แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำเบิกความของโจทก์เจือสมกับข้อความที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้และจำนวนเงินที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้ตรงกับที่เขียนลงไว้ในสัญญาค้ำประกันทั้งยังมี ร. ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความว่าเห็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ จ. ด้วยในขณะที่พยานหลักฐานของจำเลยที่1ทายาทของ จ. คงมีเฉพาะคำเบิกความของจำเลยที่1ซึ่งฟังไม่ได้ว่าสัญญากู้เป็นสัญญาปลอมหรือไม่กับ ส. ซึ่งมิได้รู้เห็นการกู้เงินด้วยตนเองโดยอ้างว่า จ. เคยเล่าให้ฟังว่ามิได้กู้เงินโจทก์ตามจำนวนดังฟ้องอีกทั้งจำเลยที่1ก็มิได้นำ ป. ผู้ค้ำประกันการกู้เงินซึ่งรู้เรื่องดังกล่าวมาเป็นพยานด้วยพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่1ฟังได้ว่าสัญญากู้มิได้เป็นสัญญาปลอมและ จ. ได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วตามฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของนาย ใจ ทองสมบัติ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย ใจ เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2532 นาย ใจ กู้เงิน โจทก์ ไป 1,500,000 บาท ตกลง จะ ให้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 1.25 ต่อ เดือนทุกเดือน จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จสิ้น และ จะ ชำระหนี้ ให้ เสร็จสิ้นภายใน วันที่ 7 ธันวาคม 2533 นาย ใจ ได้รับ เงิน ไป ครบถ้วน แล้ว ใน การ กู้เงิน ดังกล่าว นาย ใจ ได้ มอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 47 หมู่ ที่ 1 ตำบล เทพกษัตริย์ อำเภอถลาง จังหวัด ภูเก็ต ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ เป็น ประกัน ปรากฏ ตาม สำเนา สัญญากู้เงิน เอกสารท้าย คำฟ้อง หลังจาก กู้เงิน ไป แล้ว นาย ใจ ผิดนัด ไม่ชำระ ดอกเบี้ย และ เงินต้น ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 นาย ใจ ถึงแก่ความตาย โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใน ฐานะ ทายาท นาย ใจ ร่วมกัน ชำระ เงินกู้ พร้อม ดอกเบี้ย แต่ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉยดอกเบี้ย นับแต่ วัน กู้เงิน จน ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 615,410 บาท ขอให้จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 2,115,410 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 1,500,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ใน ทำนอง เดียว กัน ว่านาย ใจ กู้เงิน โจทก์ ไป เพียง 600,000 บาท ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 5 ต่อ เดือน ดอกเบี้ย จึง ตกเป็น โมฆะ นับแต่ วันทำ สัญญากู้ นาย ใจ ชำระ ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ตลอดมา นาย ใจ ลงชื่อ ใน สัญญากู้ ท้ายฟ้อง ซึ่ง ไม่มี ข้อความ ใด ๆ มอบ ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ข้อความ ที่ ปรากฏ ใน สัญญากู้ ว่า ผู้กู้ ได้ กู้เงิน จาก โจทก์ 1,500,000บาท และ ยอม ให้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 1.25 ต่อ เดือน เป็น