และจะขอให้จำเลยที่ 3 รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้องนางสาวอรปวีณากับพวกที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่ เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องนางสาวอรปวีณากับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่นางสาวอรปวีณาฟ้องโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
พิพากษายืน

Share