แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การนำเอาคูปองปลอมออกจำหน่ายย่อมเรียกว่าเปนการไช้ตามความหมายของมาตรา 277 กดหมายอาญาแล้ว.
ย่อยาว
โจทฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยถานไช้หนังสือ ( คูปองยาง ) ตามมาตรา ๒๒๓ , ๒๒๔,๒๒๕,และ ๖๓.
จำเลยไห้การปติเสธ.
สาลขั้นต้นพิจารนาแล้วฟังว่าจำเลยทั้ง ๓ สมคบกันจำหน่ายคูปองยางโดยรู้ว่าเปนของปลอม แม้โจทจะมิได้อ้างมาตรา ๒๒๗ท และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ฯ ( ฉบับที่ ๕ ) ก็ดี แต่โจทได้บันยายความผิดของจำเลยไว้แล้วไนฟ้องย่อมลงโทสได้ จึงพิพากสาจำคุกจำเลยคนละ ๔ ปีตามมาตรา ๒๒๕ ( ๑ ) ๒๒๗,๖๓ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกดหมายอาญา( ฉบับที่ ๕ ) ม.๓,ของกลางริบ
จำเลยอุธรน์ สาลอุธรน์พิพากสาแก้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา ๒๒๗,๒๒๔, พิพากสาแก้ไห้จำคุกคนละ ๒ ปี นอกจากที่แก้นี้คงยืนตาม.
นายไชโยจำเลยดีกาว่า การไช้คูปองยางต้องไช้กำกับไปกับยางจึงจะเรียกว่าไช้คูปอง สาลดีกาเห็นว่าตามวิธีการาไช้คูปองยางที่จำเลยกล่าวนั้น เปนวิธีการไช้ตามปรกติแต่กรนีไนคดีนี้ เปนเรื่องจำหน่ายคูปองยางปลอม การนำเอาคูปองปลอมออกจำหน่าย จะเรียกว่าเปนการไช้หนังสือปลอมตามมาตรา ๒๒๗ หรือไม่ สาลดีกาเห็นว่าการกะทำเช่นนี้เรียกได้ว่า เอาหนังสือปลอมมาไช้ตามความหมายไนมาตรา ๒๒๗ แล้ว เพราะกดหมาย มิได้กำหนดจำกัดไว้ว่า จะต้องเปนการใช้โดยฉเพาะการสิ่งใด จึงพิพากสายืนตาม.