ความเท็จที่ โจทก์ กระทำ ขึ้น โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก นาย ใจ สัญญากู้ ท้ายฟ้อง จึง เป็น เอกสารปลอม ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ศาลชั้นต้น อนุญาต และ ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้รับมรดกของ นาย ใจ ทองสมบัติ ผู้ตาย ชำระ เงิน 1,500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 7ธันวาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ยนับ ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 615,410 บาท ตาม ที่ โจทก์ ขอ มา
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า เมื่อ วันที่ 7ธันวาคม 2532 นาย ใจ ทองสมบัติ กู้เงิน โจทก์ 1,500,000 บาท ตกลง ให้ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 1.25 ต่อ เดือน และ จะ ชำระ เงินต้นคืน ให้ โจทก์ ภายใน วันที่ 7 ธันวาคม 2533 นาย ใจ ได้รับ เงินกู้ ไป จาก โจทก์ แล้ว เป็น เช็ค ของ ธนาคาร สหธนาคาร จำกัด สาขา ภูเก็ต จำนวนเงิน 600,000 บาท ปรากฏ ตาม สำเนา เช็ค เอกสาร หมาย จ. 2และ เงินสด 900,000 บาท ปรากฏ ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 ใน การกู้เงิน ดังกล่าว มี นาย ประวัติ เรืองสมบัติ เป็น ผู้ค้ำประกัน ปรากฎ ตาม สัญญาค้ำประกัน ท้าย สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 4 นอกจาก นี้ นาย ใจ ยัง นำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 47 ตำบล เทพกษัตริย์ อำเภอ ถลาง จังหวัด ภูเก็ต มา มอบ ให้ โจทก์ ไว้ เพื่อ เป็น การ ประกัน หนี้ ดังกล่าว ปรากฏ ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 3สัญญากู้ และ สัญญาค้ำประกัน มี นาง ราตรี จึงสถาพรประชา ลงชื่อ เป็น พยาน นับแต่ กู้เงิน ไป นาย ใจ ไม่เคย ชำระ ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ เลย เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 นาย ใจ ถึงแก่กรรม จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ภริยา ของ นาย ใจ และ เป็น ผู้รับพินัยกรรม ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ของ นาย ใจ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ทวงถาม แล้ว แต่ ทายาท นาย ใจ เพิกเฉย จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชำระ เงิน 1,500,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 1.25 ต่อ เดือน นับแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คิด ถึง วันฟ้องเป็น เวลา 2 ปี 8 เดือน 8 วัน เป็น เงิน ดอกเบี้ย 615,410 บาท
จำเลย ที่ 1 นำสืบ ว่า ก่อน ตาย นาย ใจ สามี จำเลย ที่ 1รับ ราชการ เป็น พนักงานป่าไม้ อำเภอ ถลาง จังหวัด ภูเก็ต เมื่อ ประมาณ เดือน กรกฎาคม 2534 นาย ใจ ให้ นาย สุพร ตันสุธัญลักษณ์ ทนายความ ของ จำเลย ที่ 1 ทำ พินัยกรรม แบบ ธรรมดา ให้ นาย ใจ ทรัพย์สิน ที่ ทำ พินัยกรรม ได้ แก่ ที่ดิน รถจักรยานยนต์ และ อาวุธปืนยกให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ใน การ ทำ พินัยกรรม ดังกล่าว นาย ใจ นำ ต้นฉบับ เอกสาร เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน มา ให้ ดู ยกเว้น ที่ดิน ซึ่ง มี หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) นาย ใจ นำ สำเนา น.ส. 3 มา ให้ ดู และ บอก ว่า ต้นฉบับ น.ส. 3 นำ ไป เป็น หลักประกัน ใน การ กู้เงิน จาก โจทก์ 600,000บาท เมื่อ พ.ศ. 2532 โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 5 ต่อ เดือนนาย ใจ ไม่เคย ค้าง ดอกเบี้ย โจทก์ เลย นาย ประวัติ เป็น คน นำ ดอกเบี้ย ไป ชำระ ให้ โจทก์ ทุกเดือน แต่ นาย ใจ ไม่มี ต้นฉบับ สัญญากู้ ให้ นาย สุพร ดู นาย ใจ เล่า ให้ จำเลย ที่ 1 ฟัง ถึง เรื่อง ที่นาย ใจ นำ ต้นฉบับ น.ส. 3ดังกล่าว ไป เป็น หลักประกัน การ กู้เงิน จาก โจทก์ ข้อความ ใน สัญญากู้เอกสาร หมาย จ. 1 ที่ ระบุ ว่า นาย ใจ กู้เงิน 1,500,000 บาท โดย รับ เป็น เช็ค 600,000 บาท และ เงินสด 900,000 บาท คิด ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 1.25 ต่อ เดือน ไม่ ตรง กับ ที่นาย ใจ เล่า ให้ นาย สุพร ฟัง นาย ใจ เล่า ว่า กู้เงิน จาก โจทก์ 600,000 บาท โจทก์ มอบ เงิน ที่ กู้ ให้ นาย ใจ เป็น เช็ค นาย ประวัติ เป็น ผู้นำ เช็ค ดังกล่าว ไป เบิกเงิน จาก ธนาคาร ข้อความ ที่ ว่า นาย ใจ ได้รับ เงิน เป็น เช็ค 600,000 บาทและ เงินสด 900,000 บาท ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 เป็น ข้อความตก เติม ที่นาย ใจ ไม่ได้ ลงชื่อ กำกับ ไว้ จึง ใช้ ไม่ได้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 5 ต่อ เดือน จาก ต้นเงิน 600,000 บาทนับแต่ วัน กู้ นำ มา รวมเป็น ต้นเงิน โจทก์ มี อาชีพ ออก เงิน ให้ ผู้อื่น กู้เมื่อ มี คน มา ขอ กู้เงิน โจทก์ จะ ต้อง พิจารณา หลักทรัพย์ ที่ ผู้กู้ นำ มาเป็น หลักประกัน หลักทรัพย์ จะ ต้อง มี ราคา มาก กว่า เงิน ที่ ให้ กู้ที่ดิน ที่นาย ใจ นำ ไป เป็น หลักประกัน การ กู้เงิน จาก โจทก์ ตาม ราคา ประเมิน ของ ทางราชการ มี ราคา ไม่เกิน 600,000 บาท ก่อน ฟ้องโจทก์เคย มี หนังสือ ไป ถึง จำเลย ที่ 1 เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 1 ไป พบ โจทก์ที่ บ้าน เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ ปรากฏ ตาม จดหมาย และ ซอง จดหมาย เอกสารหมาย ล. 5 และ ล. 6 ก่อน นาย ใจ จะ ถึงแก่กรรม โจทก์ ไม่เคย ทวง หนี้ จาก นาย ใจ หลังจาก ที่นาย ใจ ถึงแก่กรรม แล้ว นาย ประวัติ บอก ว่า เงิน ที่นาย ใจ กู้ มา นาย ประวัติ ชำระ ให้ โจทก์ เรียบร้อย แล้ว
พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่า สัญญากู้ เอกสารหมาย จ. 1 เป็น สัญญา ปลอม และ นาย ใจ ทองสมบัติ ได้รับ เงิน ไป ตาม สัญญากู้ แล้ว หรือไม่ เห็นว่า ที่ จำเลย ที่ 1 ต่อสู้ ว่า สัญญากู้ เอกสารหมาย จ. 1 เป็น สัญญา ปลอม นั้น จำเลย ที่ 1 คง มี เฉพาะ ตนเอง กับนาย สุพร ตันสุธัญลักษณ์ เป็น พยาน แต่ จำเลย ที่ 1 ก็ เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ของ ทนายโจทก์ ว่า สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 จะ เป็นสัญญา ปลอม หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ไม่ทราบ คำเบิกความ ของ จำเลย ที่ 1ดังกล่าว จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 เป็น สัญญา ปลอมส่วน นาย สุพร นั้น ก็ มิได้ รู้เห็น การ กู้เงิน ด้วย ตนเอง แต่ อ้างว่า นาย ใจ สามี จำเลย ที่ 1 เคย เล่า ให้ ฟัง ว่า กู้เงิน ของ โจทก์ ไป เพียง 600,000 บาท มิใช่ 1,500,000 บาท ดัง ฟ้อง เมื่อ นาย สุพร มิได้ รู้เห็น การ กู้เงิน ด้วย ตนเอง เช่นนี้ คำเบิกความ ของ นาย สุพร จึง ไม่น่าเชื่อถือ สำหรับ โจทก์ นั้น มี ตัว โจทก์ และ นางสาว ราตรี จึงสถาพรประชา กับ สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 เป็น พยานหลักฐาน จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ ได้ความ ว่า นาย ใจ มา ขอ กู้เงิน โจทก์ จำนวน 1,500,000 บาท โดย มา กับ นาย ประวัติ เรืองสมบัติ นาย ใจ นำ น.ส. 3ที่ จะ ให้ โจทก์ ยึดถือ ไว้ เป็น ประกัน มา ให้ ดู ด้วย โจทก์ ได้ ไป ดู ที่ดินตาม น.ส. 3 แล้ว จึง ตกลง ให้ นาย ใจ กู้เงิน จำนวน ดังกล่าว และ ได้ ให้ นาย ใจ ทำ สัญญากู้ ให้ ไว้ ปรากฏ ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 ซึ่ง ตาม สัญญากู้ ฉบับ ดังกล่าว ระบุ จำนวนเงิน กู้ ไว้ โดย เขียน เป็น ตัว หนังสือว่า หนึ่ง ล้าน ห้า แสน บาท ถ้วน และ ยัง มี ข้อความ ใน วงเล็บ อีก ว่า “เช็ค สหธนาคาร สาขา ภูเก็ต เลขที่ 460640 เงิน 600,000 บาท เงินสด เก้า แสน บาท ” จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ ได้ความ ว่า โจทก์ ได้ จ่าย เช็คดังกล่าว ให้ แก่ นาย ใจ และ นาย ใจ ต้องการ รับ เป็น เงินสด อีก 900,000 บาท โจทก์ จึง จ่ายเงิน สด ให้ และ ได้ เขียน ข้อความ ดังกล่าวไว้ ใน สัญญากู้ คำเบิกความ ของ โจทก์ เจือสม กับ ข้อความ ที่ เขียนลง ไว้ ใน สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 นอกจาก นี้ จำนวนเงิน ที่ เขียนลง ไว้ ใน สัญญากู้ ตรง กับ ที่ เขียน ลง ไว้ ใน สัญญาค้ำประกัน ปรากฏ ตามสัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ. 4 อีก ทั้ง ยัง ได้ความ จาก นางสาว ราตรี ว่า นางสาว ราตรี ได้ ลงชื่อ เป็น พยาน ใน สัญญากู้ และ เห็น เงิน ที่ โจทก์ จ่าย ให้ นาย ใจ ด้วย โดย มี ธนบัตร ฉบับ ละ 500 บาท จำนวน 3 มัด กับ เช็ค 1 ใบ ที่ จำเลย ที่ 1 ต่อสู้ ว่า นาย ใจ ทำ สัญญากู้ โดย มิได้ กรอก จำนวนเงิน ที่ กู้ ลง ไว้ นั้น เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ จำเลย ที่ 1เอง ก็ เบิกความ ว่า นาย ใจ เคย ทำงาน เกี่ยวกับ เอกสาร และ เป็น คน รอบคอบ หาก เป็น จริง ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 เบิกความ เมื่อ นาย ใจ กู้เงิน ของ โจทก์ ไป จำนวน มาก เช่นนี้ จึง ไม่ เชื่อ ว่า นาย ใจ จะ ยอม ลงชื่อ ใน สัญญากู้ โดย ที่ ยัง มิได้ กรอก จำนวนเงิน ที่ กู้ ลง ไป ประกอบ กับ ผู้ที่ รู้ เรื่องการ กู้ยืม คราว นี้ ดี ก็ คือ นาย ประวัติ เรืองสมบัติ ซึ่ง เป็น ผู้ค้ำประกัน นาย ใจ ใน การ กู้เงิน ด้วย แต่ จำเลย ที่ 1 หา ได้ นำ นาย ประวัติ มา เป็น พยาน ไม่ พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 1 เท่าที่ สืบ มา จึง ไม่มี น้ำหนัก น่า รับฟัง ด้วย เหตุผล ดัง ได้ วินิจฉัย มา เห็นว่าพยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 1ฟังได้ ว่า สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 มิได้ เป็น สัญญา ปลอม และ นาย ใจ ได้รับ เงินกู้ จำนวน 1,500,000 บาท ไป จาก โจทก์ ครบถ้วน แล้วศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน